การออกแบบวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร

Agricultural Engineering Machinery Design

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักเกณฑ์ทั่วไปในการออกแบบเครื่องจักรกลและชิ้นส่วน การคำนวณความแข็งแรงของวัสดุและทฤษฎีความเสียหาย คุณสมบัติของวัสดุในงานวิศวกรรม และการเลือกใช้งานข้อต่อเพลา เบรก คลัตซ์คลับปิ้ง สปริง ระบบส่งกำลังด้วยสายพานโซ่ เฟืองและสกรู
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ขั้นพื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการออกแบบวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน
หลักเกณฑ์ทั่วไปในการออกแบบเครื่องจักรกลและชิ้นส่วน  การคำนวณความแข็งแรงของวัสดุและทฤษฎีความเสียหาย คุณสมบัติของวัสดุในงานวิศวกรรม และการเลือกใช้งานข้อต่อเพลา เบรก คลัตซ์คลับปิ้ง สปริง ระบบส่งกำลังด้วยสายพานโซ่ เฟืองและสกรู
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 4 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 4 ข้อตามที่ระบุไว้ด้วย ดังนี้
1.1.1  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2  มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3  มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4  เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม และเสียสละ เป็นต้น
ปริมาณการทุจริตในการสอบ
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ทั่วไปในการออกแบบเครื่องจักรกลและชิ้นส่วน  การคำนวณความแข็งแรงของวัสดุและทฤษฎีความเสียหาย คุณสมบัติของวัสดุในงานวิศวกรรม และการเลือกใช้งานข้อต่อเพลา เบรก คลัตซ์คลับปิ้ง สปริง ระบบส่งกำลังด้วยสายพานโซ่ เฟืองและสกรู ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชา   ที่ศึกษา
2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่องตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่างๆ คือ
2.3.1  การทดสอบย่อย
2.3.2  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4  ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาแล้ว ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาเครื่องจักรกลเกษตร ในขณะที่สอนนักศึกษา อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
2.3.1.1  มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2.3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
3.2.1  กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้เครื่องจักรกลเกษตรในชีวิตประจำวัน
3.2.2  การอภิปรายกลุ่ม
3.2.3  ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ เป็นต้น
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ไม่รู้จักมาก่อน บุคคลที่มาจากสถาบันอื่นๆ และบุคคลที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างที่สอนวิชา หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้
4.1.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยามสังคมที่ดี
4.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม อาจจัดกิจกรรมในลักษณะของโครงงานก็ได้
ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้อง
นักศึกษามีความสามารถปฏิบัติงานทางวิชาชีพและพัฒนาตนเองได้
โดยนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆจากทักษะการปฏิบัติ ดังนี้
6.1.1  สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
6.1.2  สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
6.1.3  สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ทักษะการปฏิบัติในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
           การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และทักษะการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้

จากประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติ  ความถูกต้อง การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และความสามารถในการตัดสินใจ จากคุณภาพของผลงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1,3.1.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 47.5% 12.5%
2 2.1.2, 3.1.1 4.1.1, 4.1.3 ,5.1.3 การทำรายงาน mini project 7,8,9,15,16 20%
3 1.1.1,1.1.3, 2.1.3 การทำงานกลุ่ม การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
- ภาณุฤทธิ์ ยุกตะทัต. 2547. การออกแบบเครื่องจักรกล. กรุงเทพ. 524 น.
- ศุภชัย ตระกูลทรัพย์ทวี. 2547. การออกแบบเครื่องกลและชิ้นส่วนเครื่องจักร 1. กรุงเทพ. 332 น.
- เสมอขวัญ ตันติกุล. 2550. เครื่องทุ่นแรงในฟาร์ม 1. กรุงเทพ. 235 น.
- S.A.M.S. Kibria. (1991). Agricultural Machinery Design and Data Handbook (Seeders and Planter). Bangkok.
- รุ่งเรือง กาลศิริศิลป์. 2545. เครื่องจักรกลเกษตร 2. กรุงเทพ. 227 น.
- http://203.158.253.5/wbi/Engineer
- http://www.kmitl.ac.th/~kpmonsak/Mechanism.html
- http://mte.kmutt.ac.th/pichet/mte427.html