อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

Industrial Electronics

1. เข้าใจหลักการทำงานของทรานสดิวเซอร์ 2. เข้าใจหลักการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังในงานอุตสาหกรรม 3. เข้าใจวิธีการควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังในงานอุตสาหกรรม 4. เข้าใจหลักการทำงานของวงจรทริกเกอร์ 5. มีทักษะในการใช้งานทรานสดิวเซอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง และ     วงจรทริกเกอร์ 6. มีทัศนคติที่ดีต่องานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับทรานสดิวเซอร์  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังในงานอุตสาหกรรมชนิดต่างๆ  อุปกรณ์ไทรีสเตอร์  วงจรทริกเกอร์  การควบคุมเฟส  วงจรแปลงผัน  เครื่องมือวัดอิเล็กทรอนิกส์ในงานอุตสาหกรรม
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ อย่างราบรื่นและประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้           1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)           1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ (· ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)           1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม (·ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)           1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
1.2.1 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อมและเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย           1.2.2 กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้บทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งการเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์            1.2.3 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น           1.2.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำความดี การทำประโยชน์และเสียสละแก่ส่วนรวม
1.3.1 ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร           1.3.2 ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและการรับฟังความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอนและกลุ่มนักศึกษาในชั้นเรียน           1.3.3 ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น           1.3.4 ประเมินผลจากรายงานการจัดกิจกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครูและการมีจิตสำนึกสาธารณะ
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาวิศวศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้           มีความรู้ใน (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)  2.1.1   เข้าใจหลักการทำงานของอุปกรณ์ทรานสดิวเซอร์ 2.1.2   เข้าใจหลักการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังในงานอุตสาหกรรม 2.1.3   เข้าใจหลักการทำงานของอุปกรณ์ไทริสเตอร์  2.1.4   เข้าใจหลักการทำงานของวงจรทริกเกอร์ 2.1.5   เข้าใจวิธีการควบคุมเฟส 2.1.6   เข้าใจหลักการทำงานของวงจรแปลงผัน 2.1.7   มีทัศนคติที่ดีต่องานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม 2.1.8   สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
2.2.1 บรรยาย (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.1-5.3, 6.1-6.2)           2.2.2 อภิปรายเรื่องการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา และ/หรือ หัวข้อปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรอาชีวะและเทคนิคศึกษาสู่อาเซียน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2,1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 4.1-4.3, 5.1-5.3, 6.1-6.2)           2.2.3 การทำงานกลุ่มและนำเสนอโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์           2.2.4 ค้นคว้ารายงานการวิจัยด้านหลักสูตรและสำเนาบทคัดย่อ เน้นด้านอาชีวศึกษา (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2-1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.1-5.3, 6.1)           2.2.5 จัดทำหลักสูตรรายวิชาและตัวอย่างเอกสารการสอนในรายวิชาระดับ ปวช. จำนวน 1 รายวิชา (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2-1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 4.1-4.3, 5.1-5.3, 6.1-6.2)           2.2.6 อภิปรายส่วนของเอกสารหลักสูตรของเพื่อนร่วมชั้นเรียนในรายวิชาที่ไม่ได้ทำ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2,1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.3, 6.2)
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ ด้วยวิธีดังนี้           2.3.1 ประเมินผลตลอดภาคเรียน           2.3.2 ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย           2.3.3 ประเมินจากการที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา 3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ 3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
      3.2.1   มอบหมายงานให้นักศึกษาปฏิบัติตามทฤษฎีที่ได้เรียนมาและทำการออกแบบ                  วงจรตามที่ระบุในแต่ละใบมอบหมายงาน                  (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2-1.4,2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.1-5.3, 6.1-6.2)       3.2.2  การมอบให้นักศึกษาทำงานกลุ่มโดยการทำชิ้นงานย่อย (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1-3.2) 
 
 
3.3.1   ประเมินจากผลการทำงาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1-3.2)          3.3.2   จากการปฏิบัติการทดลองและการส่งผลการปฏิบัติงานในระหว่างชั่วโมงเรียน            (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2-1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 4.1-4.4,5.1-5.3,6.1-6.2) 3.3.3   ประเมินจากผลการทำชิ้นงาน            (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2-1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 4.1-4.4,5.1-5.3,6.1-6.2)
4.1.1   มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี        4.1.2   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ        4.1.3   สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม        4.1.4   สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานกลุ่มโดยการทำชิ้นงานย่อย  (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1-4.4)
ประเมินจากผลการทำงาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1-4.4) 
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติดังนี้       5.1.1 มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว       5.1.2 สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม       5.1.3 สามารถสนทนา เขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
5.2.1 ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ       5.2.2 วิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลข่าวสาร       5.2.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน       5.2.4 การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนเพื่อสะท้อนถึงการใช้สารสนเทศและภาษาในการสื่อสาร
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้           5.3.1 ประเมินผลจากเนื้อหาในสื่อที่นำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน           5.3.2 ประเมินผลจากการเนื้อหาในเล่มรายงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล           5.3.3 ประเมินผลจากการใช้สื่อในการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน           5.3.4 ประเมินผลจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร           5.3.5 ประเมินผลจากการเข้าใช้ระบบเทคโนโลยีการศึกษาที่กำหนด
6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม    6.2 มีทักษะด้านการสอนในสายวิชาชีพที่เด่นชัด
6.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาโปรแกรมการจำลองการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในอุตสาหกรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1-6.3)                       6.2.2 มอบหมายงานมอบหมายให้ทำการออกแบบวงจรที่กำหนด และศึกษาโปรแกรมการจำลองการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1-5.3)        6.2.3  ประกอบวงจรที่ออกแบบ   ทดสอบการทำงาน บันทึกผลการทดลอง  อธิบายการทำงานและผลลัพธ์ของการทำงานของวงจรที่ประกอบสำเร็จแล้วให้อาจารย์ผู้ควบคุมตรวจ                   (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1-6.2)   
6.3.1   ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด        6.3.2   ประเมินจากการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมและโดยใช้โปรแกรมจำลองการทำงาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1-6.2)      6.2.3  ประกอบวงจรที่ออกแบบ   ทดสอบการทำงาน บันทึกผลการทดลอง  อธิบายการทำงานและผลลัพธ์ของการทำงานของวงจรที่ประกอบสำเร็จแล้วให้อาจารย์ผู้ควบคุมตรวจ                   (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1-6.2)   
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคลและความ รับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิง ตัวเลข การสื่อสาร และ การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ 6. ทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGEL126 อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 # 1.2-1.4 # 2.1-2.3 # 3.1-3.2 # 4.1-4.3 # 5.1-5.3 # 6.1-6.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค จำนวนผลการปฏิบัติการทดลองในแต่ละการทดลอง สอบปฏิบัติ 4 9 12 17 1-8 , 10-16 9,17 70%
2 #1.3, #1.3 การเช็คชื่อการเข้าชั้นเรียน การแต่งกายและการทำผิดวินัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 # 1.2-1.4 # 2.1-2.3 # 3.1-3.2 # 4.1-4.3 # 5.1-5.3 # 6.1-6.2 การทำงานแบบกลุ่มโดยการทำชิ้นงานย่อย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 #1.3, #2.1, #3.2, #5.2 #6.1 การทำแบบฝึกหัด การจำลองการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทางอุตสาหกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. Fundamentals of  Industrial Electronics. 2nd  M. Wilamowski, J. David Irwin, CRC Press, 2011. 2.  Modern Industrial Electronics. 5th Timothy J. Maloney, Monroe County Community College,  Prentice Hall, 2004. 3. Power Electronics: Circuits, Devices & Applications. 4rd   Muhammad H. Rashid, Pearson Education, 2004. 4.  Sensors and Transducers, 2nd D. Patranabis , PHI, 2009. 5. อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ตำราเรียนด้วยตนอง
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา         1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน         1.2  แบบประเมินผู้สอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตของผู้สอน 2.2   ผลการดำเนินงานในการทำการทดลองประกอบวงจรของนักศึกษาในห้องปฏิบัติการ 2.3   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.4   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2.1-2.4 จะมีการปรับปรุงการสอน โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้สอนในรายวิชาที่สัมพันธ์กัน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชาจะจัดให้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา โดยการสอบถามนักศึกษาหรือการตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย การทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น 4.2   มีการตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยสุ่มตรวจสอบข้อสอบ การให้คะแนนสอบ 4.3  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบรายงานผลการปฏิบัติงาน วิธีการให้คะแนนผลงานและการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงหัวข้องานที่มอบหมายและวิธีการสอน สื่อประกอบการสอน ตามข้อเสนอแนะที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เข้าทำการสอนร่วมในห้องปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสภาพและปัญหาของนักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ 5.3   ปรับปรุงหัวข้องานที่มอบหมายและจัดลำดับหัวเรื่องการทดลองใหม่ 5.4   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้ควบคุมการทดลอง 5.5   เปลี่ยนแนวทางในการควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติงานของนศ.