ปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์

Soil Mechanics Laboratory

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1.1  มีทักษะในการทดสอบทางกลศาสตร์ของดิน 1.2  มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี สามารถทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  1.3  สามารถนำความรู้ไปประยุกต์เพื่อการประกอบวิชาชีพและศึกษาในระดับสูงขึ้น
เพื่อนักศึกษาเกิดทักษะในปฏิบัติการกลศาสตร์ดิน มีความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีได้อย่างชัดเจนมากขึ้น มีความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ในการปฏิบัติงานตามสภาพจริงได้
ปฏิบัติการเกี่ยวกับการเจาะสำรวจและการเก็บตัวอย่างดินในสนาม การหาคุณสมบัติพื้นฐานทางวิศวกรรมของดิน การหาความซึมได้ของน้ำ การทดลองหาค่ากำลังรับแรงเฉือนของดิน การบดอัดดิน การหาความหนาแน่นของดินในสนาม การหาความแข็งแรงของดินที่บดอัดแล้ว การทดสอบการยุบตัวในทิศทางเดียวของดิน
Practice of soil drilling investigation and field collection of a soil sample, basic engineering properties of soil test, permeability test, experiments to determine the shear strength of soil, soil compaction test, field density test, strength test of compacted soil, one-dimensional consolidation test.
นักศึกษาสามารถติดต่อผู้สอนได้ด้วยตนเองหรือโดยวิธีสื่อสารที่สะดวก   Email : Thtibhorn@rmutl.ac.th
   1.1.1      มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม
   1.1.2      มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
   1.1.3      เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
   1.1.4      เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
   1.1.5      มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณ
วิชาชีพวิศวกร ตามข้อบังคับสภาวิศวกรดังนี้
       1.1.5.1   ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
       1.1.5.2   ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติ และวิชาการ
       1.1.5.3   ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยความซื่อสัตว์สุจริต
       1.1.5.4   ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือใช้ผลประโยชน์แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่นได้รับหรือไม่รับงาน
       1.1.5.5   ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ จากผู้รับเหมา หรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง
       1.1.5.6   ไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความเป็นจริง
       1.1.5.7   ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้
       1.1.5.8   ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
       1.1.5.9   ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบการวิชาชีพควบคุม ในงานที่ตนเองไม่ได้รับทำ ตรวจสอบ หรือควบคุมด้วยตนเอง
       1.1.5.10 ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง
       1.1.5.11 ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น
       1.1.5.12 ไม่รับงานหรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับที่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นทำอยู่ เว้นแต่เป็นการทำงานหรือตรวจสอบตามหน้าที่ หรือได้แจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้นทราบล่วงหน้า
       1.1.5.13 ไม่ดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เพื่อการแข่งขันราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว
       1.1.5.14 ไม่ใช้หรือคัดลอกแบบ รูป แผนผัง หรือเอกสาร ที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้น
       1.1.5.15 ไม่กระทำการใดๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง หรืองานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น
   1.2.1 ตรวจสอบรายชื่อก่อนเข้าชั้นเรียน ทุกครั้ง
   1.2.2 แจ้งกติกา ข้อตกลงต่างๆ เกี่ยวกับวิธีวัดและประเมินผลชั่วโมงแรก
   1.2.3 มอบเอกสารประกอบการสอน และแจ้งรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบการสอน
   1.2.4 มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดรายงาน พร้อมกำหนดวันส่ง
   1.2.5 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างวิธีการออกแบบและควบคุมงานวิศวกรรมฐานราก
   1.2.6  บรรยายพร้อมยกตัวอย่างการกระทำผิดจรรยาบรรณวิศวกร
    1.3.1  พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
    1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
    1.3.3  ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา เกี่ยวกับ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร
มีความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจและการเก็บตัวอย่างดินในสนาม การหาคุณสมบัติพื้นฐานทางวิศวกรรมของดิน การหาความซึมได้ขอน้ำ การทดลองหากำลังรับแรงเฉือนของดิน การบดอัดดิน การหาความหนาแน่นของดินในสนาม การหาความแข็งแรงของดินที่บดอัดแล้ว การทดสอบการยุบตัวในทิศทางเดียวของดิน
บรรยายประกอบการสาธิต อภิปรายผลการทดสอบ มอบหมายให้ทำงานเป็นกลุ่ม จัดทำรายงานและวิเคราะห์ผลการทดสอบ
    2.3.1   สอบกลางภาค และปลายภาค
    2.3.2   ประเมินจากการตอบคำถาม และการแก้ไขปัญหาในห้องปฏิบัติการ
    2.3.3   ประเมินผลจากรายงาน และการวิเคราะห์ผลการทดสอบที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ในการควบคุมและออกแบบงานทางด้านวิศวกรรมฐานราก
   3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
   3.2.2   บรรยายประกอบการสาธิต
   3.2.3   มอบหมายให้นักศึกษาทดสอบในห้องปฏิบัติการ
   3.2.4   ผู้สอนอภิปรายผลงานของนักศึกษา พร้อมบอกข้อดีข้อเสีย
   3.2.5   กำหนดคะแนนโดยพิจารณาจากการมีส่วนร่วม ความถูกต้อง
   3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวัดผลตามจุดประสงค์การสอน
   3.3.2   วัดผลจากการประเมินผลการทดสอบและปฏิบัติงานของนักศึกษา
   3.3.3  สังเกตพฤติกรรมในการมีส่วนร่วมในช่วงที่ทดสอบให้ห้องปฏิบัติการ และการจัดทำรายงาน
   4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
   4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
   4.1.3  พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วน ตามกำหนดเวลา
   4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการทดสอบ
   4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น ปฏิบัติและทดสอบตามหัวข้อที่เรียนแต่ละสัปดาห์
   4.3.1   ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการมีส่วนร่วม
   4.3.2   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง  โดยพิจารณาจากรายงานผลการทดสอบ
   5.1.1   ทักษะการค้นคว้า หาข้อมูล คิดคำนวณ เชิงตัวเลข
   5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน และการจัดทำรายงาน
   5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
   5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
  5.1.5  ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room  ทักษะในการแสดงความคิดเห็น และยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นทางสังคมออนไลน์
   5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
   5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลการทดสอบที่นักศึกษาได้ลงปฏิบัติ
   5.2.2   จัดทำรายงานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
 
   5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
   5.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ คุณภาพของรายงาน และวิธีการวิเคราะห์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGCV202 ปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 3.1 2.1, 3.1 2.1, 3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบย่อยทุกสัปดาห์ 9 17 ทุกสัปดาห์ 25% 25% 20%
2 1.1, 4.1 , 5.1 การลงปฏิบัติการทดสอบในแต่ละสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.1, 4.1 , 5.1 การเข้าชั้นเรียน และผลงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
1. ทวีชัย กาฬสินธุ์ “เอกสารประกอบการสอนวิชาการทดสอบปฏพีกลศาสตร์”
2. ปิ่นแก้ว กันฟุก “เอกสารประกอบการสอนวิชาการทดสอบปฏพีกลศาสตร์”
3. ฐิติพร พันธุ์ท่าช้าง “เอกสารประกอบการสอนวิชาการทดสอบปฏพีกลศาสตร์”
ASTM Vol 4.08-4.09 Soil and Rock
Jean-Pierre Bard (1997) Experimental Soil Mechanics, Prentice Hall, 583 pp
Cheng Liu and Jack Evett (1997) Soil Properties: Testing, Measurement, and Evaluation, Prentice Hall, 404 pp
เว็บไซต์ของสำนักหอสมุด มทร ล้านนา ภาคพายัพ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมาวลรายวิชา
http://dlib.rmutl.ac.th/lib/php
http://www.sciencedirect.com
ASCE (http://ascelibrary.org/?gclid=COi31YGZzaUCFUQa6wodnBXViw)
Géotechnique (http://www.icevirtuallibrary.com/toc/jgeot/current)
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4