ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์

English for Tourist Guide

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์โดยเน้นการศึกษาด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อใช้ในบรรยายแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจหลักภาษาอังกฤษและทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน (ฟัง พูด อ่าน เขียน) อยู่ในระดับดี 
2. เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการสนทนาภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ เพื่อใช้บรรยายสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้ 
3. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงวัฒนธรรมการใช้ภาษาอังกฤษอันหลากหลายและมีความมั่นใจในการที่จะนำภาษาอังกฤษไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของม้คคุเทศก์
ศึกษาคำศัพท์ สำนวน รูปแบบภาษา ฝึกปฏิบัติใช้ภาษาอังกฤษสำหรับงานมัคคุเทศก์ในการจัดนำเที่ยว การบรรยาย นำชม และการใช้รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว การให้ข้อแนะนำและข้อห้าม การเจรจาต่อรอง การประสานงานติดต่อ และการรับเรื่องร้องทุกข์ และฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาอังกฤษ
- อาจารย์ประจำรายวิชา  กำหนดเวลาในการให้คำปรึกษา
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการ ปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
สอนคุณธรรม จริยธรรมสอดแทรกในบทเรียนวิชาเฉพาะ สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกันแก้ไข
สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียนร่วมกันและกับผู้สอนทุกคน ทำงานเป็นกลุ่ม และรายงานผลงานแก้ไข
- มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก
- มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม-ตอบ 
- มอบหัวข้อเรื่องให้ค้นคว้าและทำรายงานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม ทำรายงานเปรียบเทียบความรู้จากห้องเรียนกับการทำงานจริง ภาคปฏิบัติ 
- อภิปรายเป็นกลุ่ม โดยให้ผู้สอนตั้งคำถามตามระบบการสอนยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 
- การศึกษานอกสถานที่และทำรายงาน  
ทดสอบทฤษฎีและปฏิบัติ โดยการสอบย่อย และให้คะแนน ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายและรายงาน
- มีความสามารถประมวล และศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ข้อโต้แย้ง และสังเคราะห์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ และตามขั้นตอนเชิงวิทยาศาสตร์ รวมทั้งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก 
- สามารถสาธิต ทักษะในการแก้ปัญหาที่ใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- การอภิปรายเป็นกลุ่ม
- การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้าหรืองานเกี่ยวกับการพัฒนาเป็นทีม
- การบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประกอบการในสายอาชีพ 
- ประเมินผลจากผลงานที่มอบหมายให้ทำ
- การสอบข้อเขียน 
- การเขียนรายงาน
- มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม
- สามารถพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง และตรง ตามมาตรฐานสากล
- บรรจุเนื้อหาความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรายวิชาชีพ 
- มอบหมายงานเป็นกลุ่มย่อย และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยหมุนเวียนกันในกลุ่ม 
- สอนโดยใช้กรณีศึกษา
- ประเมินจากผลงานของกลุ่มและผลงานของผู้เรียนในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้ทำงาน 
- ประเมินตนเอง และประเมินซึ่งกันและกัน (peer) 
- สังเกตพฤติกรรมในการเรียนแก้ไข
- สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนอย่างมี ประสิทธิภาพ 
- สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม 
- สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร รู้จักเลือกรูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่อง และผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ทดสอบระดับความสามารถทางภาษาในการติดต่อกับคนไทยและต่างชาติโดยการสอบปฏิบัติ 
- ฝึกให้นำเสนอผลงานที่ค้นคว้าด้วยตนเองในห้องเรียน 
- บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟต์แวร์หรือสื่อต่าง ๆ ในทุกรายวิชาที่ สามารถทำได้แก้ไข
- ประเมินผลโดยการสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ 
- ประเมินผลจากการนำเสนอผลงาน
- มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานขั้นพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว และการบริการ
- มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานตามตำแหน่งงานของบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการ
- มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการที่มีมาตรฐานและเป็นสากล
- ทดสอบทักษะทางวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการโดยการสอบปฏิบัติ
- จัดสอบตามสมรรถนะวิชาชีพทั้งภายในและศูนย์ทดสอบภายนอก
- ทดสอบทางด้านภาษาต่างประเทศเพื่อการทำงานที่มีมาตรฐานสากล
- ประเมินผลจากความถูกต้องตามมาตรฐาน
- ประเมินผลจากการสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ
- ประเมินผลจากผลสอบภาษาต่างประเทศที่มีมาตรฐาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.2,3.2 สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 8 ร้อยละ 20
2 2.1,2.2,3.2 การทดสอบย่อยบรรยายข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวภาษาอังกฤษรายบุคคล สัปดาห์ที่ 17 ร้อยละ 20
3 4.1, 5.2, 6.1 การศึกษาค้นคว้าและการนำเสนอ (presentation) การเข้าร่วมกิจกรรมและการฝึกปฏิบัติ (class participation) การทำงานกลุ่ม (group work ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 20
4 4.1, 5.2, 6.1 จัดทำโครงงานบูรณาการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวขุมชน (Term Project Presentation) สัปดาห์ที่ 15 ร้อยละ 20
5 4.1, 5.2, 6.1 งานที่มอบหมายรายบุคคล ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
6 1.2, 4.1 จิตพิสัย (class attendance) การมีความส่วนร่วมในชั้นเรียน ประเมินตนเอง และประเมินซึ่งกันและกัน (peer) สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียนร่วมกันและกับผู้สอนทุกคน ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
Lertporn Parasakul. English for Tourist Guide. Chulalongkorn University Press (2016)
Bantao Pernkasetwit. English for Tourism I. Tripple Education (2015)
Parichart Kluensuwan. English for Tourism and Hotel. Tripple Education (2013)
Unchalee Sermsongswad. English for Tour Guide. English Language Development Center (2006)
Wannaporn Wanichanugorn. English for Tourism II. Chulalongkorn University Press (2012)
- นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง  
- การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ
- ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
2.2 สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
2.3 ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจเนื้อหา
2.4 ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
3.1   ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
3.2   สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียนและปรับปรุงแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
3.3   สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งเพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อๆ ไป
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและรายงานโดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้าหรือไม่มี จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้นหรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
การวางแผนการปรับปรุงการสอนและเนื้อหาวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
5.2   มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ๆ และตามความน่าสนใจ
5.3   ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลายและสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียนหรือตามที่ได้ศึกษาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
5.4  ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาและของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี