หลักมูลวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

Fundamentals of Electronics Engineering

1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการทำงานของวงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้การแก้ปัญหาในงานทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้   
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลที่ได้จากการคำนวณและผลที่ได้จากการใช้เครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้อง
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
1. เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาหลักมูลวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. เพื่อนำการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาปรับใช้ในรายวิชาหลักมูลวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่ดีขึ้น 
โครงสร้างและหลักการทำงานของอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำต่าง ๆ เช่น ไดโอด ซีเนอร์ไดโอด ซอตกีไดโอดและไดโอดเปล่งแสง ทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ และทรานซิสเตอร์แบบสนามไฟฟ้าเจเฟ็ต และมอสเฟ็ต การไบแอสวงจรทรานซิสเตอร์ และการวิเคราะห์วงจรทรานซิสเตอร์ โดยใช้วงจร ต้นแบบของวงจรแบบคอลเล็กเตอร์ร่วม เบสร่วม และอิมิตเตอร์ร่วมชนิดที่มีและไม่มีความต้านทาน อัตราการตอบสนองความถี่ วงจรแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง และวงจรควบคุมแรงดันให้คงที่ แนะนำวงจรรวมออปแอมป์ และการประยุกต์ใช้งาน วงจรกรองความถี่แบบพาสซีฟ และ แบบแอกทีฟ วงจรออสซิลเลเตอร์แบบต่าง ๆ วงจรอเนกระรัว และวงจรเอกระรัว
 - อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งเวลาให้คำปรึกษา 
 - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดาเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้
(1) เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต
(2) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
(3) มีภาวะความเป็นผู้นาและผู้ตาม สามารถทางานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลาดับความสาคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(4) สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
(5) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้นในการสอนรายวิชายังได้สอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับจริยธรรม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิศวกรในการสอนด้วย อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดให้มีการวัดมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งไม่จาเป็นต้องเป็นข้อสอบ อาจจะวัดพฤติกรรมระหว่างทากิจกรรมที่กาหนดมีการกาหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนความประพฤติของนักศึกษา
กาหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทางานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นากลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทาการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทาดี ทาประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
(1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกาหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
(2) ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
(3) ปริมาณการกระทาทุจริตในการสอบ
(4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อนาไปใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
(1) มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
(2) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สาคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
(3) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(4) สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
(5) สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทาได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละวิชาในชั้นเรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
(1) การทดสอบย่อย
(2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(3) ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทา
(4) ประเมินจากโครงการที่นาเสนอ
(5) ประเมินจากการนาเสนอรายงานในชั้นเรียน
(6) ประเมินจากรายวิชาสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางวิศวกรรม
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจาเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในสาขาวิชา ในการสอนอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจา นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
(1) มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
(2) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
(3) สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(4) มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
(5) สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
(1) กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขาวิชา
(2) การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
(3) ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนาเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา เป็นต้น
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจาเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้
(1) สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
(2) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
(3) สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
(4) รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นาและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
(5) มีจิตสานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทางาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
ใช้การสอนที่มีการกาหนดกิจกรรมให้มีการทางานเป็นกลุ่ม การทางานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
(1) สามารถทางานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
(2) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
(3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
(4) มีภาวะผู้นา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
(5) ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
(1) ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นาและผู้ตามที่ดี
(2) ติดตามการทางานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึก พฤติกรรมเป็นรายบุคคล
(3) ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา
(4) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
(1) มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สาหรับการทางานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
(2) มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
(3) สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
(4) มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
(5) สามารถใช้เครื่องมือการคานวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
(1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จาลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนาเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิค การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ
(2) ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนาเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสาคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
(1) ประเมินจากเทคนิคการนาเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์
(2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจากัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนาเสนอต่อชั้นเรียน
(3) สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
การทางานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสาคัญมากในการทางาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จาเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตาแหน่งหน้าที่ของบัณฑิต ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสาคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรม ดังข้อต่อไปนี้
(1) มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
(1) สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
(2) สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
(3) สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรม กับหน่วยงานภายในและภายนอก
(4) จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
(5) สนับสนุนการทาโครงงาน
(6) สหกิจศึกษา/ฝึกงานทางวิศวกรรม ในสถานประกอบการ
(1) มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
(2) มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
(3) มีการประเมินผลการทางานในภาคปฏิบัติ
(4) มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา
(5) มีการประเมินนักศึกษาในวิชาสหกิจศึกษา/ฝึกงานทางวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGAG104 หลักมูลวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 1. การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน 2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 3. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทุกสัปดาห์ 20
2 ด้านความรู้ 1. การทดสอบย่อย 2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 3. จากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ 4. การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 9 และ 17 80
1. Electronic Devices and Circuit Theory (7th Edition), Louis Nashelsky; Robert L. Boylestad, Prentice Hall, 2001 
2. Allan R. Hambley, Electrical Engineering : Principles and Applications, Prentice Hall, 2005. 
3. Willam H. Hayt, JR., Jack E.Kemmerly, Engineering Circuit Analysis, McGraw-Hill, 1993. 
4. Giorgio Rizzoni, Principles and Applications of Electrical Engineering, McGraw Hill, 20011. 
5. มงคล ทองสงคราม, เครื่องวัดอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า, 1996. 
6. พันธ์ศักดิ์ พุฒิมานิตพงศ์, อิเล็กทรอนิกส์ในงานอุตสาหกรรม, Se-Ed’s Textbook, 2553. 
7. ทีมงานสมาร์ทเลิร์นนิง, เซนเซอร์ ทรานสดิวเซอร์ และการใช้งาน,ห้างหุ้นส่วนสามัญสมาร์ทเลิร์นนิ่ง, 2552.
1. เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาไมโครโปรเซเสเซอร์และอินเตอร์เฟซ, ดร.พลกฤษณ์ ทุนคำ, ว่าที่ร.ท.ลีรวัฒน์ สุภารัตน์ 
2. เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาหลักมูลของวิศวกรรมไฟฟ้า, ดร.พลกฤษณ์ ทุนคำ  แก้ไข
1. http://www.ece.rice.edu/~dhj/courses/elec241/col10040.pdf 
2. http://www.youtube.com/watch?v=xwFacS9PsCE
1. ในวันแรกของการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอนอธิบายวิธีการสอนและวัดผลที่แตกต่างจากภาคการศึกษาที่ผ่านมา 
2. สนทนาสอบถามความคิดเห็นนักศึกษาและให้นักศึกษาประเมินตนเองว่ามีระดับความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังจะศึกษาในภาคการศึกษานี้ที่ระดับใด เรียงลำดับจาก 1-5 (น้อยที่สุดถึงมากที่สุด) เป็นรายบุคคลคน 
3. การใช้แบบประเมินการเรียนการสอนตอนปลายภาคเรียน 
4. รับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บบอร์ดของวิทยาลัยฯ
1. การสังเกตและวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน 
2. ทดสอบวัด ผลการเรียนของนักศึกษาระหว่างเรียน 
3. การตรวจงานที่มอบหมาย 
4. รายงานสรุปเพื่อปรับวิธีการสอนให้เข้ากับกลุ่มนักศึกษา 
1. ปรับปรุงการเรียนการสอนโดยอาศัยผลการประเมินในข้อ 2 
2. รวบรวมข้อมูลรายงานพฤติกรรม และวิเคราะห์ผลระดับความรู้ที่นักศึกษาได้รับเพิ่มเติมหลังจบภาคการศึกษา 
3. อาจารย์ผู้สอนเข้ารับความรู้เรื่องแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพิ่มเติม 
4. ปรับปรุงวิธีการสอนและรายละเอียดวิชาให้ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ  แก้ไข
1. ระหว่างเรียนสุ่มตรวจสอบความรู้นักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ 
2. สรุปผลการประเมินความรู้จากนักศึกษาช่วงปลายภาคการศึกษา 
3. อาจมีการทวนสอบคะแนนและเปรียบเทียบกระบวนการให้คะแนนโดยกรรมการวิชาการ  แก้ไข
นำผลการประเมินจากนักศึกษาและการประเมินตนเองในครั้งนี้มากำหนดแผนการปรับปรุงในครั้งต่อไปและบันทึกเป็นหลักฐาน  แก้ไข