เทคโนโลยีเครื่องมือกล

Machine Tools Technology

ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับงานเครื่องมือกลการผลิต การกลึง การกัด การไส การเจียระไนการเลื่อย การเจาะ การทำเกลียวและการทำเฟืองชนิดต่าง ๆ เครื่องจักรกลอัตโนมัติเบื้องต้น คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและการผลิตเบื้องต้น ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือกลการผลิตและการบำรุงรักษาปฏิบัติเกี่ยวกับงานลับเครื่องมือตัด งานกลึงปาดหน้า กลึงปอกผิว กลึงตกร่อง กลึงโดยใช้หัวจับแบบสี่จับ งานเจาะบนเครื่องกลึง งานกัดราบ กัดร่อง กัดมุม งานไสราบ ไสร่อง ไสมุม งานเจาะรู งานผายปากรูทรงกรวย งานผายปากรูทรงกระบอก
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษาทางด้านเทคโนโลยีเครื่องมือกล สามารถนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหาและประยุกต์กับวิชาชีพและเทคโนโลยีใหม่ๆ
ศึกษาเกี่ยวกับงานเครื่องมือกลการผลิต การกลึง การกัด การไส การเจียระไนการเลื่อย การเจาะ การทำเกลียวและการทำเฟืองชนิดต่าง ๆ เครื่องจักรกลอัตโนมัติเบื้องต้น คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและการผลิตเบื้องต้น ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือกลการผลิตและการบำรุงรักษาปฏิบัติเกี่ยวกับงานลับเครื่องมือตัด งานกลึงปาดหน้า กลึงปอกผิว กลึงตกร่อง กลึงโดยใช้หัวจับแบบสี่จับ งานเจาะบนเครื่องกลึง งานกัดราบ กัดร่อง กัดมุม งานไสราบ ไสร่อง ไสมุม งานเจาะรู งานผายปากรูทรงกรวย งานผายปากรูทรงกระบอก
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในแต่ละครั้งที่เข้าทำการสอน  -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) 
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม  1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กรสังคมและสิ่งแวดล้อม  1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2 วิธีการสอน
1.2.1 บรรยายเนื้อหาความสำคัญของรายวิชาพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้นักศึกษาทราบเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิชาชีพในองค์กรและสังคม
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษา
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมแม่พิมพ์ 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2.5 สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาทำตามเงื่อนไขของรายวิชา
2.3.1 ดูจากผลงานของนักศึกษา
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.3 สามารถคิดวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาทำตามเงื่อนไขของรายวิชา 3.2.2 ให้นักศึกษาวิเคราะห์งาน และสามารถแสดงแนวความคิดในเชิงสร้างสรรค์ได้
3.3.1 ดูจากงานที่นักศึกษาส่งและการวัดผลโดยการสอบกลางภาคและปลายภาค 
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัว และส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 4.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 มีการให้งานทำในลักษณะกลุ่ม 4.2.2 นักศึกษาที่เรียนรู้ได้เร็ว ช่วยอธิบายเทคนิค ช่วยเหลือให้เพื่อน 4.2.3 การส่งงานที่ได้รับมอบหมายทันในเวลาที่กำหนด
4.3.1 การสังเกต 4.3.2 ความสำเร็จของงานที่ได้รับมอบหมาย
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.2 นักศึกษาสามารถส่งงานและนำเสนองานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1 ดูจากผลงานของนักศึกษา ้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาและกำหนดระยะเวลาในการส่งงาน 6.2.2 การใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างถูกวิธีและการบำรุงรักษา
6.3.1 นักศึกษาส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด 6.3.2 มีการกำหนดคะแนนในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ปฏิบิตงานลับมีดกลึงฟอร์มกลึงปาดหน้าและปอกผิว ปฏิบัติงานลับมีดกลึงฟอร์มกลึงปาดหน้าและปอกผิว สอบปฏิบัติ 1 10%
2 งานกลึงปาดหน้าและงานกลึงปอกผิว ปฏิบัติงานกลึงปาดหน้าและงานกลึงปอกผิว 2 10%
3 งานกลึงตกร่องและงานพิมพ์ลาย ปฏิบัติงานกลึงตกร่องและงานพิมพ์ลาย 3 10%
4 งานกลึงโดยใช้หัวจับแบบสี่จับ งานเจาะบนเครื่องกลึง ปฏิบัตงานกลึงโดยใช้หัวจับแบบสี่จับ งานเจาะบนเครื่องกลึง 4 10%
5 งานกลึงเรียว สาธิตและฝึกปฏิบัติ งานกลึงเรียว 5 10%
6 งานลับดอกสว่าน งานเจาะรู สาธิตและฝึกปฏิบัติงานเจาะ งานลับดอกสว่าน งานเจาะรู 6 10%
7 งานผายปากรูทรงกรวยและทรงกระบอก สาธิตและฝึกปฏิบัติงานผายปากรูทรงกรวย งานผายปากรูทรงกระบอก 7 10%
8 งานเกลียวและงานสวม สาธิตและฝึกปฏิบัติการทำเกลียว งานสวม 8 10%
9 งานกัดเพลาตั้ง ปฏิบัติงานกัดเพลาตั้ง 9 10%
10 งานกัดเพลานอน ปฏิบัติงานกัดเพลานอน 10 10%
11 งานกัดเฟือง ปฏิบัติงานกัดเฟืองโดยการใช้หัวแบ่ง 11 10%
12 งานไสราบ ไสร่อง ไสมุม ปฏิบัติงานไสราบ ไสร่อง ไสมุม 12 10%
13 งานเจียระไนราบ ปฏิบิติงานเจียระไนราบ 14 10%
14 สอบภาคทฤษฎี สอบภาคทฤษฎี 9, 17 20%
15 จิตพิสัย ประเมินจากความตั้งในชั้นเรียน การแต่งกาย การเข้าเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
อำนาจ ทองแสน,งานเครื่องมือกลเบื้องต้น มกราคม,2560 รังสรรค์ นาทอง,ผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องมือกล 1, 2559  วิทยา ทองขาว,งานฝึกฝีมือ 1 ,2559   ไทรทอง เรืองจำรัส,งานฝึกฝีมือเบื้องต้น,2558
Machine Tools Handbook  dsign and operation P . H joshi.
https://en.wikipedia.org/wiki/Machine_tool https://www.researchgate.net/publication/286842300_Machine_Tools_for_Machining
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษ
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ