โครงงานศึกษา

Project Study

นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานตามวิธีการศึกษาในโครงงานด้านเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ตามที่สนใจ และเขียนโครงงานตามรูปแบบที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง โดยต้องนำเสนอโครงงานที่ศึกษาผ่านคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงงาน
เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ และประโยชน์ของการจัดทำโครงการศึกษาด้านวิชาชีพทางการพิมพ์ โดยสามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาหรือความรู้ที่น่าสนใจทางเทคโนโลยีการพิมพ์ได้ชัดเจนวางแผนการศึกษาและประเมินผลงานการศึกษาของตนเองได้อย่างเป็นระบบ 
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับโครงงานด้วยตนเองหรือเป็นกลุ่ม ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำข้อเสนอโครงงาน โดยมุ่งเน้นการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นระบบ และเป็นประโยชน์ต่อวงการการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
-    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านบอร์ดสาขาวิชา และทางสื่ออินเตอร์เน็ต  -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)  ผ่านช่องทาง Zoom หรือ Line หรือ Facebook -    อาจารย์เปิดช่องทางการส่งงานผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้ Google Classroom
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม  1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ  1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม  1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 
1.2 วิธีการสอน
 1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างวิธีการจัดทำโครงการศึกษา ที่ถูกต้อง โดยเน้นความสำคัญด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักวิจัยหรือผู้ศึกษา ที่ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม  1.2.2 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด  1.2.3 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างโครงการศึกษาในรูปแบบวิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ หรือ สารนิพนธ์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเด็นที่ตนสนใจ  1.2.4 กำหนดให้นักศึกษาวิเคราะห์ตัวอย่างโครงการศึกษาโดยยึดหลักการทฤษฎีที่ถูกต้อง  1.2.5 ปลูกฝังจรรยาบรรณนักวิจัย หรือ ผู้เขียนโครงการศึกษาที่ดี
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1    สังเกตุพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา  1.3.2    มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาอย่างถูกต้องและเหมาะสม  1.3.3    ประเมินผลการรายงานความก้าวหน้าในการศึกษาตามที่มอบหมาย  1.3.4    สังเกตุพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติงาน และการเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการจัดทำโครงงานศึกษา รูปแบบงานวิจัย  2.1.2   สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายเนื้อหาที่ต้องการศึกษาตามประเด็นที่มีความถนัดหรือสนใจได้ รวมทั้งสามารถประยุกต์ความรู้และทักษะที่มีให้เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพ  2.1.3   สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ หลักการ และทฤษฎีที่สัมพันธ์กับประเด็นที่ศึกษา  2.1.4   มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการศาสตร์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  2.1.5   สามารถแสดงออกให้เห็นถึงองค์ความรู้ของนักศึกษาจากการศึกษาแบบเฉพาะทาง ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ 
2.2 วิธีการสอน
2.2.1   ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้  2.2.2   มอบหมายให้สืบค้นตัวอย่างโครงการศึกษาตามประเด็นที่ตนเองสนใจ  2.2.3   มอบหมายให้วิเคราะห์ตัวอย่างโครงการศึกษา ตามหัวข้อที่กำหนด เพื่อให้เข้าใจวิธีการนำเสนอในรูปแบบการเขียนเชิงวิชาการ  2.2.4   จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมการกำหนดแนวคิดอย่างเป็นระบบ และถ่ายทอดข้อมูลตามลำดับขั้นตอน  2.2.5   มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำโครงการศึกษาตามสาขาวิชาชีพ ตามประเด็นที่ตนถนัด หรือสนใจ
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1    ประเมินจากการวิธีการสืบค้นตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่เลือกศึกษา  2.3.2    ประเมินจากการสอบถามความรู้ ความถนัด ความสนใจ  2.3.3    ประเมินจากการเขียนโครงการศึกษาฉบับร่าง ทั้งรายงานกลุ่มและเดี่ยว  2.3.4    ประเมินจากการเสนอหัวข้อโครงการศึกษาเฉพาะทาง ที่สนใจ  2.3.5    ประเมินจากรายงานโครงการศึกษาที่ผ่านการเสนอหัวข้อโครงการแล้ว
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
  3.1.1   คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ    3.1.2   สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการของตนเอง เป็นภาษาเขียนในเชิงวิชาการได้    3.1.3   สามารถประเมินผลโครงการศึกษาของผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง โดยใช้หลักการวิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันได้อย่างเหมาะสม    3.1.4   สามารถประยุกต์การใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานศึกษา 
3.2 วิธีการสอน
  3.2.1    มอบหมายงานให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์โครงงานที่ใกล้เคียงกับที่ตนเองสนใจ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ และมีทฤษฎีเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กัน    3.2.2    ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง  วิเคราะห์ปัญหา และการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ    3.2.3    วิเคราะห์กรณีศึกษา จากโครงการศึกษาด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ ของมหาวิทยาลัยต่างๆ    3.2.4    การสะท้อนแนวคิดจากการตอบปัญหา และการแสดงความคิดเห็น
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1    การทดสอบแนวการคิดด้วยการสัมภาษณ์ หรือสอบถามจากการนำเสนอหัวข้อ  3.3.2   ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และความก้าวหน้าของงาน ทั้งรายเดี่ยวและรายกลุ่ม  3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาทั้งจากตนเอง และเพื่อนร่วมกลุ่ม
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
  4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน    4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม    4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตาม กำหนดเวลา
4.2 วิธีการสอน
4.2.1   กำหนดการทำงานกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน  4.2.2   ให้คำแนะนำในการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ และแน้นความสำคัญในการกำหนด บทบาท หน้าที่ของสมาชิกทุกคน  4.2.3   ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็น โดยการจัดอภิปรายและเสวนางานที่มอบหมายให้ค้นคว้า  4.2.4   ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น เพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล  4.2.5   ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.3 วิธีการประเมินผล
 4.3.1   ประเมินจากแบบประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด    4.3.2   ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ตามภาวะการเป็นผู้นำและ ผู้ตามที่ดี    4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    4.3.4   ติดตามการทำงานของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมทั้งบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคลและ รายกลุ่ม    4.3.5   ประเมินผลจากการนำเสนอหัวข้อโครงงาน ตามที่มอบหมาย 
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
  5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข    5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียนผ่านสื่อต่างๆ หรือระบบเทคโนโลยี    5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา    5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต    5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานภายในกลุ่มผ่านทางอีเมล์  การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนาระบบออนไลน์    5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2 วิธีการสอน
5.2.1    ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข    5.2.2    มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ด้วยตนเอง  5.2.3    ส่งเสริมให้นำข้อมูลที่ค้นคว้า มาคัดเลือก กลั่นกรอง และเรียบเรียง เพื่อนำเสนอข้อมูลผ่าน สื่อต่างๆ ด้วยการเขียนถ่ายทอดอย่างถูกต้อง  5.2.4    ให้คำแนะนำการให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3 วิธีการประเมินผล
  5.3.1    ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี    5.3.2    ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย    5.3.3    สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารผ่านการพูด และการเขียนโดยมีการบันทึกเป็นระยะ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 3 4 1 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 44010003 โครงงานศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค และสอบเสนอหัวข้อโครงงาน 9, 11-12, 17 60%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2, 4.1 – 4.6, 5.3-5.4 ฝึกเขียนโครงร่าง นำเสนองาน การรายงานความก้าวหน้าของโครงงาน การส่งงาน ผ่านช่องทางออนไลน์ ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตามช่องทางออนไลน์ที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
-บุญชม ศรีสะอาด, การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานครฯ: สุวีริยาสาส์น., 2535. 
-ยุทธ ไกยวรรณ์, พื้นฐานการวิจัย (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานครฯ: สุวีริยาสาส์น., 2545. 
-บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์, 2553. 
-สิทธิ์ ธีรสรณ์, เคล็ดลับการเขียนรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: บ.วีพริ้นท์ (1991) จำกัด., 2555
-สุนิตย์ เย็นสบาย, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, 2543. -คู่มือการเขียนโครงงาน หรือศิลปนิพนธ์. 2560. คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. เชียงใหม่  -ฝ่ายพัฒนาคณาจารย์ สำนักวิชาการ. 2552. คู่มือการเขียนอ้างอิงและรูปแบบบรรณานุกรม. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อการพิมพ์สารนิพนธ์ เช่น http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/ThesisWriting2009/writing_th.html สืบค้นฐานข้อมูลงานวิจัย http://tdc.thailis.or.th/tdc/ http://www.riclib.nrct.go.th/link/fulltextorg.html http://tdri.or.th/research/ http://ss.lib.cmu.ac.th/digital_collection/eresearch/searching.php http://elibrary.trf.or.th/ctrflibrary.asp http://library.utcc.ac.th/onlinethesis/default.asp http://research.ifrpd.ku.ac.th/ http://lib248.kku.ac.th/aglib/ http://dcms.lib.ru.ac.th/main.nsp?view=DCMS กระบวนการและขั้นตอนการทำวิจัยอย่างง่าย http://thai-teacher.freevar.com/section3.html รศ.ดร.คมสัน สุริยะ. เกร็ดการทำวิจัย. http://www.tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=categoryid=73&Itemid=89 สักขี แสนสุภา. http://rir.nrct.go.th/rir/?page=researcher&author_code=10582 การเขียนรายงานวิจัย. http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re10.htm วัลลภา เตชะวัชรีกุล. รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิงประกอบการค้นคว้า วิจัยและงานเขียนทางวิชาการ. www.ba.cmu.ac.th/wpcontent/uploads/pdf/_grad/2/19.doc
https://www.youtube.com/results?search_query=การพิมพ์รายงาน+word
https://www.youtube.com/watch?v=j8uSuQdRdAU การตั้งค่าระยะขอบกระดาษแต่ละหน้า และหน้าที่เริ่มขึ้นบทใหม่ใน Word
https://www.youtube.com/watch?v=fQHPn5DOli0  word_16.9#ขั้นตอนการใส่เลขหน้าให้กับเอกสารทางวิชาการ
 
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านแบบสำรวจแนวทางการการเรียนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง 
1.4 การร่วมอภิปรายหาแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และการจัดทำโครงงานในสาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ ของนักศึกษา
2.1   การสังเกตการสอนของตนเอง ผ่านกิจกรรมประกอบแต่ละหน่วยเรียน 
2.2   การฝึกเขียนโครงร่าง 
2.3   การสอบเสนอหัวข้อโครงงาน 
2.4   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน 
3.3   การแสดงความคิดเห็นร่วมกันในประเด็นที่ผู้สอนกำหนด 
3.4   จัดทำแบบประเมินการเรียนการสอน โดยให้นักศึกษาประเมินชั่วโมงสุดท้ายในแต่ละภาคเรียน
4.1  การเชิญผู้เชี่ยวชาญ  จากภายในและภายนอก เป็นคณะกรรมการสอบหัวข้อโครงงาน
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินโครงงาน ทั้งด้านวิชาการและพฤติกรรม
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ 
5.3  เปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญภายนอกมีบทบาทในการพิจารณาหัวข้อโครงงาน โดยเน้นการเกิดประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ อย่างแท้จริง