คุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์

Quality of Aquatic Animals and Products

1. รู้วิธีการเก็บรักษาสัตว์น้ำสำหรับแปรรูปผลิตภัณฑ์
2.รู้การเสื่อมเสียคุณภาพของวัตถุดิบสัตว์น้ำก่อนการแปรรูป
3. เข้าใจถึงเทคโนโลยีการขนส่งสัตว์น้ำ การตรวจสอบคุณภาพของสัตว์น้ำ
4. เข้าใจถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
5. ทราบถึงกฎหมายและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
1. เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติให้มีความซื่อสัตย์ มีวินัย รับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม ในการปฏิบัติงานด้านการเกษตร รวมทั้งมีจิตสาธารณะ มีภาวะผู้นำ และทำงานเป็นทีมได้
2. เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติให้มีความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ มีทักษะและสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมทางการเกษตร มีความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถบูรณาการความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพของตนเอง ชุมชน และท้องถิ่น
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเบื้องต้นในการเตรียมและเก็บรักษาสัตว์น้ำสำหรับแปรรูปผลิตภัณฑ์ การเสื่อมเสียคุณภาพของวัตถุดิบสัตว์น้ำก่อนการแปรรูป เทคโนโลยีการขนส่งสัตว์น้ำ การตรวจสอบคุณภาพของสัตว์น้ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กฎหมายและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
The study and practice of general preparation and preservation of aquatic animals for processed fisheries products, deterioration of raw materials before processing, technology of aquatic animal transportation, aquatic animal quality control, product processing and laws and standards in aquatic animal products
- อาจารย์ประจำรายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการ) หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ข้อ 1.1.2 และ 1.1.4 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 1.1.1 และ 1.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
1.2.1 สอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะสอนเนื้อหา
1.2.2 กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติให้นักศึกษาต้องถือปฏิบัติในการเรียนรายวิชานี้ เช่น การตรงเวลา การมีวินัยในห้องเรียน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
1.2.3 นักศึกษาต้องไม่ทุจริตในการสอบหรือการลอกการบ้านหรืองานของผู้อื่น
1.2.4 การนำข้อความจากแหล่งความรู้ต่างๆ มาทำรายงานนั้น ต้องมีการอ้างอิงเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของความคิด
1.2.5 นักศึกษารู้จักแบ่งปันความรู้กับเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน
1.3.1 นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา
1.3.2 นักศึกษามีวินัยและมีความพร้อมเพียงในการร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.3 ไม่มีการทุจริตในการสอบ หรือไม่มีการลอกรายงานหรือลอกการบ้าน
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและการแสดงออกต่อส่วนรวม
1.3.5 ประเมินจากการไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
 
2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎี และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 2.1.1 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 2.1.2 และ 2.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
 
2.2.1 บรรยายประกอบการอภิปรายในหลักการและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ ประโยชน์และคุณค่าทางเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์ประมงในปัจจุบัน พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
2.2.2 มอบหมายให้อ่านวารสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการแปรรูปสัตว์น้ำ พร้อมทั้งเขียนรายงานสรุปในเรื่องที่อ่าน และส่งเป็นการบ้าน
2.3.1 ทดสอบความเข้าใจโดยจะมีการสอบย่อย รวมทั้งวัดความรู้โดยการสอบกลางภาคเรียนและการสอบปลายภาคเรียน
2.3.2 ประเมินจากการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน และรายงานที่นำส่ง
3.1 ผลการเรียนรู้ทางปัญญา
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ข้อ 3.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก
3.1.1 เป็นความรับผิดชอบรอง
3.2.1 มีการปฏิบัติจริง ควบคู่กับการบรรยายในการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ
3.2.2 อธิบายวิธีการปฏิบัติเป็นลำดับขั้นตอน แบ่งกลุ่มนักศึกษา แนะนำเทคนิคระหว่างการฝึกปฏิบัติ คอยกำชับนักศึกษาให้ติดตามการควบคุมบางขั้นตอนการผลิตที่สำคัญ และวิจารณ์คุณภาพผลิตภัณฑ์ร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
3.2.3 การอภิปรายกลุ่ม เช่น การถามตอบ มอบหมายงานให้มีการค้นคว้าความรู้ใหม่หรือ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปสัตว์น้ำที่ทันสมัย
3.3.1 ประเมินทักษะและการแก้ไขปัญหาระหว่างปฏิบัติ และพฤติกรรมการเข้าเรียน
3.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำส่งตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
4.1 ผลการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ข้อ 4.1.1, 4.1.2 และ 4.1.4 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 4.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
4.2.1 สอนโดยแบ่งกลุ่มนักศึกษาในภาคปฏิบัติ กำหนดหัวหน้ากลุ่มหมุนเวียนภายในกลุ่มทุกสัปดาห์ และอธิบายบทบาทหน้าที่ของผู้นำและผู้ตามภายในกลุ่ม
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ในภาคปฏิบัติการ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.12 สามารถสืบค้น วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 5.1.1, 5.1.2 และ 5.1.3 เป็นความรับผิดชอบหลัก
5.2.1 บรรยายวิธีการคำนวณส่วนผสมต่างๆ ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้อง
5.2.2 ให้ค้นคว้าในการจัดทำรายงานผ่านฐานข้อมูลหรือวารสารที่เป็นภาษาอังกฤษ
5.2.3 การนำเสนอรายงานผ่านระบบสารสนเทศ (power point)
5.3.1 ทดสอบการคำนวณ
5.3.2 การใช้ภาษาเขียนในรายงานที่นำส่ง
5.3.3 ทำงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา และคุณภาพของงานเป็นไปตามที่กำหนด
5.3.3 กำหนดหัวข้อการสืบค้นให้นักศึกษาได้สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และสามารถนำเสนอหน้าชั้นเรียนที่ง่ายต่อความเข้าใจ
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
ข้อ 6.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 6.1.1 เป็นความรับผิดชอบรอง
6.2.1 สาธิตและอธิบายให้นักศึกษาฝึกทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
6.2.2 อธิบายวิธีการปฏิบัติ และลำดับขั้นตอนการปฏิบัติอย่างละเอียด
6.3.1 ประเมินการปฏิบัติการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์จริงในภาคสนาม
6.3.2 การปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-7 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน, การอ่านและสรุปบทความ, การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20 เปอร์เซ็นต์
2 หน่วยที่ 1-7 การเข้าชั้นเรียน, การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 เปอร์เซ็นต์
1. นงลักษณ์ สุทธิวนิช. 2531. คุณภาพสัตว์น้ำ. ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
2. ประเสริฐ สายสิทธิ์. 2516. ผลิตภัณฑ์ประมงและหลักการถนอม. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
3. มัทนา แสงจินดาวงษ์. 2538. จุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ประมง. ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
4. มัทนา แสงจินดาวงษ์. 2545. ผลิตภัณฑ์ประมง. ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
5. อรวรรณ คงพันธุ์ รัศมีพร จิระเดชประไพ และวัชรี คงรัตน์. 2550. การแปรรูปสัตว์น้ำ. กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
6. Pigott, George M. and Tucker, Barbee W. 1990. Seafood : effects of technology on nutrition. New York : M. Dekke.
7. Ruiter, A. 1995. Fish and Fishery products : Composition, nutritive properties and stability. Oxon : CAB International.
ไม่มี
บทความเกี่ยวกับสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหหลังต่างๆ จากเว็บไซต์ต่างๆ และอื่นๆ ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์และ
ความเป็นปัจจุบัน
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4