ทักษะวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 2

Practical Skills in Food Science and Technology 2

เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการฝึกปฏิบัติการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรการใช้เครื่องมืออุปกรณ์และการบำรุงรักษา เครื่องมือในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์หมักดอง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเบื้องต้น
เพื่อประยุกต์ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ให้มีความสอดคล้องกับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนความก้าวหน้าต่างๆ ในวงการอุตสาหกรรมอาหารที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ฝึกปฏิบัติการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรการใช้เครื่องมืออุปกรณ์และการบำรุงรักษา เครื่องมือในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์หมักดอง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเบื้องต้น
- อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาตามตารางผู้สอน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
 1.1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
 1.1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
 1.1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
 1.1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยโดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยนักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่มมีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่นเป็นต้น สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมเสียสละ
1.3.1ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนการส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 1.3.2ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ

1.3.3พฤติกรรมระหว่างการทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย โดยผู้สอนอาจซักถามประเด็นด้านจริยธรรม
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2  มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
2.1.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงโดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชา จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน 
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆคือ

การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
3.1.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
มอบหมายงานกลุ่มเพื่อศึกษากรณีศึกษาพร้อมอภิปราย การอภิปรายกลุ่มจากผลการปฏิบัติ ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
4.1.1มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม 4.1.2สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่มการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตรหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการการตอบข้อซักถามของอาจารย์และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
-ไม่มี-
-ไม่มี-
-ไม่มี-
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
จัดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้ใช้เครื่อง อุปกรณ์และวิธีการให้ได้มาซึ่งขบวนการแก้ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารอย่างเหมาะสม
ประเมินจากความประสบความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนด และการใช้อุปกรณ์เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 4 1 2 1
1 BSCFT102 ทักษะวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 1.4 การเข้าชั้นเรียนและจิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1, 2.2, 2.3, 2.4 การสอบกลางภาค, การสอบปลายภาค 9, 17 10%
3 3.4 ผลการปฏิบัติงานตามมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 5%
4 4.1, 4.2 ผลการปฏิบัติงานตามมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 5%
5 6.1 ผลการปฏิบัติงานตามมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 70%
คณาจารย์ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์. 2549. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเกษตร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
จุฑามาศ ถิระสาโรช. 2552. ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์. สาขาอุตสาหกรรมเกษตร, คณะวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านา, พิษณุโลก.
ไพบูลย์ ธรรมรัตน์วาสิก. 2535. กรรมวิธีการแปรรูปอาหาร. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพฯ.
รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต. 2535. วิศวกรรมแปรรูปอาหาร : การถนอมอาหาร. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพฯ.
วิชัย หฤทัยธนาสันติ์. 2523. หลักการถนอมและแปรรูปผักและผลไม้. ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
สมบัติ ขอทวีวัฒนา. 2529. กรรมวิธีการอบแห้ง. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
สมบัติ ขอทวีวัฒนา. 2546. เทคโนโลยีน้ำตาล. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
วารสารอาหาร, Journal of Food Science, Journal of Food Technology, Journal of Meat Science
เวปไซด์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
          2.2  ผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
          2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 การจัดสัมมนาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับเครื่องมือในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ผักและผลไม้ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ธัญพืช ในชั้นเรียน
3.2 การแทรกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทเรียน
3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.4 การศึกษาดูงานนอกสถานตามโอกาส
ระหว่างการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาโดยอาจใช้วิธีการได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยอาจใช้วิธี ต่างๆ เช่น การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา ตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 จากผู้ทรงคุณวุฒิและนักศึกษา
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ