อุณหพลศาสตร์

Thermodynamics

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติทางอุณหพลศาสตร์ กฎข้อศูนย์ กฎข้อหนึ่ง และกฎข้อสองของอุณหพลศาสตร์ ก๊าซอุดมคติ งานและความร้อน พลังงานระบบปิดและระบบเปิดที่มีการไหลคงที่และสภาวะคงที่ ที่มีการไหลสมํ่าเสมอและสภาวะสมํ่าเสมอ กระบวนการต่างๆ ของอุณหพลศาสตร์ วัฏจักรคาร์โน เอนโทรปี พื้นฐานการถ่ายเทความร้อนและการเปลี่ยนรูปพลังงาน เครื่องยนต์ความร้อน เครื่องทำความเย็น ปั๊มความร้อน
ไม่มี
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางอุณหพลศาสตร์ กฎข้อศูนย์ กฎข้อหนึ่ง และกฎข้อสองของอุณหพลศาสตร์ ก๊าซอุดมคติ งานและความร้อน พลังงานระบบปิดและระบบเปิดที่มีการไหลคงที่และสภาวะคงที่ ที่มีการไหลสมํ่าเสมอและสภาวะสมํ่าเสมอ กระบวนการต่างๆ ของอุณหพลศาสตร์ วัฏจักรคาร์โน เอนโทรปี พื้นฐานการถ่ายเทความร้อนและการเปลี่ยนรูปพลังงาน เครื่องยนต์ความร้อน เครื่องทำความเย็น ปั๊มความร้อน
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.2 สามารถวิเคราะห์ และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.2.1 ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกาที่กำหนดหรือได้ตกลงกันไว้ มีการปลูกฝังความรับผิดชอบให้นักศึกษา ตั้งแต่การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การส่งงานตามกำหนดเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย การทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์ โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น 1.2.2 บรรยายพร้อมยกประเด็นตัวอย่างเกี่ยวกับจริยธรรม ความรับผิดชอบในการประกอบวิชาชีพ การนำเอาวิชาชีพไปใช้อย่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช่วิชาชีพในการแสวงหา ผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง โดยไม่คำนึงถึงสังคมและผู้ประกอบการที่อาจจะ ได้รับความเสียหายได้
1.3.1 ประเมินจาการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน 1.3.2 ประเมิณจากการส่งงานตามกําหนด ระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม การมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญในเนื้อหาของวิชาเทอร์โมไดนามิกส์ สามารถใช้ความรู้และทักษะในวิชาเทอร์โมไดนามิส์ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ 2.1.2 สามารถนำความรู้ที่เรียนจากวิชาเทอร์โมไดนามิกส์ ไปใช้ในออกแบบระบบรวมถึงสามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในงานจริงได้
2.2.1 เน้นหลักการทางทฤษฏีของเทอร์โมไดนามิกส์ และยกตัวอย่างประกอบเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้งานจริงในเชิงวิศวกรรม 2.2.2 เน้นการแก้โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานทางวิศวกรรมด้านโดยใช้พื้นฐานของเทอร์โมไดนามิกส์ในการแก้ปัญหา
2.3.1 มีการทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค และประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
3.1.1 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.2 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านเทอร์โมไดนามิกส์ ได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.3 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่
3.2.1 ใช้หลักการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และรายงานทางเอกสารรวมถึงรายงานหน้าชั้นเรียนโดยมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโดยใช้พื้นฐานด้านเทอร์โมไดนามิกส์ มาประยุกต์
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ เป็นต้น
4.1.1 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและสอดคล้องกับวิชาชีพ 4.1.2 รู้จักบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายทั้งงานบุคคล และงานกลุ่ม
4.2.1 มอบหมายงานและค้นคว้ารายกลุ่มและรายบุคคล 4.2.2 ให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.2.3 มอบหมายโจทย์ปัญหาของบทเรียน
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำมาเสนอทั้งรายบุคคลและกลุ่ม 4.3.2 ประเมินจากการอภิปรายแสดงความคิดเห็น 4.3.3 ประเมินจากความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อน
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 มอบหมายงานให้ค้นคว้ากรณีศึกษาจากเว็บไซต์ 5.2.2 นำเสนอกรณีศึกษาโดยใช้เทคโนโลยี
5.3.1 ประเมินจากการเสนอกรณีศึกษาจากการค้นคว้า 5.3.2 ประเมินจากรายงานข้อมูลที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1,1.1.2, 2.1.1,2.1.2, 3.1.1,3.1.2 3.1.1, 4.1.1, 4.1.2, 5.1.1, 5.1.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค การศึกษาค้นคว้า การทำงานกลุ่มและผลงาน การนำเสนอ การส่งงานตามที่มอบหมาย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 4 8 12 16 ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 5% 35% 5% 35% 10% 10%
Thermodynamics: An Engineering Approach 6th edition by Yunus A. Cengel, Michael A. Boles
1.1 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในห้องเรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บไซท์ราชาวิชา ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีสรุปและวางแผนการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ