ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

Management Information System

1. เข้าใจความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานและการควบคุม
2. เข้าใจกระบวนการของระบบสารสนเทศ
3. พิจารณาเลือกใช้สารสนเทศที่เหมาะสมกับองค์กร
4. เห็นคุณค่าของระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กร
 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถอธิบายรูปแบบการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในองค์กรธุรกิจและสามารถเข้าใจถึงระบบการพัฒนาระบบสารสนเทศทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์
แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี โครงสร้างของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสารสนเทศเพื่อการแข่งขัน และตอบสนองต่อองค์กร ระบบข่าวสารและทฤษฎีในการตัดสินใจ การพัฒนาและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศในธุรกิจ แหล่งสารสนเทศ การเลือกใช้ และแนวโน้มในอนาคตของระบบสารสนเทศ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม
1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยาย ทบทวนหัวข้อเนื้อหาที่กำหนดและสัมพันธ์
1.2.2 อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาในแต่ละบทเรียนพร้อม ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่สอดคล้องกับคุณธรรม จริยธรรมในการนำมาใช้ในบทเรียนแต่ละหัวข้อ
1.2.3 นักศึกษาร่วมกันซักถามประเด็นที่เป็นข้อสงสัย
 
1.3.1 พิจารณาจากพฤติกรรมมาเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการนำเสนอกรณีศึกษาที่มอบหมาย
1.3.4 วิเคราะห์รายงานกลุ่ม
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
2.1.3 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด
2.1.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนากรคอมพิวเตอร์
2.1.5 รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
2.1.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ 
2.1.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและหรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
2.1.8 สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 อธิบายบทเรียนและเนื้อหา พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
2.2.2 นักศึกษาช่วยกันวิเคราะห์และอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ตามหัวข้อที่กำหนด
2.2.3 นักศึกษาร่วมกันซักถามประเด็นที่สงสัย
2.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียนและส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2.3.2 แบบให้คะแนนการนำเสนอผลงานกลุ่มและงานเดี่ยว
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 มอบหมายให้ทำรายงานกลุ่มและนำเสนอผลงาน
3.2.2 วิเคราะห์รายงานกลุ่มเพื่อนนักศึกษาและอภิปรายกลุ่มร่วมกัน
3.3.1 การให้คะแนนรายงานกลุ่ม โดยเน้นกิจกรรมที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์
3.3.2 พฤติกรรมในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4.1.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
4.1.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอยา่งพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
4.1.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
 
4.2.1 จัดกลุ่มอภิปรายกรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานเป็นงานกลุ่มและรายบุคคลเพื่อให้มีการทำงานร่วมกัน
4.2.3 การนำเสนอรายงานกลุ่มพร้อมทั้งอภิปรายงานกลุ่มเพื่อนนักศึกษากลุ่มอื่น
4.3.1 รายงานที่นักศึกษานำเสนอ
4.3.2 พฤติกรรมในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
 
5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.1.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
5.1.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานและทำรายงานโดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มาเชื่อถือได้
5.2.2 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเว็บไซต์สื่อการสอนและการทำรายงาน
5.2.3 นำเสนอโครงงานที่พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
 
5.3.1 การมีส่วนร่วมในการอภิปรายหลังจากฟังเพื่อนนำเสนอเสร็จแล้ว
5.3.2 ประเมินจากการรายงานที่นักศึกษาทำส่งและการนำเสนอผลงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 3.1 3.2 3.3 3.4 5.1 5.2 5.4 สอบเก็บคะแนนกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 30% 30%
2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 5.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้าและนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1 1.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ณัฐฐพันธ์  เขจรนันท์, ไพบูลย์  เกียรติโกมล. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2540.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารณี  พิมพ์ช่างทอง. ระบบสารสนเทศภายในองค์กร. บริษัททริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น จำกัด. 2552.
นคเรศ ณ พัทลุง. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
รุจินันท์ พิริยะสงวนพงศ์. (2549). สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
จิดาภัส สัมพันธ์สมโภช, ชัยยงค์  อู่ประสิทธิ์วงศ์. ระบบข่าวสารเพื่อการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วังอักษร. 2549.
ชุมพล ศฤงคารศิริ. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : สัมพันธ์พาณิชย์, 2539.
http://info.arit.dusit.ac.th/newiknowledge/
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- ข้อเสนอแนะผ่านทางอินเตอร์เน็ตและช่องทางอื่นที่อาจารย์ผู้สอนจัดไว้
- ผลการสอบของนักศึกษา
- การทดสอบเก็บคะแนนเพื่อประเมินการเรียนรู้
- การสังเกตจากการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
- การวิจัยในชั้นเรียน
 
ได้จากการสอบถามนักศึกษาและสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมทั้งการทดสอบย่อยและหลังการรายงานผลการศึกษาในรายวิชา การทวนสอบและการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมินและทวนสอบผลการเรียนรายวิชาได้มีการวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะ
2. สลับปรับเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์ท่านอื่น