คณิตศาสตร์วิศวกรรม 2

Engineering Mathematics 2

หลังจากเรียนรายวิชานี้แล้วผู้เรียนสามารถ
1. เข้าใจระบบสมการเชิงเส้น ตัวดำเนินการเชิงเส้นและลำดับชั้น
2. เข้าใจความหมายของพีชคณิตเมทริกซ์
3. คำนวนหาการแปลงกลับเมทริกซ์ ได้
4. เข้าใจความหมายของปริภูมิเวกเตอร์และปริภูมิย่อย
5. คำนวนหาแปลงเชิงเส้นและการแทนเมทริกซ์ ได้
6. คำนวนหาค่าไอเกนและเวกเตอร์ไอเกนได้
7. คำนวนโดยใช้วิธีการแนวทแยงและการแปลงคล้ายได้
 8. เข้าใจฟังก์ชันของเมทริกซ์จัตุรัส
9.. เข้าใจฟังก์ชันของตัวแปรเชิงซ้อ
เพื่อจัดทำรายวิชาให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และพัฒนาการเรียนรู้ ส่งเสริมประสบการณ์ในด้านการฝึกสมองอันเป็นแนวทางทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษาวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมการผลิตและนวัตกรรมอาหาร
ศึกษาเกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น ตัวดำเนินการเชิงเส้น ลำดับชั้น พีชคณิตเมทริกซ์ การแปลงกลับเมทริกซ์ ตัวกำหนด ปริภูมิเวกเตอร์และปริภูมิย่อย ฐานหลักและมิติ การแปลงเชิงเส้นและการแทนเมทริกซ์ ระบบพิกัดเวกเตอร์ การแปลงฐานหลัก ค่าไอเกนและเวกเตอร์ไอเกน วิธีการแนวทแยงและการแปลงคล้าย ฟังก์ชันของเมทริกซ์จัตุรัส ทฤษฎีบทเคเลย์-แฮมิลตัน เอกลักษณ์ของซิลเวสเตอร์ ฟังก์ชันของตัวแปรเชิงซ้อน ฟังก์ชันวิเคราะห์ ปริพันธ์ในระนาบเชิงซ้อน ทฤษฎีบทปริพันธ์ของโคชี ส่วนตกค้าง การส่งคงรูป การประยุกต์ใช้งานทางด้านวิศวกรรมในหัวข้อต่าง ๆ
 -   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าห้องพักอาจารย์
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีวินัย  ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
บอกข้อปฏิบัติในการเรียน การเข้าห้องเรียนและเช็คชื่อเข้าเรียน การส่งงานที่มอบหมาย
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
นักศึกษาต้องทราบเกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น ตัวดำเนินการเชิงเส้น ลำดับชั้น พีชคณิตเมทริกซ์ การแปลงกลับเมทริกซ์ ตัวกำหนด ปริภูมิเวกเตอร์และปริภูมิย่อย ฐานหลักและมิติ การแปลงเชิงเส้นและการแทนเมทริกซ์ ระบบพิกัดเวกเตอร์ การแปลงฐานหลัก ค่าไอเกนและเวกเตอร์ไอเกน วิธีการแนวทแยงและการแปลงคล้าย ฟังก์ชันของเมทริกซ์จัตุรัส ทฤษฎีบทเคเลย์-แฮมิลตัน เอกลักษณ์ของซิลเวสเตอร์ ฟังก์ชันของตัวแปรเชิงซ้อน ฟังก์ชันวิเคราะห์ ปริพันธ์ในระนาบเชิงซ้อน ทฤษฎีบทปริพันธ์ของโคชี ส่วนตกค้าง การส่งคงรูป การประยุกต์ใช้งานทางด้านวิศวกรรมในหัวข้อต่าง ๆ
มีความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางการผลิตและนวัตกรรมอาหาร และทางเทคโนโลยี
2.2.1. บรรยาย
2.2.2. มอบหมายงานตามเนื้อหา
2.3.1. การสอบ
2.3.2. การตรวจงานที่มอบหมาย
2.3.3. ซักถามและรายงานผลงานที่ได้รับมอบหมาย
สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.1. อธิบาย นิยาม ความหมาย กฎและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
3.2.2. การยกตัวอย่างในเนื้อหารายวิชาให้แสดงการคิด แก้ปัญหาอย่างมีระบบ
3.3.3. มอบหมายงานให้นักศึกษาตามหัวข้อ
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์
3.3.2   วัดผลจากการประเมินการแก้ไขโจทย์  การนำเสนอผลงาน
สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
มอบหมายงานตามหัวข้อ โดยสามารถช่วยกันทำและแลกเปลี่ยนได้
นำเสนองานที่มอบหมายให้และตอบคำถาม
สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้เครื่องมือการคำนวนและเครื่องมือทางวิศวกรรมได้
1. บรรยาย และยกตัวอย่างการคำนวณ
2. สาธิตการใช้อุปกรณ์ในการคำนวณ และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์
นำเสนองานที่มอบหมายให้และตอบคำถาม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 5. 3. 4. 5. 1. 2. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2.
1 SCIMA102 คณิตศาสตร์วิศวกรรม 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม เช็คชื่อนักศึกษา การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ความสนใจ ความรับผิดชอบ ทุกสัปดาห์ 10
2 -สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ -สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง -สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้เครื่องมือการคำนวนและเครื่องมือทางวิศวกรรมได้ - การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและงานที่มอบหมาย - การทำงานกลุ่ม - การส่งงานครบถ้วน ทุกสัปดาห์ 30
3 -มีความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางการผลิตและนวัตกรรมอาหาร และทางเทคโนโลยี -สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอบกลางภาค 8 30
4 -มีความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางการผลิตและนวัตกรรมอาหาร และทางเทคโนโลยี -สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอบปลายภาค 17 30
รศ.ก่อสุข วีระถาวร.ฟังก์ชันของตัวแปรเชิงซ้อน.ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
โครงการตำรา. แคลคุลัส 2. พิมพ์ครั้งที่ 2 ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , 2553
นิตยา แจ่มยวง. แคลคูลัส 2 . พิมพ์ครั้งที่ 1 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น, 2552
Thomas’ CALCULUS 11th edition
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
3.2   การปรับปรุงวิธีการสอน และเอกสารการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก      การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ