การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก

Retail Business Entrepreneurship

มีความรู้ความเข้าใจ แนวคิดเกี่ยวกับผู้ประกอบการ ทัศนคติ และแรงจูงใจของผู้ประกอบการ คุณลักษณะและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของผู้ประกอบการ คุณธรรมจริยธรรมของผู้ประกอบการ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การแสวงหาและประเมินโอกาสทางธุรกิจ การวิจัยทางการตลาด ขั้นตอนการเริ่มต้นธุรกิจและปัญหาของการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ การจัดการแผนธุรกิจและประเมินความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ
เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก จนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอาชีพค้าปลีกสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี
แนวคิดเกี่ยวกับผู้ประกอบการ ทัศนคติ และแรงจูงใจของผู้ประกอบการ คุณลักษณะและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของผู้ประกอบการ คุณธรรมจริยธรรมของผู้ประกอบการ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การแสวงหาและประเมินโอกาสทางธุรกิจ การวิจัยทางการตลาด ขั้นตอนการเริ่มต้นธุรกิจและปัญหาของการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ การจัดการแผนธุรกิจและประเมินความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ
Concept of entrepreneurship, attitude and motivation entrepreneurship, Characteristic and factors affecting success, strength, weakness, opportunities and threat analyzing, moral and ethics of entrepreneurship, creative development, seek and evaluation for business opportunities, marketing research, business beginning and problem and business plan and feasibility.
- อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านการประชาสัมพันธ์ในห้องเรียน และผ่านไลน์กลุ่มและเฟสบุ๊กกลุ่มที่อาจารย์ประจำวิชาได้สร้างขึ้น
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
- ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
 
- การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
- ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
-  จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
-  ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
-  ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
- ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
-  จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ     การเรียนการสอนกับการทำงาน
-  การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
-  จัดให้ในรายวิชา มีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด   การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
-  ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
-  จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ได้
ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
- จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
- จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทักษะทางปัญญา สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 25% 25%
2 -ความรู้ -ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ -ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี รายงานกลุ่มการเป็นผู้ประกอบการร้านค้าปลีก และงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 คุณธรรม จริยธรรม สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน: การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ธนศักดิ์ ตันตินาคม. 2563. สำเนาเอกสารประกอบการสอนวิชาการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก.
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. 2560. การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างธุรกิจใหม่. ซีเอ็ดยูเคชั่นม กรุงเทพฯ.
ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ และคณะ. 2561. นานาสาระการค้าปลีก All Abou5 Retail. บริษัท อรรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)ม กรุงเทพฯ.
 
- ผลการสอน
- ผลการสอบ
- การทวนสอบผลประเมินผลการเรียนรู้
- การฝึกทักษะเพื่อดูพฤติกรรมของผู้เรียน
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- การจัดทำวิจัยในและนอกชั้นเรียน
- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  
- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
- ปรับปรุงรายวิชาทุกปีการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอน
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้ กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์