อาหารตะวันตก

Western Cuisine

1.1 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจวัฒนธรรมการรับประทานอาหารของอาหารตะวันตก 1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องปรุง วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการ ประกอบอาหารตะวันตก 1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถจัดเตรียมและประกอบอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และใช้ เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาหารตะวันตก 1.4 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดรายการอาหารประเภทต่าง ๆ และผสมผสาน ความรู้ที่ได้มาพัฒนาและประยุกต์รายการอาหารตะวันตก
เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหารตะวันตก ประเภทของอาหาตะวันตก วัตถุดิบเครื่องปรุงและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหารตะวันตกที่อยู่ในความนิยม ศิลปะการตกแต่งอาหารตะวันตก
3.1 วัน จันทร์ - ศุกร์ เวลา ห้องพักอาจารย์สาขาอุตสาหกรรมเกษตร โทร. 094-6264296 3.2 e-mail; k3anpoas@gmail.com เวลา 09.00 - 21.00 น. ทุกวัน
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับวินัยในชั้นเรียน การตรงต่อเวลา และพฤติกรรมในการเรียน 2. สอนแทรกคุณธรรม จริยธรรม ในคาบเรียน โดยเน้นการมีจิตสำนึก การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม การปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม 3. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้อื่น โดยให้ระบุที่มาขอแหล่งข้อมูลอย่างชัดเจน
1. จากการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล มีการอ้างอิงเอกสารอย่างถูกต้องและเหมาะสม 2. จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลาและมีประสิทธิภาพและการเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ 3. จากการสอบถามการดำเนินชีวิตประจำวันของนักศึกษา
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 3. สามารถบูรณาการความรู้กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
1. บรรยายและฝึกปฏิบัติในห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติการ 2. จัดกิจกรรมการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ เช่น สื่ออิเลกทรอนิกส์ แล้วนำมาอภิปรายในชั้นเรียน 4. มอบหมายให้นำเสนอผลงาน ทั้งในรูปแบบรายงานและปากเปล่า 5. มอบหมายให้นักศึกษานำภาษาที่เรียนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ นอกห้องเรียน
1. จากการทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาคด้วยข้อสอบข้อเขียน 2. จากงานที่มอบหมายให้นักศึกษาทำในแต่ละบทเรียน 3. จากการซักถาม โต้ตอบ 4. จากการสังเกตความสนใจและความตั้งใจในการทำกิจกรรม
1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. ฝึกการเขียนรายงานการประกอบอาหารได้อย่างเป็นขั้นตอนและหาแนวทางแก้ไขได้ (Solving Problem) 2. เชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะบรรยายเพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงการพัฒนาองค์ความรู้ในปัจจุบันเพื่อให้เกิดปัญญาในการคิดวิเคราะห์แยกแยะได้
1. ปฏิภาณไหวพริบในการตอบข้อซักถามอาจารย์ 2. พิจารณาจากการทำงานรวมกลุ่ม การประสานงานและรักษาอำนาจหน้าที่ในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี 3. การเก็บคะแนนกลางภาคและปลายภาค
1. มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม 2. มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องและตรงตามมาตรฐาน
1. จัดกิจกรรมกลุ่มหรือการทำงานร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน
1. ประเมินผลจากการทำงานเสร็จตรงเวลามีความรับผิดชอบทั้งต่ออาจารย์ และเพื่อนในกลุ่มได้ 2. การเก็บคะแนนย่อย
1. มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการสรุปประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร รู้จักเลือกรูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่อง และผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทางเว็บไซต์ แล้ววิเคราะห์พร้อมกับนำเสนอ ทั้งแบบบรรยาย พร้อมกับบอกแหล่งอ้างอิง 2. นำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ข้อสอบเก็บคะแนนย่อย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BSCFN137 อาหารตะวันตก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 3.1,5.3 การสอบกลางภาค 9 20
2 2.1, 3.1,5.3 การสอบปลายภาค 17 20
3 2.1, 3.1,5.3 การสอบปฏิบัติงานอาหาร 8 และ 16 30
4 1.3, 2.1, 4.3, 5.2, 5.3 -การส่งงานตามที่มอบหมาย -การศึกษาค้นคว้าและการนำเสนอ -การเข้าร่วมกิจกรรมและการฝึกปฏิบัติ -การทำงานกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 20
5 1.2, 4.1, 4.3 - จิตพิสัย - การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
เอกสารประกอบการสอน อ.ธีรกัญญา ตั้งสุวรรณรังษี 2562. ศิลปะการประกอบอาหารนานาชาติ สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและภัตตาคาร มหาวิทยาลัยรังสิต
เอกสารประกอบการสอน ผศ.ดารามาศ แก้วแดง 2562. พื้นฐานอาหารตะวันตก สาขาวิชาธุรกิจอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
American Culinary Federation. 2006. Culinary Fundamentals. Pearson Education, Inc.:New Jersey, USA. Gisslen W. 2011. Professional cooking. John Wiley &Sons: New York,USA
เวปไซต์เกี่ยวกับการจัดเลี้ยง Cooking / Culinary / western food เป็นต้น
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 2.แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 3.ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ร่วมสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 มีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดประชุมเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา เช่น การสอบถามนักศึกษา การตรวจผลงานของนักศึกษา หรือผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย