ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิต

English for Life Skills

1. มีความรู้ ความเข้าใจ คำศัพท์ และสำนวนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิต สังคมวัฒนธรรม และการทำงาน  2. มีทักษะการฟัง และการอ่านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม และสถานการณ์ในที่ทำงาน   3. มีทักษะการพูด และการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ สถานการณ์ในการดำรงชีวิตและการทำงานในปัจจุบัน ประเด็นทางสังคม และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน4. มีทักษะการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษสืบค้นข้อมูล และศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์   5. ใช้กลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในบริบทสังคมปัจจุบัน   6. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
เพื่อปรับกระบวนการรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณสมบัติบัณฑิตนักปฏิบัติอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิต สังคม วัฒนธรรม และการทำงาน
Practice English listening, speaking, reading and writing skills related to life, social, cultural and work situations
 
 
 -   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าห้องพักอาจารย์
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรร
2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
4. เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
Lecture
     
1. การแสดงออกและการมีส่วนร่วม
2. การส่งรายงานตรงเวลา
3. ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็น      องค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
(1)    มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
(2)    สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
(3)    สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. Lecture
2. Flipped classroom
3. Cooperative Team Learning
4. Blended learning
5. Jigsaw Reading
6. Brainstorming
7. Role play
1. การแสดงออกและการมีส่วนร่วม
2. แบบฝึกหัด
3. ตอบคำถามปากเปล่า
4. สมมติบทบาท
5. การนำเสนอ
6. การสอบกลางภาคและปลายภาค
นักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ นำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาและจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
(1) มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
(2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1. Lecture
2. Flipped classroom
3. Cooperative Team Learning
4. Blended learning
5. Jigsaw Reading
6. Brainstorming
7. Role play
1. การแสดงออกและการมีส่วนร่วม
2. แบบฝึกหัด
3. ตอบคำถามปากเปล่า
4. สมมติบทบาท
5. การนำเสนอ
6. การสอบกลางภาคและปลายภาค
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องได้รับการฝึกประสบการณ์เพื่อเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับบุคคล และกลุ่มบุคคลต่างๆ โดยอาจารย์ผู้สอนต้องแนะการวางตัว มารยาทในการเข้าสังคม และพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้
 
มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. Cooperative Team Learning
2. Role play
1. การแสดงออกและการมีส่วนร่วม
2. สมมติบทบาท
3. การนำเสนอ
นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชา และพัฒนาทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
(1)         เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
(2)         สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
(3)    ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และ
         สอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
1. Cooperative Team Learning
2. Blended learning
3. Jigsaw Reading
4. Brainstorming
5. Role play
1. การแสดงออกและการมีส่วนร่วม
2. สมมติบทบาท
3. การนำเสนอ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1.1, 1.2,2.3 Test 1-2 8,16 20%
2 หน่วยที่ 2.3, 3.2, 4.2, 5.3 Mid-term Online Exam 15% 9 15%
4 หน่วยที่ 2.3 Final Online Exam 15% 17 30%
5 2.3, 3.2, 4.2, 5.3 งานมอบหมาย 1. การเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบไม่เป็นทางการเพื่อโต้ตอบระหว่างคู่ Writing and responding an informal email with your peers : describing past events (Unit 7-8) (Individual work) 2. การนำเสนอหรือแสดงบทบาทสมมติเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมกับคู่สนทนา/หรือเพื่อน Pair work or group work presentation (oral/video): using comparative or superlative of adjectives to describing culture, city, traditions, or festival (Unit 10) The integration of local or international Culture 3. การนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนขอมูลระหว่างกันกับสมาชิกในกลุ่มเกี่ยวกับประสบการณ์การเดินทางทั้งในและต่างประเทศ Presentation (oral group presentation): Talking about one’s journey 10% (Unit 12) 4,11,14-15 30%
6 1.1,1.2,2.3 Class attendance ทุกสัปดาห์ 5%
7 2.3 EDP ทุกสัปดาห์ 10%
8 2.3 E-learning (online practice) 3-7, 11-15 5%
 
หนังสือเรียน Headway Elementary 5th edition แต่งโดย Liz & John Soars, Sue Merifield
หนังสือแบบฝึกหัด Headway Elementary 5th edition แต่งโดย Liz & John Soars, Jo McCaul
แบบฝึกหัดออนไลน์จากเว็บไซต์ www.headwayonline.com
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชาและแบบฝึกหัดออนไลน์
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา ดำเนินการดังนี้
1. นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
2. การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
3. ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียนผ่านระบบ online
2.2 สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
2.3 ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดออนไลน์แต่ละบทเรียนและความเข้าใจเนื้อหา
2.4 ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษาผ่านระบบ online/onsite
3. การปรับปรุงการสอน
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
3.1   ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
3.2   สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียนและปรับปรุงแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับรูปแบบการสอนผ่านระบบออนไลน์
3.3   สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งเพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อไป
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและรายงานโดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้าหรือไม่มี จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้นหรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
 การวางแผนการปรับปรุงการสอนและเนื้อหาวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ทบทวนเนื้อหาในบทเรียนรวมถึงกำหนดให้มีการบูรณาการเนื้อหาการเรียนรู้หรือกิจกรรมทางวัฒนธรรมกับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการนำเสนองานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้   โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
5.2   มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปีให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันและตามสภาวการณ์ใหม่ๆเช่น ในกรณีสถานการณ์ COVID 19  ได้มีการปรับแผนการประเมินผลการเรียนรู้  ให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Online
5.3   ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลายและสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียนหรือตามที่ได้ศึกษาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนทั้งแบบ onsite และonline
5.4  ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาและของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี