วิทยาศาสตร์กับชีวิต

Science and Life

1.1 เพื่อให้ทราบและเข้าใจการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.2 เพื่อให้ทราบและเข้าใจการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
1.3 เพื่อให้ทราบและเข้าใจรู้เกี่ยวกับรังสีจากดวงอาทิตย์และสารกัมมันตรังสี
1.4 เพื่อให้ทราบและเข้าใจหลักการทำงาน ดูแล รักษาเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน
1.5 เพื่อให้ทราบและเข้าใจผลกระทบของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อมนุษย์ สภาพแวดล้อม สังคม การเมือง และวัฒนธรรม
1.6 มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์
- เพื่อปรับกระบวนการรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณสมบัติบัณฑิตนักปฏิบัติอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้ ความเข้าใจ ในรายวิชานี้ ไปเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเนื้อหา ตัวอย่างอ้างอิงเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน และผลกระทบของสารเคมีต่อสิ่งแวดล้อม รังสีจากดวงอาทิตย์และสารกัมมันตรังสี เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ผลกระทบของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อ มนุษย์ สภาพแวดล้อม สังคม การเมือง และวัฒนธรรม
1ชั่วโมงต่อสัปดาห์
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1. ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ
2. ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ
3. อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา การเคารพและให้เกียรติแก่อาจารย์อาวุโส เป็นต้น
การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
1. ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนแบบ e-Learning เป็นต้น
- การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
- งานที่ได้มอบหมาย
มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1. การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL)
2. ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
3. มอบหมายงานกลุ่มจัดทำระบบในการทำงาน
- บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
- การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ
สามารถทำงานเป็นทีมและสามรถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
1. มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
2.กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
สามารถคำนวณ สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
1. ใช้ PowerPoint ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ ประกอบการสอนในชั้นเรียน
2. การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
3. การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
4. การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารเชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 5 1 2 3
1 22000007 วิทยาศาสตร์กับชีวิต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม - มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม กำหนดคะแนนเชิงพฤติกรรมในส่วนการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ด้านความรู้ - มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา - การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน - ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาได้จัดทำ - ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 ด้านทักษะทางปัญญา - มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ - บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง - การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - สามารถทำงานเป็นทีมและสามรถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - สามารถคำนวณ สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารคำสอนรายวิชา 22000007 วิทยาศาสตร์กับชีวิต (Science and Life) สาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1. แบบประเมินผู้สอน
2. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน โดยมีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 ติดตามงานที่มอบหมาย
2.3 การขอรับคำปรึกษาและสังเกตการณ์ของผู้สอน
3.1 ปรับปรุงการเรียนการสอน จากผลการประเมินของนักศึกษา
3.2 การจัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน
3.3 รวบรวมปัญหาการเรียนของนักศึกษาและแนวทางแก้ไข โดยทำการสำรวจเบื้องต้นจากผลการ
4.1 มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง
4.2 ให้นักศึกษามีโอกาสตรวจสอบคะแนนก่อนส่งเกรด
4.3 การพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาเดียวกันของแต่ละกลุ่มกับผลการประเมินพฤติกรรม
5.1 นำผลที่ได้จากการประเมินของนักศึกษา คะแนนสอบ นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองพัฒนาความคิดที่หลากหลาย