ฝึกงานทางวิชาชีพประมง

Job internship in Fisheries

เมื่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนามนี้แล้ว นักศึกษาจะสมรรถนะในด้านต่าง ๆ ได้แก่

เชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีกับการประยุกต์ให้เกิดผลทางปฏิบัติ เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการนำความรู้ด้านประมงมาใช้ในการทำงาน เรียนรู้และฝึกประสบการณ์ด้านประมงจากสภาพแวดล้อมจริง เข้าใจชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร ปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น และสามารถทำงานร่วมกันได้
วิชาการฝึกงาน จะเป็นการจัดให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมดเพื่อประยุกต์กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการจะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงทำงานเป็นทีมเป็นการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทางานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา
เป็นรายวิชาฝึกงาน ในหมวดวิชาชีพเฉพาะ กลุ่มวิชาชีพบังคับในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิชาประมงฝึกปฏิบัติงานตามหน่วยงานในชุมชนและแหล่งงานผู้ประกอบการที่ตรงกับหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 450 ชั่วโมงเพื่อให้ได้ประสบการณ์และเรียนรู้ในเชิงวิสัยทัศน์การทำงานโดยให้มีการประเมินระดับคะแนน(Grade)เป็น

ช่วงคะแนนที่ได้จากการประเมินผล ค่าระดับคะแนน 70-100 พอใจ (S) ไม่ส่งบันทึกสมุดการฝึกงาน ยังไม่สมบูรณ์ (I) ไม่ส่งใบประเมินการฝึกงาน ยังไม่สมบูรณ์ (I) ไม่ส่งใบส่งตัวกลับจากสถานฝึกงาน ยังไม่สมบูรณ์ (I) ไม่ส่งสไลด์การนำเสนอฝึกงาน ยังไม่สมบูรณ์ (I) ไม่ส่งรายงานการฝึกงานในbk-elearning ยังไม่สมบูรณ์ (I) น้อยกว่า 70 ไม่พอใจ (U)
ไม่มี
 
š1.1 มีจิตสำนึกสาธารณและตระหนักในคุณค่าและคุณธรรมจริยธรรม
˜1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
˜1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
˜1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ปฐมนิเทศนักศึกษาถึงระเบียบ วินัย คุณธรรม ที่พึงปฏิบัติ ก่อนการฝึกงาน
-กำหนดตารางเวลาฝึกงาน บันทึกเวลาฝึกงานกำหนดขอบเขตของงาน กำหนดวิธีการประเมินผลงาน
-มอบหมายงาน กำหนด ติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ เช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร
- ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
-นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐาน
-ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง หรือพนักงานควบคุมการฝึกงาน จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างฝึกงาน โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยทุกครั้ง
- ประเมินความซื่อสัตย์จากการพูดคุย สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และผู้เกี่ยวข้อง พร้อมมีรายงานผลการฝึกงานประกอบ
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
˜2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
š2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- สถานประกอบการที่ฝึกงาน จัดผู้ควบคุมฝึกงาน แนะนำ รายละเอียดของงานที่ต้องทำในการปฏิบัติงาน
-ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่มีในหน่วยงานเพื่อการปฏิบัติงานจริงภายใต้การดูแลของผู้ควบคุมการฝึกงาน
-นำความรู้ที่ได้ไปบูรณาการกับการทำงานในแผนกต่างๆได้อย่างเหมาะสม
- ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน โดยผู้เกี่ยวข้อง ผู้ควบคุมการฝึกงาน อาจารย์นิเทศก์
- ประเมินผลจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น
-ประเมินผลจากการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับงานที่ได้รับมอบหมาย
š3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
˜3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
- การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำตามแผนกต่างๆ
- จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน และนำเสนอ
-ประเมินผลจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย ตามหัวข้อที่กำหนด โดยอ้างอิงทฤษฎีในวิชาที่เกี่ยวข้องและควรนำมาเป็นพื้นฐานในการทำงาน
š4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
˜4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
˜4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- มอบหมายงานที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน
-มีการติดตามงานที่มอบหมายเพื่อตรวจสอบความก้วหน้าของงาน
- ประชุมร่วมกัน เพื่อมอบหมายงาน ติดตามงาน ประเมินผล
- ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม จากการสัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
- ประเมินจากข้อมูลที่ได้รับจากที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์
˜5.1 สามารถใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
š5.2 สามารถสืบค้น ค้นหา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
˜5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มอบหมายงานที่ต้องใช้คณิตศาสตร์ ทักษะการคำนวณ และใช้สถิติเพื่อนำเสนอข้อมูล
- มอบหมายงานที่ต้องมีการสื่อสารโดยใช้ภาษาทั้งไทยและต่างประเทศ ทั้งการพูด เขียน ในการประสานการทำงาน
- มอบหมายงานที่ต้องใช้เทคโนโลยี ในการแก้ปัญหา หรือนำเสนอผลงาน
- ประเมินจากเอกสาร ที่นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อ
- ประเมินจากเอกสารที่เขียน เช่น E-Mail ที่ใช้สื่อสารเพื่อการทำงาน
- ประเมินจากผลการแก้ปัญหาว่า โดยเน้นความถูกต้องและเหมาะสม
š6.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม
˜6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
- มอบหมายงานที่ต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้เหมาะสมกับงานที่ทำ
- มอบหมายงานที่ต้องใช้อุปกรณ์ ในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย
- ประเมินจากผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
- ประเมินจากผลการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 23019406 ฝึกงานทางวิชาชีพประมง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
1.1 นักศึกษา : นักศึกษาบันทึกงานที่มอบหมาย ผลการฝึกฯในแบบฟอร์มและนำเสนอผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามต่อคณะกรรมการฝึกงาน
 
1.4 อื่น ๆ เช่น บัณฑิตจบใหม่ : -
 ผู้ควบคุมการฝึกงานหรือผู้ประกอบการ : ตรวจสอบบันทึกงานที่มอบหมายและลงชื่อรับรองการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
 อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม : อาจารย์ที่ปรึกษาให้คำปรึกษา ติดตามผลการดำเนินงานของนักศึกษาหลังให้คำปรึกษา ติดต่อและประสานงานกับสถานประกอบการ และบันทึกการให้คำปรึกษาตามแบบฟอร์มที่กำหนด
- ขออาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ประมวลผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษา จากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากนักศึกษา จากผู้ควบคุมการฝึกงาน และจากอาจารย์ที่ปรึกษาเฉพาะเรื่อง รายงานต่ออาจารย์รับผิดชอบหลักสูตร และหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อทราบ
- ประชุมสาขาวิชา ร่วมพิจารณานำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสำหรับการใช้รอบปีการศึกษาถัดไป