ปฏิบัติการสำรวจ

Surveying Practice

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจวิธีการสำรวจเบื้องต้น วิธีการทำระดับ, เข้าใจหลักการและการประยุกต์ใช้กล้องวัดมุมในการวัดระยะและทิศทาง ความคลาดเคลื่อนและชั้นงานในการสำรวจ, เข้าใจการปรับแก้ข้อมูล โครงข่ายสามเหลี่ยม การหาแอซิมัธและระบบพิกัดทางราบของงานวงรอบอย่างละเอียด รวมถึงเข้าใจการสำรวจและการเขียนแผนที่ภูมิประเทศ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานการสำรวจ,ตะหนักถึงความสำคัญของการสำรวจ เพื่อประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมโยธา การเขียนแผนที่ภูมิประเทศและรู้จักการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการสำรวจ เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงในการสำรวจและการเขียนแผนที่ภูมิประเทศ หรือนำไปประยุกต์กับหลักวิชาอื่นได้
ศึกษาเกี่ยวกับการสำรวจเบื้องต้น การทำระดับ หลักการและการประยุกต์ใช้กล้องวัดมุมในการวัดระยะและทิศทาง ความคลาดเคลื่อนและชั้นงานในการสำรวจ การปรับแก้ข้อมูล การหาแอซิมัธและระบบพิกัดทางราบของงานวงรอบอย่างละเอียด การทำวงรอบและค่าระดับอย่างละเอียด การสำรวจและการเขียนแผนที่ภูมิประเทศ
6 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.3 มีความสามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิชาชีพวิศวกร ตามข้อบังคับสภาวิศวกร
1.2.1 แสดงความเป็นตัวอย่างของการมีวินัย การตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคมแก่นักศึกษา
1.2.2 กำหนดและชี้แจงกติกาของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ได้แก่ วิธีการให้คะแนนเข้าชั้นเรียน การส่งงาน
1.2.3 ส่งเสริมให้มีความเป็นผู้นำ และผู้ตาม มีความสามัคคีในการทำงาน และการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.2.4 ตั้งคำถามและให้โอกาสนักศึกษาได้วิเคราะห์และประเมินผล หรือให้นักศึกษายกตัวอย่างการใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร หรือแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในชั้นเรียน
1.2.5 อภิปรายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาการกระทำผิดจรรยาบรรณของวิศวกร และให้มีการอภิปรายกลุ่มในชั่วโมงแรก และสรุปภาพรวมในชั่วโมงสุดท้าย
1.3.1 ให้คะแนนจากการเข้าเรียน ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้ตรงเวลา และ
ความซื่อสัตย์ที่มีต่อชิ้นงาน
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติงานตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ
ที่กำหนดไว้
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1 มีความรู้เกี่ยวกับการสำรวจเบื้องต้น การทำระดับ หลักการและการประยุกต์ใช้กล้องวัดมุมในการวัดระยะและทิศทาง ความคลาดเคลื่อนและชั้นงานในการสำรวจ การปรับแก้ข้อมูล การหาแอซิมัธและระบบพิกัดทางราบของงานวงรอบอย่างละเอียด การทำวงรอบและค่าระดับอย่างละเอียด การสำรวจและการเขียนแผนที่ภูมิประเทศ
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับงานสำรวจ เป็นต้น
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้โดยที่นักศึกษาหรือผู้เรียนจะได้รับความรู้ตรงตามคำอธิบายของวิชาคือ ศึกษาเกี่ยวกับการสำรวจเบื้องต้น การทำระดับ หลักการและการประยุกต์ใช้กล้องวัดมุมในการวัดระยะและทิศทาง ความคลาดเคลื่อนและชั้นงานในการสำรวจ การปรับแก้ข้อมูล การหาแอซิมัธและระบบพิกัดทางราบของงานวงรอบอย่างละเอียด การทำวงรอบและค่าระดับอย่างละเอียด การสำรวจและการเขียนแผนที่ภูมิประเทศ
บรรยาย อภิปราย การทำงานเดี่ยวและกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีนำไปแก้ปัญหาโจทย์
2.3.2 ประเมินจากผลงานการศึกษาและค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
2.3.3 ประเมินจากผลการนำเสนองาน
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1 ส่งเสริมการอ่าน การสืบค้นข้อมูล เพื่อให้มีแนวคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์การจัดทำโครงงานที่ได้รับมอบหมาย
3.2.2 ให้มีการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา (Problem Based Instruction)
3.2.3 ทำการอภิปรายผลที่ได้ให้ทุกคนในห้องทราบและเข้าใจ พร้อมทั้งรับฟังข้อซักถามจากเพื่อนและอาจารย์
3.3.1 วัดผลจากการประเมินโครงงาน การนำเสนอผลงาน และความถูกต้องของโครงงาน
3.3.2 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคมตามกำหนดเวลา
4.2.1 จากโครงงานที่นักศึกษาทำต้องให้แต่ละบุคคลในกลุ่มหมุนเวียนกันมาอภิปราย ซึ่งในหัวข้อต้องมีการบอกการวางแผนของการทำรายงาน การเก็บข้อมูล และบทบาทหน้าที่แต่ละคนที่ได้รับมอบหมาย
4.2.2 สอดแทรกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย การปรับตัวต่อสังคม และความรับผิดชอบต่องานที่ทำ
4.2.3 มีการยกตัวอย่างแล้วให้นักศึกษาได้คิดและเสนอแนวทางในการแก้ไข
4.3.1 ประเมินคะแนนจากการอภิปรายของแต่ละบุคคล
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญญลักษณ์
5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 ให้ศึกษางานที่มีการใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์และแปลความหมายโดยใช้โปรแกรมประยุกต์ที่เกี่ยวข้อง และให้ส่งรายงานโดยทั้งในรูปแบบดิจิตอลไฟล์และรูปแบบเอกสาร
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 ให้นักศึกษาใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูลและการคำนวณ
ประเมินจากการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดเก็บและคำนวณผลจากข้อมูลสนาม
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 สรุปเนื้องานที่ต้องลงปฏิบัติในสนามและกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ
6.2.2 ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและหน้าที่ความรับผิดชอบกันเอง
6.3.1 ประเมินจากระยะเวลาแล้วเสร็จของแต่ละงานที่ลงปฏิบัติ
6.3.2 ประเมินจากนำเสนอผลการดำเนินงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หมวด 4 (2.1-2.5) สอบกลางภาค บทที่ 1-4 สอบปลายภาค บทที่ 5-9 และแนวข้อสอบ ของสภาวิศวกร 8 17 20% 20%
2 หมวด 4 (3.1-3.5, 4.1,5.1, 6.1,6.2) รายงาน/โครงงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย การตอบข้อซักถาม 1,9,13,16 10%
3 หมวด 4 (1.2) การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน อภิปรายและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 หมวด 4 ฝึกภาคสนามเป็นเวลา 80 ชั่วโมง 18-19 40%
Hickerson , T .F., Route Location and Design , McGraw – Hill , New York , 1964. Barry F. Kavanagn., S. J. Glenn Bird., Surveying Principles and Applications, Pearson Education, 1996 ชูเกียรติ วิเชียรเจริญ และสัญญา เสาวภาพ, งานรังวัดบนพื้นระนาบ: งานระดับ, ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2539 วิชัย เยี่ยงวีรชน, การสำรวจทางวิศวกรรม1, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2555 ปราณี สุนทรศิริ, การรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ, 2543
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านสื่อต่างๆ ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอนและผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.3 นักศึกษามีการหาคำตอบ ที่ได้จากกิจกรรมนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ