คณิตศาสตร์พื้นฐานสำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

Mathematical Foundations for Computer Engineering

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิยุตคณิต พีชคณิตเชิงเส้น ความน่าจะเป็นและสถิติ รวมถึงการใช้ซอฟต์แวร์เชิงคณิตศาสตร์ และการประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในเชิงวิศวกรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจในกลไลของความน่าจะเป็นและสถิติในงานวิศวกรรม เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหัวข้อในวิยุตคณิต ได้แก่ ฟังก์ชัน ความสัมพันธ์ เซต พีชคณิตบูลีน ตรรกะลำดับที่หนึ่ง การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ การนับเบื้องต้น การวนซ้ำ และการเรียกซ้ำ หัวข้อในพีชคณิตเชิงเส้น ได้แก่ ฐาน ปริภูมิเวกเตอร์ การตั้งฉาก การเขียนระบบสมการเชิงเส้นในรูปแบบเมทริกซ์ เมทริกซ์ผกผัน การแปลงเชิงเส้น และการแก้ระบบสมการเชิงเส้นโดยใช้เมทริกซ์ และหัวข้อในเรื่องความน่าจะเป็นและสถิติ ได้แก่ ตัวแปรสุ่มวิยุต ตัวแปรสุ่มต่อเนื่อง ค่าคาดหมาย และกระบวนการสโตแคสติก รวมถึงการใช้ซอฟต์แวร์เชิงคณิตศาสตร์ และการประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในเชิงวิศวกรรม
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8,16 25%,25%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 แบบฝึกหัด การบ้าน การเขียนโปรแกรม R / Python ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
Douglas C. Montgomery, George C. Runger. 2011. Engineering Statistics, John Wiley & Sons  มานพ วงศ์สายสุวรรณ และคณะ. 2010. ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกรรมไฟฟ้า. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์