ระบบเชิงกลสำหรับวิศวกรรมเกษตร

Mechanical System for Agricultural Engineering

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการทำงานและสมรรถนะของ ต้นกำลังในระบบเกษตร เครื่องยนต์สันดาปภายใน เครื่องจักรกลของไหล ระบบปรับอากาศ ระบบความเย็น ระบบท่อ การจัดการต้นกำลังและเครื่องจักรกลเกษตร
2.1  เพื่อให้รายวิชามีความทันสมัย ครอบคลุมต่อองค์ความรู้และเทคโนโลยีในปัจจุบัน
2.2  เพื่อให้รายวิชามีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องต่อความต้องการของนักศึกษาและความต้องการของสถานประกอบการหรือผู้ใช้บัณฑิต
2.3  เพื่อพัฒนารายวิชาและวิธีการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดประโยชน์สูงสุด
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการทำงานและสมรรถนะของ ต้นกำลังในระบบเกษตร เครื่องยนต์สันดาปภายใน เครื่องจักรกลของไหล ระบบปรับอากาศ ระบบความเย็น ระบบท่อ การจัดการต้นกำลังและเครื่องจักรกลเกษตร
3.1  อาจารย์ประจำวิชาปฐมนิเทศและแจ้งให้นักศึกษาทราบเกี่ยวกับความสำคัญของวิชา    วิธีการดำเนินการเรียนการสอน  และเวลาที่ใช้ศึกษานอกเวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์
3.2  อาจารย์ประจำวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ต่อกลุ่มเรียน โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าขอรับคำปรึกษาทั้งแบบเผชิญหน้า (Face to Face) และผ่านสื่อเครือข่ายสังคม (Social media)
1. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงโดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชา
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
1. จิตพิสัยของนักศึกษาตลอดภาคการศึกษา
2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายไว้รวมถึงความประณีต เรียบร้อยของงานที่สะท้อนถึงความตั้งใจความรับผิดชอบของนักศึกษา
1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2. สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงโดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
1. การทดสอบย่อย
2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
4. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
1. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
2. สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
1. กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ
2. การอภิปรายกลุ่มหรือการศึกษา ค้นคว้ารายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
3. ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่นประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา เป็นต้น
1. รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
2. สอนแบบถามตอบและให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดหน้าชั้นเรียนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบ Problem-based learning เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงความรู้  และอภิปราย ถกแถลง ในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างเพื่อนกับเพื่อน
1. ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
2. ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
3. ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา
4. สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
1. สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริงและนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ
2. ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
1. ไม่ได้เน้นการพัฒนาทางด้านนี้ จึงไม่มีการจัดการประเมินผล
1. มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยใช้ความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยดังข้อต่อไปนี้
1. สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
2. สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
3. สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ กับหน่วยงานภายในและภายนอก
4. จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
5. สนับสนุนการทำโครงงาน
1. ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
2. ประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
3. ประเมินผลโครงงานของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGAG203 ระบบเชิงกลสำหรับวิศวกรรมเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 4.2-4.6 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8, 17 35 % , 35 %
2 4.2-4.6 งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20 %
3 4.1 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10 %
1.1 Advanced Automotive Fault Diagnosis. Automotive Technology. Vehicle Maintenance and Repair
1.2 ระบบการฉีดเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซล (อ.ก้องเกียรติ ธนะมิตร)
1.3 เครื่องยนต์เบนซินหัวฉีดที่ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ก้องเกียรติ ธนะมิตร)
1.4 การออกแบบระบบท่อทางวิศวกรรม (ดุลยโชติ ชลศึกษ์)
1.5 เครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ (สุธิกานต์ วงษ์เสถียร)
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาผ่านระบบออนไลน์
1.2 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์การทำแบบฝึกหัดของนักศึกษาระหว่างเรียน และงานมอบหมายที่นักศึกษาทำส่ง
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 ผลการประเมินการสอนของอาจารย์
ปรับการสอนรายสัปดาห์โดยพิจารณาจากผลข้อ 2.1
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ