หลักมูลของเคมี

Fundamentals of Chemistry

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานทางเคมี หลักการใช้เครื่องมือ การชั่ง-ตวงทางวิทยาศาสตร์ พื้นฐานทางทฤษฎีอะตอม โครงสร้างทางอิเล็กตรอนของอะตอม สมบัติตามตารางธาตุพีริออดิก ธาตุเรฟพรีเซนเททีฟ อโลหะและธาตุแทรนซิซัน พันธะเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์ สมบัติของก๊าซ ของแข็ง ของเหลวและสารละลายกรด-เบส สมดุลเคมี ปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชัน จลนศาสตร์เคมี ไฟฟ้าเคมี และไฮโดรคารบอน
2. เพื่อให้มีทักษะในการทำปฏิบัติการทางด้านเคมี
3. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาชีพเฉพาะ รายวิชาชีพบังคับ และรายวิชา ชีพเลือกได้
เพื่อให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ของหลักสูตรและปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยมีการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองควบคู่ไปกับการเรียนในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนตลอดจนให้นักศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานทางทฤษฎีอะตอม โครงสร้างทางอิเล็กตรอนของอะตอม สมบัติตามตารางธาตุ พีริออดิก ธาตุเรฟพรีเซนเททีฟ อโลหะและธาตุแทรนซิซัน พันธะเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์ สมบัติของก๊าซ ของแข็ง ของเหลว และสารละลายกรด-เบส สมดุลเคมี ปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชัน จลนศาสตร์เคมี ไฟฟ้าเคมี และไฮโดรคาร์บอน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพ
1.2.1 เน้นให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาและแต่งกายให้ตรงตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.2 เน้นให้นักศึกษามีความรับผิดชอบ โดยเน้นให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
1.2.3 เน้นให้ทำงาน ทำแบบฝึกหัด และทำข้อสอบด้วยความสุจริต
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.3 ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบและความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
 
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมอาหาร
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาของสาขาวิชาเฉพาะด้านการผลิตและนวัตกรรมอาหาร
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ 
2.2.1 ให้ความรู้โดยการสอดแทรกเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ
2.2.2 ใช้การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พร้อมทั้งให้ผู้เรียนตั้งคำถามหรือตอบคำถามโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอนหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน
2.2.3 ฝึกให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติที่สอดคล้องกับเนื้อหาทางทฤษฎี เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงการนําทฤษฎีไปประยุกต์ใช้
2.2.4 อภิปรายกลุ่มและนำเสนอผลงาน
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ โดย
2.3.1 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมการผลิตและนวัตกรรมอาหารได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1 การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning)
3.2.2 จัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการคิด มีการทบทวนบทเรียน และการทำแบบฝึกหัด
3.3.1 ประเมินจากการตอบปัญหาและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
3.3.2 การสอบย่อย การสอบข้อเขียนที่มีการแสดงถึงทักษะกระบวนการทางความคิดและการประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานนั้น
3.3.3 ประเมินจากการปฏิบัติและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงาน
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม
4.2.2 มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มในการปฏิบัติการ เพื่อให้ทำงานกับบุคคลที่หลากหลายมากขึ้น
4.2.3 การลงมือทําปฏิบัติการรายกลุ่ม โดยกําหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทํางานกลุ่มให้ชัดเจนและเข้าถึง
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบในการทํากิจกรรมกลุ่ม รวมถึงประเมินจากการลงมือปฏิบัติการในงานที่ได้รับมอบหมาย
4.3.2 ให้นักศึกษาประเมินความสัมพันธ์สมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
5.1.1 สามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตลอดจนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
5.2.1 มีการนําเทคนิคการสืบค้น เพื่อทํารายงานและหาแหล่งข้อมูลในทางที่แม่นยําและถูกต้อง  
5.2.2 นําเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนําเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากสมุดปฏิบัติการที่มีการสรุปการออกแบบการทดลองและการวางแผนการปฏิบัติงาน
 
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักาะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3
1 SCISC101 หลักมูลของเคมี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม - เข้าห้องเรียน - ใบงาน 1-17 10
2 ด้านความรู้ - ทดสอบย่อย 2 ครั้ง - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 1-17 45
3 ด้านทักษะทางปัญญา - สอบปลายภาคปฏิบัติการ 17 15
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - การส่งสมุดปฏิบัติการ - รายงานผลการปฏิบัติการ 1-17 20
5 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รายงานผลการปฏิบัติการ 1-17 10
คู่มือปฏิบัติการหลักมูลของเคมี (SCISC101) 
ไม่มี
ไม่มี
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตพฤติกรรมจากการทำปฏิบัติการของนักศึกษา
2.2 การสรุปผลการปฏิบัติการ
2.3 ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษาโดยดูจากแบบทดสอบก่อนการเรียน เพื่อปูพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
3.2 การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจสอบรายงานผลปฏิบัติการ เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมให้มีความหลากหลาย
5.3 ปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ
5.4 นำข้อคิดเห็นจากการประเมินโดยผู้เรียนมาประมวล เพื่อจัดเนื้อหาความรู้ให้เหมาะสม ผลจากการประเมินจะนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป