ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ

English for Business Communication

 1 จุดมุ่งหมายของรายวิชา
- รู้คำศัพท์ สำนวน และโครงสร้างพื้นฐานทางภาษาที่ซับซ้อนมากขึ้น
- เข้าใจกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษ
- พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนจดหมายในรูปแบบต่างๆ
- มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาอังกฤษ
- เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียนจดหมายในรูปแบบต่างๆ
- เพื่อให้สามารถอ่านและเขียน จดหมายในรูปแบบต่างๆ
- เพื่อให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษทางธุระกิจเป็นเครื่องมือในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อให้มีความรู้ความสามารถเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ
- เพื่อให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษทางธุระกิจที่เรียนเป็นเครื่องมือศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
- เพื่อพัฒนากิจนิสัยในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง  
- เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษทางธุระกิจ
ฝึกทักษะภาษาอังกฤษที่ใช้ในธุรกิจทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน ในการติดต่อธุรกิจเช่น การใช้โทรศัพท์ติดต่อธุรกิจ การสมัครงาน การสัมภาษณ์งาน และการเขียนจดหมายธุรกิจ เช่นจดหมายสมัครงาน จดหมายสอบถาม เป็นต้น
จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง และแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
(1) มีจิตสานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
(3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
(4) เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(5) ผู้เรียนมีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมที่ดีงาม
(1) ให้ความรู้โดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่างๆ
(2) กำหนดให้นักศึกษาทางานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
(3) ให้นักศึกษานาความรู้ที่ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มในช่วงการอภิปรายระดมสมอง
(4) ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและช่วยกันระดมสมองเพื่อหาคาตอบที่เหมาะสมที่สุด
(5) จัดให้มีโครงการทำบุญศิลปศาสตร์เป็นประจำทุกปี
(1) การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
(2) การส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
(3) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
(4) การเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมหาวิทยาลัยฯ คณะฯ สโมสรนักศึกษาฯ สาขาฯ หลักสูตรฯ และชมรมได้จัดขึ้น
(5) การเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการทำบุญสาขาศิลปศาสตร์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม ภาษา การสื่อสาร และความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมต่างๆ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ส่วนในหลักการปฏิบัติเน้นการนาภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสารอย่างเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
(1) ศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่างๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน
(2) ร่วมกลุ่มอภิปรายคำตอบและระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
(3) การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
(1) แบบฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
(2) การทากิจกรรมในชั้นเรียน
(3) การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
(1) ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ โดยนาความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามกรณีศึกษา
(2) ทักษะในการนาความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์และบริบททางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
(1) ให้นักศึกษาฝึกอ่าน และเขียนจดหมายในรูปแบบต่างๆ
(2) ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อเสนอแนะวิธีการอ่าน และเขียนจดหมายในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมตามเรื่องหรือบทความที่กำหนดในกรณีศึกษา จากนั้นอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะให้แก่กัน
(1) แบบฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
(2) การทากิจกรรมในชั้นเรียน
(3) การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน สังคมภายนอกชั้นเรียน และกลุ่มสังคมอื่นๆ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความตระหนักรู้และมีความเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของกลุ่มสังคมต่าง ๆ รู้แนวทางการปฏิบัติตนตามมารยาทสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ รวมถึงส่งเสริมการนาความรู้นั้นมาช่วยเหลือสังคมในสถานการณ์การสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
(1) ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีตามมารยาทสังคมของกลุ่มสังคมเฉพาะต่างๆ
(2) จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์
(3) ทาแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากการค้นคว้าหรือสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มสังคมต่างๆ ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน
(1) การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
(2) แบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
(3) การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์การสื่อสารเฉพาะ ตามบริบทของวัฒนธรรมสากล
(1) นักศึกษาฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนตามสถานการณ์การสื่อสารที่กำหนด
(2) ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
(1) การฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน
(2) การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
(3) การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BBABA739 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1 ทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 25%
2 2 ทดสอบทักษะการอ่าน ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 3 ทดสอบทักษะการเขียน ตลอดภาคการศึกษา 15%
4 4 การเข้าชั้นเรียนและความรับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 5 สอบกลางภาคเรียน 9 20%
6 6 สอบปลายภาคเรียน 17 20%
- Power Point
- Internet
- ใบงาน
- Office Talk 1” – Practical English for Business Situations - LiveABC
- A. Ashley – “A Correspondence Workbook” – Oxford University Press
- http://onestopenglish.com
-
    1) การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
    2) ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนาไปปรับปรุง
    1) สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
    2) สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทากิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
    3) ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา
    4) ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
1) ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน
    2) สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
    3) สรุปผลการทากิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนามาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทาความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
1) ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียนตามที่ได้ทดสอบไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
    2) มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ
    3) ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สำรวจไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
    4) ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจาปี