การบัญชีชั้นกลาง 1

Intermediate Accounting 1

 1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการทางบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับ “สินทรัพย์”
        1.2 เพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์รายการ การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ ตามหลักทางบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบัน
        1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำหลักการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการบัญชีสินทรัพย์ได้
          1.4 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
การพัฒนาความสามารถของนักศึกษา ในการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบันเฉพาะฉบับที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา
ศึกษาหลักการและวิธีการบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ชนิดต่าง ๆ โดยละเอียด เช่น เงินสดและการจัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร ลูกหนี้และตั๋วเงินรับรวมทั้งการจัดหาเงินโดยใช้บัญชีลูกหนี้และตั๋วเงินรับ สินค้าคงเหลือ เงินลงทุน ที่ดินอาคารและอุปกรณ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เป็นต้น โดยรวมถึงการจำแนกประเภทสินทรัพย์ การรับรู้และวัดมูลค่าสินทรัพย์ การตีราคา ต้นทุนการกู้ยืม การรับรู้รายจ่ายที่เกิดขึ้นหลังการได้สินทรัพย์มาเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย หรือการจัดแบ่งส่วนสินทรัพย์เป็นต้นทุนและค่าใช้จ่าย ตามหลักการบัญชี การด้อยค่าของสินทรัพย์ ตลอดจนการแสดงรายการ และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์แต่ละชนิดในงบแสดงฐานะการเงิน
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1) มีความรู้และความเข้าใจในจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
2) ตระหนักถึงคุณธรรมด้าน ความซื่อสัตย์สุจริต
3) สามารถปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และ ข้อตกลงในการเรียน
4) สามารถทำงานที่มอบหมายให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดได้
1) สอดแทรกเรื่องบทบาทของวิชาชีพการบัญชีต่อส่วนรวม จรรยาบรรณวิชาชีพและความซื่อสัตย์ ระหว่างการเรียนการสอนในรายวิชา
 2) ชี้แจงระเบียบของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับนักศึกษา เช่น การแต่งกาย วินัยนักศึกษา การสอบ และกำหนดข้อตกลงในการเรียน เช่น การเข้าเรียน การตรงต่อเวลา การส่งงาน และวินัยในชั้นเรียน
1) ประเมินผลการปฏิบัติตามข้อตกลงในการเรียนตลอดภาคการศึกษา
2) ประเมินผลจากการแสดงความคิดเห็นในเชิงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพจากการอภิปราย กรณีเหตุการณ์จริงและตัวอย่าง
1) ความรู้และความเข้าใจในแนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  วิธีการทางการบัญชี  และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน  ประกอบด้วย  การจำแนกประเภทสินทรัพย์  การรับรู้และการวัดมูลค่าสินทรัพย์  การตีราคา  การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน  การบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ประกอบด้วย  เงินสด  ลูกหนี้และตั๋วเงินรับ  สินค้าคงเหลือ  เงินลงทุน  ที่ดินอาคารและอุปกรณ์  ค่าเสื่อมราคา  ค่าสูญสิ้น  รวมทั้งสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
2) สามารถวิเคราะห์รายการ บันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ ตามหลักทางบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบัน
3) ความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี  โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ได้แก่ ประมวลรัษฎากร
1) การบรรยาย ยกตัวอย่าง และการถาม-ตอบ ในชั้นเรียน
2) แบบฝึกหัด  เกี่ยวกับการวิเคราะห์รายการและบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์
1) ทดสอบย่อย
2) สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค
1) สามารถประยุกต์นำหลักการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับบัญชีสินทรัพย์ได้
1) บรรยาย นักศึกษาฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและกรณีศึกษา และร่วมกันอภิปราย
1) ทดสอบย่อย
2) สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค
1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
1) มอบหมายงานแบบกลุ่มย่อย เป็นกรณีศึกษาตัวอย่าง
1) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเอง
2) ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
1) สามารถนำวิธีวิเคราะห์เชิงตัวเลข ประยุกต์ในกรณีศึกษาทางบัญชี และเสนอวิธีการแก้ไข
1) บรรยาย นักศึกษาฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและกรณีศึกษา และร่วมกันอภิปราย
1) ทดสอบย่อย
2) สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC120 การบัญชีชั้นกลาง 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม 1.ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม 2.ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ 3.ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 4.สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10
2 1.มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี 2.มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 3.สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 1.ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค ได้แก่ การทดสอบย่อย1 การสอบกลางภาค การทดสอบย่อย2 การสอบปลายภาค 2.การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือการสอบปฏิบัติ 6, 8, 12, 18 70
3 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 1.ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย 2.ประเมินจากการรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น 17 20
เอกสารประกอบการสอนการบัญชีขั้นกลาง 1 โดย ณัฐนรี  ทองดีพันธ์
การบัญชีขั้นกลาง โดย  รองศาสตราจารย์ดุษฏี สงวนชาติ และคณะ  สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การบัญชีชั้นกลาง 1 โดย อาจารย์นภวรรณ ธรมธัช.
การบัญชีสินทรัพย์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวรักษ์ สุขวิบูลย์.
Intermediate Accounting By Keiso & Weygandt
มาตรฐานการรายงานการเงินที่เกี่ยวข้อง
http://www.tfac.or.th/
ใช้แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัย
1.ใช้การประเมินจากผลการสอบของนักศึกษา ทั้งในการทดสอบย่อย และทดสอบประจำภาคเรียน
2.ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
วิเคราะห์ผลการสอนจาก แบบประเมินผลการสอนของนักศึกษา กลุ่ม1 (4.54)  กลุ่ม2 (4.50)  และปรับปรุงจุดบกพร่องตามผลประเมิน
สรุปผลการเรียนรู้ของนักศึกษาจากผลการสอบ  ปรับปรุงการสอนโดยเน้นในเรื่องที่นักศึกษาขาดทักษะ
ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา การสอบทานความตรงประเด็นของข้อสอบ โดยคณะกรรมการกำกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของสาขาวิชา
นำผลการประเมินจากข้อ 1 ข้อ 3 และ ข้อ 4 มาพิจารณาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา ในเรื่องอาจารย์ผู้สอน การจัดตารางเรียน การสอนเสริม การทบทวนและปรับปรุงเนื้อหา มาตรฐานข้อสอบ