การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

International Business Management

1. รู้ความหมาย ความสำคัญ และหลักการของการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
2. มีความรู้ ความเข้าใจ ปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยเกื้อหนุน กระบวนการ และขั้นตอนของการจัดการองค์กรระหว่างประเทศ
3. มีความรู้ ความเข้าใจ กลยุทธ์การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ กระบวนการวางแผน การลงทุนในตลาดต่างประเทศ การจัดการองค์กรสมัยใหม่ เทคนิคการนำ และการควบคุมสำหรับธุรกิจระหว่างประเทศ
4. เข้าใจ และสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ระหว่างประเทศ ผลกระทบในรูปแบบต่าง ๆ ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม และความเป็นสากลในยุคปัจจุบัน
        เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ มีความรู้ ความเข้าใจในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตามการแข่งขันในระดับสากล มีความพร้อม และสามารถเตรียมตัวในยุคของการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้ ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้จากจุดมุ่งหมายรายวิชา คำอธิบายรายวิชา มาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การทำงาน และบูรณาการร่วมกับสาระการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
        ศึกษาพื้นฐานของการขยายตัวของธุรกิจระหว่างประเทศ ปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยเกื้อหนุนต่อการขยายตัวสู่ธุรกิจระหว่างประเทศ กระบวนการทางการจัดการที่เกิดขึ้น ในองค์การระหว่างประเทศ การลงทุนในต่างประเทศ กระบวนการวางแผน การจัดองค์การ การนำพาธุรกิจ และการควบคุมการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ศึกษา ผลกระทบในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม และศึกษากลยุทธ์ทางการจัดการสมัยใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการของบริษัทข้ามชาติในยุคปัจจุบัน
ให้คำปรึกษาและคำแนะนำทางวิชาการเป็นรายกลุ่ม และรายบุคคล 2 ช่องทาง
- ช่องทางที่ 1 ให้คำปรึกษาผ่านทางไลน์ ซึ่งกำหนดกลุ่มไลน์โดยผู้สอน
- ช่องทางที่ 2 ให้คำปรึกษา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ณ ห้องพักอาจารย์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา พิษณุโลก
1.1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเอง และผู้อื่น
1.1.2 มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
1.1.3 มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.4 มีภาวะความเป็นผู้นำ และผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถ แก้ไขข้อขัดแย้ง และลำดับความสำคัญได้
1.2.1 บรรยายในชั้นเรียน และสอดแทรกกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในรายวิชา เพื่อให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และตระหนักถึงการมีส่วนร่วม และการรับผิดชอบต่อสังคม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐาน คุณธรรม จริยธรรมอันดี
1.2.2 ปลูกฝังการมีวินัยต่อตนเอง มีน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชั้นเรียน มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม
1.3.1 สังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียน การร่วมทำกิจกรรมในชั้นเรียน การทำงานกลุ่ม การตรงต่อเวลา การแต่งกาย ความรับผิดชอบส่วนบุคคลที่ได้รับมอบหมาย ประเมินผลจากการสังเกต
1.3.2 การเคารพ และปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนา ความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบาย ความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา และการดำรงชีวิตประจำวัน
2.1.3 มีความรู้และความเข้าในในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุม และผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุง แผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.2.1 บรรยายเนื้อหา และประเด็นสำคัญตามคำอธิบายรายวิชา ประกอบการยกตัวอย่าง และยกกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องมาให้ศึกษาและวิเคราะห์ตามสถานการณ์
2.2.2 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายสลับสับเปลี่ยนกันไป โดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามลักษณะการเรียนรู้ของรายวิชา
2.2.3 มอบหมายงานในแต่ละหน่วยการเรียน โดยอิงตามเนื้อหาสาระรายวิชา และอิงตามสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งในลักษณะเดี่ยว และกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษามีทักษะการคิด วิเคราะห์ และสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้
2.2.4 ยกตัวอย่างความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง และการทำงานได้ในอนาคต
2.3.1 การสอบกลางภาค และปลายภาค
2.3.2 งานมอบหมาย การค้นคว้าระหว่างหน่วยเรียน และกิจกรรมกลุ่มย่อยในชั้นเรียน
2.3.3 การนำเสนองานทั้งในลักษณะเดี่ยว และกลุ่ม
2.3.4 การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ได้แก่ การตอบคำถาม ความสนใจ ใส่ใจ และการแสดงความคิดเห็น/อภิปราย ร่วมกันในชั้นเรียน
3.1.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่งเรียนรู้ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่าง เหมาะสมด้วยตนเอง
3.1.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
3.1.3 คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล
3.2.1 อธิบายหลักการ ยกตัวอย่างปัจจุบัน ศึกษากรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ การวางแผนอย่างสร้างสรรค์ เป็นระบบ
3.2.2 การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวอย่างเสรี การแชร์ไอเดีย และอภิปรายร่วมกันโดยใช้เหตุและผล
3.2.3 กิจกรรมส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ในชั้นเรียน
3.2.4 การศึกษาค้นคว้า เอกสาร รายงาน เพื่อประยุกต์ใช้ทฤษฎีที่ศึกษานอกเหนือจากการอธิบายเนื้อหาในชั้นเรียน
3.2.5 ส่งเสริมการตัดสินใจในการทำงาน โดยมอบหมายงานสลับหมุนเวียนกันไป ทั้งในลักษณะเดี่ยวและกลุ่ม
3.3.1 ความถูกต้อง ครบถ้วน ตรงประเด็น ของงานที่ได้รับมอบหมาย
3.3.2 ผลของงาน การปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย และที่ได้ศึกษา เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
3.3.3 การนำเสนอทัศนคติเชิงบวก แนวคิด การโต้ตอบโดยอ้างอิงเหตุและผลตามความจริง
4.1.1 มีภาวะความเป็นผู้นำ และผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
4.1.2 มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไข ปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.3 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 สอดแทรกความรู้ ความสำคัญ เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์ผสมผสนานกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมในชั้นเรียน โดยให้นักศึกษาเรียนรู้แบบร่วมมือกันปฏิบัติงาน มีการเสนอแนะ แสดงความเห็น อภิปรายผลร่วมกัน เพื่อปลูกฝังความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน
4.2.2 มอบหมายงาน ตามหน่วยเรียนโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำ และผู้ตาม
4.3.1 การสอบกลางภาค และปลายภาค
4.3.2 งานมอบหมาย
4.3.3 ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วม การทำงานร่วมกัน การกล้าแสดงออก การระดมความคิด (Brainstorming) ของนักศึกษา
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์ และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวันได้
5.1.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย สร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิค วิธีการ เครื่องมือสื่อสาร และเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน การนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถสื่อสารภาษาไทย และภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำ ธุรกิจได้
5.2.1 สนับสนุนให้นักศึกษาได้ใช้สื่อ เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสืบค้นข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้
5.2.2 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าข้อมูลในยุคปัจจุบัน และนำเสนอผลงานในรายวิชา
5.2.3 ส่งเสริมรูปแบบการทำงานมอบหมายที่หลากหลาย โดยอาศัยการใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่หลากหลาย
5.3.1 การทดสอบกลางภาค และปลายภาค
5.3.2 การใช้สื่อเทคโนโลยีในการนำเสนอ และความน่าสนใจในการนำเสนองานที่มอบหมาย
5.3.3 สังเกตเทคนิคการนำเสนองาน การใช้ลูกเล่น และการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่น่าสนใจประกอบงานนำเสนอ
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBABA209 การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-5 - แบบทดสอบกลางภาค 9 25%
2 หน่วยที่ 6-9 - แบบทดสอบปลายภาค 17 30%
3 ทุกหน่วยการเรียนรู้ - การส่งงาน/งานกลุ่ม/งานเดี่ยว - การนำเสนอ - งานมอบหมาย - การวิเคราะห์กรณีศึกษา - กิจกรรมในชั้นเรียน - การเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 35%
4 ทุกหน่วยการเรียนรู้ - คุณธรรม จริยธรรม และการเคารพกฎระเบียบในชั้นเรียน - การแต่งกาย การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา การเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน - การมีส่วนร่วม ความสนใจ การตอบสนอง ในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2559). การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- รชยา อินทนนท์ (2563). ธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
- บริษัท อิมเมจ คอนซัลแทนท์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด. (2551). กฎหมายการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: บริษัท ไอ เอ็ม บุ๊คส์ จำกัด.
ไม่มี
เว็บไซต์และแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
- แบบประเมินผู้สอน
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- ข้อเสนอแนะระหว่างเรียน และการสะท้อนกลับจากพฤติกรรมของนักศึกษา
- ข้อเสนอแนะผ่านสื่อออนไลน์ และช่องทางตามที่ผู้สอนกำหนด
- คะแนนผลสัมฤทธิ์โดยรวม
- ผลการเรียนของนักศึกษา
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน เช่น การตอบคำถาม ความสนใจ ความเข้าใจ ฯลฯ
- การทดสอบกลางภาค และปลายภาค
- ความถูกต้องของรายงานจากการค้นคว้า และงานที่ได้รับมอบหมาย
- ปรับปรุงเนื้อหาให้น่าสนใจ และเป็นปัจจุบัน
- พัฒนารูปแบบ วิธีการเรียน และสื่อการเรียนสอน
- การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา
- การวิจัยชั้นเรียน
- การประเมินการสอนของตนเอง และสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน
- แบบทดสอบ งานมอบหมายรายหน่วยเรียน
- การทวนสอบ การให้คะแนน หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
- ประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา เพื่อตรวจสอบผลงาน ข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
- ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของกรรมการ และผู้เกี่ยวข้อง
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
- รายงานผลการทวนสอบ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
- ปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร
- ปรับการเรียนการสอน หรือหัวข้อในบางประเด็นตามผลการเรียนรู้
- เปลี่ยน หรืออาจมีการสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้