นิเวศวิทยาทางน้ำ

Aquatic Ecology

รู้ความเป็นมาของการศึกษานิเวศวิทยาในแหล่งน้ำ เข้าใจระบบห่วงโซ่อาหาร สายใยอาหาร ในระบบนิเวศวิทยาของแหล่งน้ำ ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย และทะเล เข้าใจกำลังผลิตและปัจจัยที่มีต่อกำลังผลิตในแหล่งน้ำ เข้าใจมลภาวะในแหล่งน้ำและแนวทางการควบคุมสมดุลของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศของแหล่งน้ำ เห็นความสำคัญของการศึกษานิเวศวิทยาทางน้ำ
มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเพื่อให้ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ไปเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปทางด้านนิเวศวิทยาในแหล่งน้ำ ห่วงโซ่และสายใยอาหารในแหล่งน้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อยและทะเล กำลังผลิตของระบบนิเวศในแหล่งน้ำ ระบบนิเวศในแหล่งน้ำ มลภาวะในแหล่งน้ำและแนวทางการควบคุมสมดุลของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศวิทยา
วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. สาขาวิชาประมง e-mail: k_chanin@hotmail.com ทุกวัน
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมสาธารณะ 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการ หรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย โดย - จะสอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะสอนเนื้อหา - กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติให้นักศึกษาต้องถือปฏิบัติในการเรียนรายวิชานี้ เช่น การตรงเวลา การมีวินัยในห้องเรียน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย - นักศึกษาต้องไม่ทุจริตในการสอบหรือการลอกการบ้านหรืองานของผู้อื่น - การนำข้อความจากแหล่งความรู้ต่างๆ มาทำรายงานนั้น ต้องมีการอ้างอิงเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของความคิด - นักศึกษาต้องรู้จักแบ่งปันความรู้กับเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน
- นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา - นักศึกษา ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่อาจารย์กำหนด - ไม่มีการทุจริตในการสอบ หรือไม่มีการลอกรายงานหรือลอกการบ้าน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎี และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion) โดย - บรรยายประกอบการอภิปรายในหลักการและทฤษฎี พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ - มอบหมายให้อ่านบทความวารสารทางวิชาการ พร้อมทั้งเขียนรายงานสรุปในเรื่องที่อ่าน และส่งเป็นการบ้าน
- ทดสอบความเข้าใจโดยจะมีการสอบย่อย รวมทั้งวัดความรู้โดยการสอบกลางภาคเรียนและการสอบปลายภาคเรียน - ประเมินจากการอภิปรายในชั้นเรียน และรายงานที่นำส่ง
3.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving) โดย -ในการสอนจะเสริมสร้างการใช้ทักษะเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและสามารถเชื่อมโยงกับหลักการหรือทฤษฎีอันเป็นแนวทางสู่การแก้ปัญหาต่างๆ -โดยการใช้สื่อเป็นวีดีทัศน์และ มอบหมายโจทย์ปัญหาให้นักศึกษาได้ฝึกหาข้อมูล วิเคราะห์และเข้าใจวิธีแก้ปัญหาโดยอิงบนหลักการและ/หรือทฤษฎีอย่างถูกต้อง
- โดยการทดสอบจากข้อสอบที่เป็นข้อสอบซึ่งต้องให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ตลอดจนนำหลักการและทฤษฎีไปอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม - ประเมินจากการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน
4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
การสอนโดยใช้เทคนิคการระดมพลังสมอง (Brainstorming) โดย - มอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม แล้วนำเสนอในชั้นเรียน และต้องแนะนำให้นักศึกษาเข้าใจใน การทำงานร่วมกัน - ให้นักศึกษาทำงานร่วมกันเพื่อเกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำรายงาน และนำเสนองาน
- ประเมินจากกระบวนการทำงาน การจัดระบบการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน - ประเมินจากความเข้าใจในกระบวนการทำงานและการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสมในการออกปฏิบัติภาคสนาม
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) โดย - กำหนดให้นักศึกษาอ่านตำรา และบทความทางวิชาการ การจัดทำรายงานให้ใช้หนังสืออ้างอิงหรือฐานข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ - ให้ค้นคว้าในการจัดทำรายงานผ่านฐานข้อมูลหรือวารสารวิชาการ - ในการนำเสนอรายงานให้นำเสนอผ่านระบบสารสนเทศ (power point)
- ประเมินจากรายงาน หรืองานที่มอบหมาย ว่ามีการใช้วารสาร หนังสือ หรือฐานข้อมูลเชิงวิชาการ - ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
6.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม 6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย
การสอนแบบปฏิบัติ โดย - กำหนดให้นักศึกษาฝึกทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เกี่ยวกับนิเวศวิทยาทางน้ำการสอนแบบปฏิบัติ โดย - กำหนดให้นักศึกษาฝึกทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย
- ประเมินจากโครงการกลุ่มในการวางแผนการดำเนินงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-15 10%
2 4.1, 4.2, 4.3, 4.4, 6.1, การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 5%
3 3.1, 3.2, การทดสอบย่อย 3 ครั้ง 4,6,10 15%
4 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2 การสอบกลางภาค 8 25%
5 5.1, 5.2, 5.3 การนำเสนองาน/การรายงาน 14 20%
6 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2 การสอบปลายภาค 16 25 %
- ธีระ เล็กชลยุทธ.2535. นิเวศวิทยาแหล่งน้ำ.เอกสารเรียบเรียง.คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพฯ.105 น. - ประมาณ พรหมสุทธิรักษ์.2531.เอกสารคำสอนวิชาชลธีวิทยา.คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพฯ.190 น. - R.S.K. Barnes and K.H. Mann.1991.Fundamental of Aquatic Ecology.The University Press, Cambridge.270 pp. - Michael Jeffries and Derek Mills.1990. Freshwater Ecology.London. 253 pp. - Kent W.Thornton,Bruce L,Kimmel Forrest,E. Payne.1991.Reservoir Limnology: Ecological perspectives. U.S.A. 283 pp.
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน 1.3 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1การทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้ 2.2 ผลการสอบ
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 ปรับปรุงการสอนตามผลการประเมินผู้สอนเป็นรายวิชา
ระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวัง จากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา การตรวจผลงานของนักศึกษา พิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา ดังนี้ 4.1การทวนสอบการให้คะแนนจาการตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ
ระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวัง จากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา การตรวจผลงานของนักศึกษา พิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา ดังนี้ 4.1การทวนสอบการให้คะแนนจาการตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการ ปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี