กระบวนการผลิต

Manufacturing Processes

1.1 รู้เกี่ยวกับขั้นตอนของกระบวนการผลิต
1.2 รู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตขั้นพื้นฐาน
1.3 เข้าใจการแปรรูปด้วยวิธีการต่างๆ
1.4 เข้าใจการประกอบชิ้นส่วนด้วยวิธีต่างๆ
1.5 รู้ลักษณะและการกระทำของเครื่องมือเครื่องจักรในการผลิต
1.6 เลือกและใช้เครื่องจักรในการผลิตได้อย่างเหมาะสม
1.7 มีจิตสำนึกในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนเห็นความสำคัญของกระบวนการผลิตในลักษณะต่างๆ
2.1 เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์ ตามสภาวิศวกร
2.2 เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านวิชาชีพวิศวกรรมและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
2.3 เพื่อให้เนื้อหาของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของตลาด
2.4 เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิต
2.5 เพื่อเรียบเรียงและจัดเนื้อหาในหลักสูตรเป็นไปตามลำดับความยากง่าย
ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวคิดทางกระบวนการผลิต เช่น กรรมวิธีการหล่อ การขึ้นรูปโลหะ การตัดขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกล และการเชื่อมประสาน ความสัมพันธ์ของวัสดุกับกระบวนการผลิต การปรับปรุงคุณสมบัติของโลหะด้วยความร้อน เช่น โลหะกับการขึ้นรูป พอลิเมอร์กับการขึ้นรูป หลักมูลของการประเมินราคาทางด้านกระบวนการผลิต
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง
1.1.2 เคารพกฏระเบียบวินัยและข้อปฏิบัติต่างๆ
1.1.3 มีคุณธรรมความเป็นผู้นำและผู้ตาม
1.1.4 ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต
1.1.5 มุ่งปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรมทั้งในเรื่องส่วนตน และสังคม
             1.2.1 ให้ความสำคัญของการตรงต่อเวลา มีการเช็คชื่อเข้าเรียนและให้คะแนนในส่วนของนักศึกษาที่ตรงต่อเวลา
             1.2.2 การตักเตือนนักศึกษาในการเคารพกฎระเบียบด้านการแต่งกายและความประพฤติ
             1.2.3 แจ้งวิธีประเมินผลการเรียน กฎระเบียบและข้อบังคับในการใช้ห้องปฏิบัติการที่ถูกต้องและปลอดภัย
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย
1.3.2 ประเมินผลจากการเข้าชั้นเรียนทุกครั้ง
1.3.3 ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย เช่น การค้นคว้าทฤษฎี การจัดนิทรรศการ และการนำเสนอ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
      2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของการผลิตและวัสดุวิศกรรม
      2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจครอบคลุมทฤษฎีและหลักการที่สำคัญของกระบวนการผลิตชนิดต่างๆ ทั้งการผลิตชิ้นส่วนและการประกอบชิ้นส่วน
      2.1.3 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และอนาคต
       2.2.1 บรรยายหลักการและทฤษฎีเชิงข้อมูลพร้อมกับอภิปราย
       2.2.2 มอบหมายงานให้ค้นคว้าในแต่ละครั้งของการสอน
       2.2.3 สรุปเนื้อหาบทเรียน
       2.2.4 มีแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
       2.2.5 มีคลิปวิดีโอประกอบการเรียนการสอน
2.3.1 การตอบข้อซักถาม และแสดงความคิดเห็น
2.3.2 ประเมินผลจากการเข้าห้องเรียน
2.3.3 ประเมินผลจากการให้ค้นคว้า และนำเสนองาน
2.3.4 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
2.3.5 พิจารณาจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
      3.1.1 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ ตลอดจนการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      3.1.2 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ   
3.2.1 การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
3.2.2 บรรยายประกอบการซักถาม
3.2.3 กำหนดมอบหมายทำรายงานกลุ่มเพื่อให้มีการสืบค้นข้อมูล
3.2.4 ฉายวิดีโอกระบวนการแปรรูปและขึ้นรูปวัสดุ
3.3.1 ผลงานจากใบมอบหมายงาน ประเมินจากการวางแผนการทำงาน ผลงานได้จากการทำงาน
3.3.2 ประเมินผลงานจากการมอบหมายรายงานรายกลุ่ม
      4.1.1 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
      4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
      4.1.3 มีแสดงเจตคติที่ดีต่อผู้อื่นและการเรียน
      4.1.4 รู้จักแสดงความมีส่วนร่วมและมีน้ำใจ มีความสามัคคี ให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมงานในการทำงานกิจกรรมกลุ่ม
4.2.1 ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมโดยมอบหมายงานรายกลุ่ม
4.2.2 การนำเสนอผลงานรายงานกลุ่ม
4.3.1 ประเมินผลของการศึกษาจากการให้ค้นคว้าเพิ่มเติม โดยพิจารณาจากกระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการนำเสนอผลงานกลุ่ม
4.3.2 สังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันของนักศึกษา
4.3.3 สังเกตการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
5.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูลและค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้
5.1.2 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
    5.2.1  นำเสนอผลงานในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
    5.2.2 อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ผลจากกระประเมินการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.3.2 ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการอภิปรายกลุ่มโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 4 3 1 4 3 2
1 ENGIE102 กระบวนการผลิต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความคิดเห็น ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 งานกิจกรรมในชั้นเรียน - การทำงานกลุ่ม - การจัดนิทรรศการ ตลอดภาคการศึกษา 16 สัปดาห์ 25%
3 สอบกลางภาค 8 30%
4 สอบปลายภาค 17 35%
เอกสารประกอบการสอนวิชากระบวนการผลิต เรียบเรียงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์มนูญ เทพกิจอารีกุล สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
กุณฑล ทองศรี, กรรมวิธีการผลิต, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร, คณะวิศวกรรมเทคโนโลยีการเษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2547
จารุวรรณ ทวยมาตร, ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม, 2545
รศ.ดร.วันชัย ริจิรวนิช, การเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
วารี เนื่องจำนงค์, คอนเซป เคมี, สำนักพิมพ์แมค์, กรุงเทพมหานคร, 2540
      มานพ ตันตระบัณฑิตย์, กรรมวิธีการผลิต, สมาคมส่ งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)2539
สาคร คันธโชติ, กรรมวิธีการผลิต, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2536
ดร.หริส สูตะบุตรและคณะ, หล่อโลหะ, สำนักพิมพ์ดวงกมล จำกัด, 2521
Mikell P. Groover, Fundamentals of Modern Manufacturing : Materials, Processes and
Systems, Prentice-Hall International Inc., USA, 1996
Serope Kalpakjian, Manufacturing Engineering and Technology, Addison-Wesley Publishing Company, New York, 1995
David L. Goetsch, Modern Manufacturing Processes, Delmar Publishers, New York, 1991
Benjamin W. Niebel, Alan B. Draper and Richard A. Wysk, Modern Manufacturing Processes Engineering, McGraw-Hill, New York, 1989
B. H. Amstead, Phillip F. Ostwald and Myron L. Begeman, Manufacturing Processes, John Wiley & Sons, Singapore, 1986
Dave Smith, Welding Skills and Technology, McGraw-Hill, Singapore, 1986
Gower A. Kennedy, Welding technology, Howard W. Sams & Co.Inc.,Indianapolis, 1976.
ไม่มี
- ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ โดยให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายรายวิชาวัตถุประสงค์เนื้อหารายวิชาการประเมินผลการเรียน
- ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวลผล/คิด วิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
- ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการเรียนการสอน การพัฒนารายวิชา
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- ประเมินผลโดยคณะวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินตาม PM-14
- อาจารย์ผู้สอนประเมินผลการสอนของตนเอง โดยดูจากพฤติกรรมการเรียนและผลการสอบของนักศึกษา
-สัมนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
- การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
- จัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษา
- ปรับปรุงรายละเอียดของเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยทุก ๆ 3 ปี
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ