ออกแบบบรรจุภัณฑ์คงรูปและคืนรูป

Flexible and Rigid Packaging Design

1.รู้ประวัติ ความเป็นมา และความหมายของบรรจุภัณฑ์ 2. เข้าใจความสำคัญบทบาทหน้าที-ของบรรจุภัณฑ์ 3.เข้าใจประเภท โครงสร้างของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชนิดคืนรูปและชนิดคงรูป 4.เข้าใจงานกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ชนิดคืนรูปและชนิดคงรูป 5.ออกแบบบรรจุภัณฑ์ 6.มีทัศนคติที่ดี ในการศึกษาวิชาออกแบบบรรจุภัณฑ์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจ หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ชนิดคืนรูป และชนิดคงรูป และนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ของหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต
 ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบ การกำหนดขนาดและมาตราส่วน  การใช้เส้นและสัญลักษณ์ต่างๆ ในการเขียนแบบ ภาพฉาย ภาพตัด ภาพสามมิติ
-    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียนในแบบออนไลน์  -    อาจารย์ประจำรายวิชา  จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการของผู้เรียน
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้ 1.1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
1.2.1    บรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม และ จริยธรรม
1.3.1พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายและตรงต่อเวลา
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
 2.1.2 มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 2.1.3 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้าน  ศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
2.2 วิธีการสอน
2.2.1 บรรยาย  ยกตัวอย่าง และปฏิบัติงาน ให้มีการค้นคว้า ศึกษาเพิ่มเติมนอกเวลา ใช้การเรียนการ
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 2.3.2 ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1 สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ 3.1.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3.1.3 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
3.2 วิธีการสอน
3.2.1 นำตัวอย่างผลงานบรรจุภัณฑ์ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ ในด้าน การออกแบบโครงสร้าง และ กราฟิก รวมทั้งความเหมาะสมทางกายภาพ ของวัสดุที่ใช้ กับสินค้าบรรจุภายใน 3.2.2 นำเสนองานโดยการอภิปราย ผ่านระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1 สอบกลางและสอบปลายภาค 3.3.2 วัดผลจากการประเมินชิ้นงาน 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ  4.1.2 สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
4.2 วิธีการสอน
4.2.1 มอบหมายงาน ปลูกฝังการเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การแสดงความคิดเห็น และยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น 4.2.2 การนำเสนองาน
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน  4.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมาย
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำ เสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
5.2 วิธีการสอน
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในรูปแบบออนไลน์
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1  ประเมินจากการเลือกใช้เครื่องมือ ทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม 5.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1.1 มีทักษะในการท าตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 6.1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
6.2 วิธีการสอน
6.2.1 ศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างแนวคิดในการออกแบบ 6.2.2 อธิบายทฤษฎีและมอบหมายงานปฏิบัติตามทฤษฎีมาใช้  6.2.3 มอบหมายงานให้ค้นคว้าข้อมูล เพื่อนำเสนอ
6.3 วิธีการประเมินผล
6.3.1 ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากผลงานปฏิบัติของนักศึกษาที่มอบหมาย 6.3.2 แนวคิดในการออกแบบผลงาน 6.3.3 กระบวนการทำงานตามขั้นตอนของการสร้างสรรค์ผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 BAAID140 ออกแบบบรรจุภัณฑ์คงรูปและคืนรูป
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1 สอบกลางภาค 8 15%
2 3.3.1 สอบปลายภาค 17 15%
3 2.3.2, 3.3.2, 3.3.3, 4.3.1, 4.3.2, 5.3.1, 5.3.2, 6.3.2, 6.3.3 ประเมินจากการปฏิบัติงาน ตลอดภาคการศึกษา 60%
4 1.3.1 การเข้าเรียนในระบบ ONLINEการส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. ประชิด ทิณบุตร. การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ:โอเอส พริ้นติ้ง เฮาส์,2531 2. ปุ่น คงเจริญเกียรติ. บรรจุภัณฑ์อาหาร.กรุงเทพฯ:บริษัท แพคเมทส์ จำกัด,2541 3. พันธิพา จันทร์วัฒน์. การบรรจุหีบห่อ. วรสารบรรจุภัณฑ์. ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย.ปีที-1.ฉบับที-1,2527 4. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.คู่มือการใช้กระดาษเพื่อการหีบห่อ. กรุงเทพฯ: ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย,2546 5.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย,2545 6. สุดาดวง เรืองรุจิระ. นโยบายผลิตภัณฑ์และราคา.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ประกายพรึก,2538 7. Akizuki Shigeru. Box by four Package Design. Rikuyo - Sha Phblishing,Inc ND. 9. Haresh Pathak. Structural Package Design . The Pepin Press,1998 ND.
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3. การปรับปรุงการสอน หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
4.การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์