เทคโนโลยีเครื่องดื่ม

Beverage Technology

1. รู้และเข้าใจความหมายของเครื่องดื่ม และสามารถจำแนกชนิดของเครื่องดื่มต่างๆ ได้ 2.รู้และเข้าใจหน้าที่ของส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่มชนิดต่างๆ และสามารถอธิบายถึงส่วนประกอบที่เหมาะสมในการผลิตเครื่องดื่มได้ สามารถนำทักษะ/เทคโนโลยีการผลิตเครื่องดื่มต่างๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานในชีวิตจริง และในอุตสาหกรรมได้ 3. สามารถนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตเครื่องดื่มไปใช้ในการพัฒนา และผลิตเครื่องดื่มได้ถูกต้องตามกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ 4. อธิบายสาเหตุ และแก้ไขปัญหาของการเสื่อมเสียที่เกิดขึ้นในระหว่างการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ในการผลิตเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ได้ 5. ตอบสนองความต้องการของตลาดหรือผู้ประกอบด้านอุตสาหกรรมอาหาร และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการผลิตเครื่องดื่มไปจัดระบบการผลิตเครื่องดื่มที่มีคุณภาพในอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ตามความเหมาะสม 6. มีทักษะในการผลิตเครื่องดื่มชนิดต่างๆ จนสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ
1. เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2. เพื่อปรับเนื้อหารายละเอียดของรายวิชาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภาคปฏิบัติ นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีระบบที่เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น รวมทั้งเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัจจุบัน 3. เพื่อปรับปรุงเนื้อหาผลงานวิจัยใหม่ด้านอุตสาหกรรมเครื่องดื่มให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเป็นพื้นฐานหรือนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หลังจากการจบการศึกษาไปแล้ว
ความเป็นมาของเครื่องดื่ม ความสำคัญและประโยชน์ของเครื่องดื่ม องค์ประกอบของเครื่องดื่ม การเตรียมวัตถุดิบสำหรับการผลิตเครื่องดื่ม ชนิดและกระบวนการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ชนิดและกระบวนการผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มอัดก๊าซและไม่อัดก๊าซ โดยเน้นกระบวนการผลิตเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย เช่น น้ำผลไม้ น้ำผัก เครื่องดื่มอัดก๊าซ ไวน์  เบียร์ ชา กาแฟ และโกโก้ เป็นต้น History of beverages, the importance and benefits of the beverage; composition of beverages; preparation of raw materials in beverage production, type and process of non-alcoholic beverages; type and process of alcoholic beverages; carbonated and non-carbonated beverages.The subject topics are focusing on the beverage which are popular in Thailand, such as fruit juice, vegetable juice, carbonated beverages, wine, beer, tea, coffee and cocoa, etc.
3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (30 ชั่วโมง/ภาคการศึกษา)
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม š 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ ˜ 3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม š 4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ˜ 5. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. การสอนแบบบูรณาการ และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) ที่มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมทั้งในเนื้อหาทั้งภาคบรรยาย ภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ และระหว่างการสอบ เช่น ต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น และให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายและสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้เป็นต้น 2. การสอนแบบ Problem Based Learning ที่สอดแทรกปัญหาซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการขาดจิตสำนึกของผู้ผลิตและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปลูกจิตสำนึกให้นักศึกษาได้ตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 2. ตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานและการบ้าน 3. ประเมินผลการนำเสนอผลการปฏิบัติงาน และรายงานที่มอบหมายที่มีการอ้างอิงเอกสารอย่างถูกต้อง เหมาะสม และไม่ละเมิดสิทธิ์ผลงานวิชาการของผู้อื่น
1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา š2. มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ˜ 3. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ š4. รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
1. สอนแบบบูรณาการ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) ที่มีการสอนทั้งบรรยาย สาธิตตัวอย่างของจริง อภิปราย ซักถาม และมอบหมายให้สรุปด้วยความรู้และความคิดของตนเองโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ในสาขาวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมอาหาร และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ 2. ฝึกปฏิบัติตามเนื้อหาในภาคบรรยาย โดยแบ่งการทำงานเป็นกลุ่มที่ใช้หลักการ Problem Based Learning โดยนักศึกษาสามารถนำองค์ความรู้/เทคโนโลยี และผลงานวิจัยใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาอธิบายผลปฏิบัติ และแก้ไขปัญหา หรือต่อยอดองค์ความรู้/ผลการปฏิบัติที่ได้ 3. นำเสนอรายงานทั้งในรูปของเล่มรายงาน และ/หรือการนำเสนอผลงาน 4. พานักศึกษาไปศึกษาดูงานยังสถานประกอบการอุตสาหกรรมเครื่อง
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีที่สำคัญในเนื้อหาที่เรียน 2. ประเมินจากการนำเสนอรายงาน   ผลการค้นคว้าข้อมูล หรือโจทย์จาก Problem – based Learning หรืองานที่ได้รับมอบหมาย
1. มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ š2. สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ   ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ š3. สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ˜4. มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
1. สอนแบบบูรณาการ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) ให้นักศึกษาฝึกการแก้ไขโจทย์ปัญหาจาก Problem – based Learning และสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นหรือโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้ 3. อภิปรายกลุ่ม 4. ให้ทำงานกลุ่มช่วยกันแก้ไขโจทย์ปัญหาตามกรณีที่กำหนด
1. การทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค  2. วัดผลจากการเขียนบันทึกและการส่งรายงานผลการปฏิบัติงานและ/หรือการนำเสนอผลงาน 3. ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเป็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคล และกลุ่ม
1. มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม š2. สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ š3. วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ š4. สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. จัดกิจกรรมเสริมเป็นกลุ่มย่อยในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาคนอื่นและบุคคลภายนอก 2. มอบหมายงานกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น และให้ร่วมกันนำเสนอรายงาน/ผลงาน 3. กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่มอย่างชัดเจน
1. การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน และวัดผลจากการสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มในขณะทำการการทดลองในห้องปฏิบัติการ 2. ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และให้นักศึกษาประเมินนักศึกษาอื่นๆในรายวิชาด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 3. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
1. สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 2. สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ š 3. สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้น ๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ š 4. มีวิจารณญานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด š 5. สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ˜ 6. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ š 7. สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
1. สอนแบบบูรณาการ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) โดยเน้นการสอนแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology - Related Instruction) และแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ ใช้ Power point และมีการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เช่น VDO ผ่าน Youtube    2. การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล และการมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. จัดกิจกรรมกลุ่มย่อยในชั้นเรียน และร่วมกันนำเสนอรายงาน/ผลงานโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น โดยวาจา โปสเตอร์ และ power point หรือมัลติมีเดียอื่นๆ รวมทั้งการสอนโดยใช้สื่อภาษาอังกฤษร่วมด้วย เพื่อให้นักศึกษาเกิดความคุ้นเคยต่อการศึกษาด้วยตนเอง
1. ประเมินจากรายงานที่มีการสอดแทรกและอธิบายเนื้อหาการคิดคำนวณ และตัวเลขที่เกี่ยวข้อง และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย เทคนิคการนำเสนองานและวิธีการอภิปรายของนักศึกษาโดยการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์ 3. ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
1. มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม 
2. มีการบริหารจัดการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบถูกต้องแม่นยำ
1. ปฏิบัติการในห้องปฏฺบัติการ โดยการฝึกการใช้เครื่องมือที่จำลองแบบของโรงงานอุตสาหกรรม และการวิจัยโดยการแบ่งกลุ่มรับผิดชอบหรือการใช้เครื่องมือ การวิจัย เพื่อเสริมทักษะทางปัญญา 2, พานักศึกษาไปศึกษาดูงานยังสถานประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม (ในกรณีที่นักศึกษามีความประสงค์)
1. วัดผลจากการเขียนบันทึก และประเมินจากนำเสนอและการวเขียนรายงานผลการปฏิบัติงานและ/หรือการนำเสนอผลงาน ผลการค้นคว้าข้อมูล หรือโจทย์จาก Problem – based Learning หรืองานที่ได้รับมอบหมาย 2. ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเป็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคล และกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ (Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา (Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา (Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) 6. ด้านทักษะปฏิบัติ (Psychomotor Skill) (ถ้ามี)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.5 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ 2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ 3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ 3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา 4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม 4.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ 4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้น ๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ 5.4 มีวิจารณญานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด 5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม 5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.7 สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบถูกต้องแม่นยำ
1 BSCFT115 เทคโนโลยีเครื่องดื่ม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.3, 1.5, 2.3, 3.1, 3.2, 3.4, 4.1, 4.2, 5.2, 6.1 1. การเข้าชั้นเรียน 2. การส่งรายงานตรงเวลา 3. การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 4. การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 5%
2 2.1, 2.3 การทดสอบย่อย 3 ครั้ง 4, 6, 10 30%
3 2.1, 2.3 การสอบกลางภาค 9 25%
4 3.1, 3.2, 4.1, 5.1, 5.2, 5.3, 5.4, 5.6, 5.5, 5.7 การนำเสนองาน/การรายงานผลการปฏิบัติ หรือรายงานที่ได้รับมอบหมาย ทุกสัปดาห์ 15%
5 2.1, 2.3 การสอบปลายภาค 17 25%
1. กรรณิการ์ สิริสิงห์. 2525. เคมีของน้ำโสโครกและการวิเคราะห์. บริษัทประยูรวงศ์จำกัด, กรุงเทพฯ, พิมพ์ครั้งที่ 2.  387 น.
2. งานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. 2546. เอกสารประกอบการฝึกงานนักศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
3. ธีรวัลย์  ชาญฤทธิเสน.  2543.  เรียนรู้การทำไวน์ผลไม้ด้วยตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2, บริษัทบาร์โค้ดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, กรุงเทพฯ.  85 หน้า.
4. ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน  ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ ณัฐชัย เที่ยงบูรณธรรม และวิมลศรี สิริพัฒนากุล. 2545. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผลกระทบของสายต้น ความสุกแก่และกระบวนการแปรรูปที่มีต่อคุณภาพของน้ำมะม่วงและไวน์มะม่วงจากมะม่วงสามปี (Mangifera indica L.). สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ.
5. ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน นิอร โฉมศรี ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา พยุงศักดิ์  มะโนชัย และวสันต์ เจ้ากลดี. 2547. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การผลิตไวน์ลำไยในระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก. สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ.
6. ปรรัตน์ ศุภมิตรโยธิน. 2556. เทคโนโลยีผักและผลไม้. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ. 280 น.
7. ไพบูลย์  ธรรมรัตน์วาสิก. 2532. กรรมวิธีแปรรูปอาหาร. ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
8. ไพโรจน์  วิริจารี. 2535. เครื่องดื่ม. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
9. ไพโรจน์  วิริจารี. 2535. วิธีทางอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม. พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
10. ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ  ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน  รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา  พยุงศักดิ์ มะโนชัย  และณัฐชัย เที่ยงบูรณธรรม. 2548. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผลของกระบวนการแปรรูปกระชายที่มีต่อสารฟลาโวนอยด์และคุณภาพบางประการในผลิตภัณฑ์กระชาย (Boesenbergia pandurata Holtt.). สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และคณะเกษตรศาสตร์บางพระ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก กระทรวงศึกษาธิการ.
11. ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ  ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน  พยุงศักดิ์ มะโนชัย  รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา    และณัฐชัย เที่ยงบูรณธรรม. 2548. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผลของวิธีการเก็บรักษาเนื้อมะม่วงสามปี (Mangifera indica L.) บดที่มีต่อปริมาณแคโรทีนและคุณภาพของเครื่องดื่มน้ำมะม่วงและไวน์มะม่วง. สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ.
12. ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ  วรรณา อัมมวรรธน์  สุภาวดี แช่ม และจานุลักษณ์  ขนบดี. 2561. นวัตกรรมอาหารต้านอนุมูลอิสระจากฟักทอง (Cucurbita spp.) สายพันธุ์ที่มีน้ำมันสูง”. สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
13. ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ และ Doris Rauhut. 2561. ผลของสายพันธุ์ยีสต์ Saccharomyces และสารอาหารที่ต่างกันต่อปริมาณสารที่ให้กลิ่นต่างๆ ของไวน์โซวีญอง-บลอง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 49(1) ฉบับพิเศษ: 598-600.
14. รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต. 2535. วิศวกรรมแปรรูปอาหาร: การถนอมอาหาร. ภาควิชา      อุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพ ฯ.
15. วราวุฒิ ครูส่ง. 2538. จุลชีววิทยาในขบวนการแปรรูปอาหาร. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์ กรุงเทพฯ
16. วิไล  รังสาดทอง. 2552. เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด,กรุงเทพฯ. 500 น.
17. ศิริลักษณ์ สินธวาลัย. 2522. ทฤษฎีอาหาร เล่ม 2 : หลักการถนอมอาหารและการควบคุมคุณภาพอาหาร.  โรงพิมพ์ บำรุงนุกูลกิจ. กรุงเทพฯ.
18. ศิวาพร  ศิวะเวช. 2529. วัตถุเจือปนในอาหาร 2. พิมพ์ครั้งที่ 4. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
19. อรพิน  ภูมิสมร.  2526.  จุลินทรีย์ในเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์และอาหารหมักพื้นเมือง.  ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
20. Abilio, F.Z.  2001. The Port Wine Guide.  Norprint-Artes Graficas, S.A.  Portugal.
21. Alan, H.V. and Jane, P.S. 1994. Beverages Technology, Chemistry and Microbiology.  Chapman & Hall. London. 464 P.
22. Amerine, M.A., Berg; H.W. and Cruess; W.V. 1972.  The Technology of Wine Making. 3 rd. Westport  Connecticut.
23. Amerine, M.A. and Ough, C.S. 1974. Wine and Must Analysis. New York : John Willey & Sons.
24. Arts, I.C, Hollman, P.C, Feskens, E.J, Bueno de Mesquita, H.B, Kromhout, D. 2001. Catechin intake might explain the inverse relation between tea consumption and ischemic heart disease: the Zutphen Elderly Study. Am J Clin Nutr. 74 (2): 227 - 32.
25. Astill, C., Birch, M.R., Dacombe, C., Humphrey, P.G, Martin, P.T. 2001. Factors affecting the caffeine and polyphenol contents of black and green tea infusions.      J Agric Food Chem., 49(11): 5340 – 5347.
26. Branen, A.L., Davidson, P.M., and Salminen, S. 1990. Food Additives. Marcel Dekker, Inc.  New York and Basel. 736 p.
27. Chomsri, N., T. Chanrittisen, P. Srisamatthakarn, Schmitz, C., and W. Jaokondee. 2003.  Effects of Composition in Longan Must on the Growth Rates, Cell Biomass, and Fermentation of Wine Yeasts. Proceeding CD-ROM, The 1st International Symposium and Workshop on “Insight into the World of Indigeneous Fermented Foods for Technology Development and Food Safety” August 13-15, 2003, Kasetsart  University, Bangkok. Thailand.
28. Daris, B. and Stone, S. 1988. Food and Beverage Management. Redwood Bura Ltd., Trowbridge, Wiltshire.
29. Gavin, A. and L.M. Wedding, 1995. Canned Foods: Principles of Thermal Process control, Acidification and container Closure Evaluation, 6th Ed. The Food Processor.
30. Graham, H.N. 1992. Green tea composition, consumption, and polyphenol chemistry. Prev Med. 21 (3): 334 – 350.
31. Hammerstone, J.F, Lazarus, S.A, Mitchell, A., Rucker, R., Schmitz, H.H. 1999. Identification of procyanidins in cocoa (Theobroma cacao) and chocolate using high-performance liquid chromatography/mass spectometry. J Agric Food Chem.,          47: 490-6.
32. Henk,  M. 1991. Volatile Compounds in Foods and Beverages. Marcel Dekker,Inc. New York.
32. Imura, N. and Matsuda, O. 1992. Volatile aroma recovery from roasted coffee by steaming and its effects on soluble coffee products. Nippon Shokuhin Kogyo Gakkaishi, (39): 531-535.
33. Lakenbrink, C., Lapczynski, S., Maiwald, B., Engelhardt, U.H. 2000. Flavonoids and other polyphenols in consumer brews of tea and other caffeinated beverages. J Agric Food Chem., 48(7): 2848 – 2852.
34. Lea, A.G.H. and Piggott, J.R. 1995. Fermented Beverage Production. Blackie Academic & Professional. London. 428 P.
35. Marian, W. and Baldy. 1994. The University Wine Course. San Francisco. The Wine Appreciation Guild.
36. Minifie, B.W. 1989. Chocolate, Cocoa and Confectionery Science and Technology. 3rd edition.  Van Nostrand Reinhc.
37. Nagy. S., P.E. Shaw and M.K. Veldhis.  1977.  Citrus Science and Technology. Vol.2.  The AVI Publishing Co. Inc., Westport, Connecticut.
38. Patrick, I., Andrew, E.. and John, S. 1993.  Techniques for Chemical Analysis and Stability Test of Grape Juice and Wine.  Patric Iland Wine Promotions, Campbell Town, South Australia.
39. Pederson, C.S. 1979. Microbiology of food fermentation, 2nd Ed. AVI Publishing Co., Westport, Connecticut.
40. Persson, P.O. and G. Londahl. 1993. Freezing Technology: In Frozen Food Technology. Mallet, C.P. (Editor) Blackie Academic & Professional, London.
41. Petter, N.N. and J.H. Hotchkiss. 1995. Food Science,  5th Ed. Chapman & Hall., New York.
42. Ranganna, S. 1986. Handbook of Analysis and Quality Control for Fruit and Vegetable Products.  Second Edition.  Tata Mcgraw-Hill Publishing Co. Ltd., New Delhi.
43. Ribéreau-Gayon, P., Dubourdieu, D., Donèche, B., & Lonvaud, A. (2006 a). Handbook of Enology Volume 1: The Microbiology of Wine and Vinifications. 2nd Ed. Chichester: John Wiley & Sons.
44. Ribéreau-Gayon, P., Glories, Z., Maujean, A., & Dubourdieu, D. (2006 b). Handbook of Enology Volume 2: The Chemistry of Wine Stabilization and Treatments. 2nd Ed. Chichester: John Wiley & Sons.
45. Rombouts, F.M. and Pilnik, W. 1978. Enzymes in fruit and vegetable juice technology.  Process Biochemistry, 13: 8,9, -13.
46. Sivetz, M. and Desrosier. N.W. 1979. Coffee Technology. The AVI Publishing Co. Inc., Westport, Connecticut.
47. Srisamatthakarn, P., T. Chanrittisen and  E. Buranawijarn. 2003.  Effects of Sampee Mango (Mangifera indica L.) Ripening Stage and Flesh Ratio on Mango Wine Quality. Proceeding CD-ROM, The 1st International Symposium and Workshop on “Insight into the World of Indigeneous Fermented Foods for Technology Development and Food Safety” August 13-15, 2003. Kasetsart University, Bangkok. Thailand.  
48. Srisamatthakarn, P., Rauhut, D., & Brückner, H. 2010. Impact of commercial yeast strains on wine fermentation and formation of metabolites of yellow passion fruit juice (Passiflora edulis Sims f. flavicarpa Degner). International Conference on the Role of Universities in Hands-On Education, Rajamangala University of Technology Lanna, Chiang-Mai, Thailand 23-29 August 2009.
49. Srisamatthakarn, P., Rauhut, D., & Brückner, H. 2010. Impact of commercial yeast strains on wine fermentation and formation of metabolites of yellow passion fruit juice (Passiflora edulis Sims f. flavicarpa Degner). Asian Journal of Food and Agro-Industry, 3 (2), 282-292.
50. Srisamatthakarn, P., Rauhut, D., & Brückner, H. 2010. Effect of commercial yeast strains on fermentation and metabolic compounds of yellow passion fruit (Passiflora edulis Sims f. flavicapa Degner) wines. 28th International Specialized Symposium on Yeast”, 15-18 September 2010, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Montien Riverside Hotel, Bangkok, Thailand.
51. Srisamatthakarn, P. 2011. Improvement of varietal aroma in grape and tropical fruit wines by optimal choice of yeasts and nutrient supplements. Doctoral Thesis. Justus-Liebig-University Giessen, Germay, 275 p.
52. Srisamatthakarn, P., Kapaklis, A., Kürbel, H., Brückner, H., and Rauhut, D., 2012. Effect of commercial yeast strains snd nutrient supplements on SO2-binding and aroma compounds of yellow passion fruit (Passiflora edulis Sims f. flavicapa Degner) wines. Asian Journal of Food and Agro-Industry, 5 (3): 213-225.
53. Srisamatthakarn, P., Chanrittisen, T., and Kidchai, N. 2013. Effects of processing on antioxidant properties of the Gymnema inodorum (Lour.) Decne. health drink. Proceedings of AFHW 2013 International Symposium on Agri-Foods for Health and Wealth, pp. 303-310, August 5-8, 2013, Golden Tulip Sovereign Hotel, Bangkok, Thailand.
54. Vernam, A.H. and Sutherland, J.P. 1994. Beverages Technology, Chemistry and Microbiology. Chapman & Hall, London.
55. Voragen, A.G.J. and Van den Brock, L.A.M. 1991. Fruit Juices in Biotechnological innovation in food processing., M.C.E. Van Dam-Mieras, et al. pp 187-210.
56. Woodroof, J.G. and Phillips, G.F. 1981. Beverage: Carbonate and Non-carbonate. Revised Edition. The AVI Publishing Co. Inc., Westport, Connecticut.
1) วารสารอาหาร, Journal of Food Science, Journal of Food Technology, Journal of the Science of Food and Agriculture
2) เวปไซด์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น www.foodnetworksolution.com/wiki, Wikipedia คำอธิบายศัพท์
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  เพื่อให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ พร้อมข้อเสนอแนะ
1.2 ให้นักศึกษากรอกแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ในระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
หลักสูตร/ภาควิชา/คณะกำหนดให้มีการประเมินการสอนโดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยหัวหน้าหลักสูตร/ภาควิชา/คณบดี ประเมินจากการสังเกตการณ์สอน หรือทีมผู้สอน และผลการเรียนของนักศึกษา โดย
2.1 การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
2.2 ผลการทดสอบย่อย
2.3 ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
2.4 รายงานตามบทปฏิบัติการ
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษาโดยดูจากแบบทดสอบก่อนการเรียน เพื่อปูพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.3 หลักสูตร/ภาควิชา/คณะ มีการกำหนดกลไกและวิธีการปรับปรุงการสอน เช่น สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในชั้นเรียน การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ฯลฯ
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจงานที่มอบหมาย ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ และรายงานผลการปฏิบัติการในแต่ละสัปดาห์ เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม พิจารณาคะแนนข้อสอบสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค หรืองานที่มอบหมาย มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมให้มีความหลากหลาย หรือเปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ