เขียนแบบวิศวกรรม

Engineering Drawing

ผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรี ที่มีความรู้ความสามารถในการเขียนแบบทางวิศวกรรมตามมาตรฐานสากล สำหรับงานทางวิศวกรรมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตามหลักวิชาการทางด้านพื้นฐานเขียนแบบวิศวกรรม เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านวิศวกรรมในสภาพปัจจุบัน
เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมในสภาพปัจจุบันได้ ผลิตวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถพื้นฐานทางด้านงานเขียนแบบทางวิศวกรรมตามมาตรฐานสากลได้  สามารถเข้าใจหลักการและขั้นตอนการปฏิบัติงาน การเขียนตัวอักษร การมองภาพการเขียนภาพออร์โธกราฟิก และการเขียนภาพ 3 มิติ การกำหนดขนาดและพิกัด  ความเผื่อ  ภาพตัด ภาพช่วยและแผ่นคลี่ การสเก็ตภาพด้วยมือ การเขียนภาพแยกชิ้นและภาพประกอบได้ พร้อมทั้งให้นักศึกษาสามารถที่จะบอกถึงหลักการพื้นฐานของการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการใช้คำสั่งในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบและออกแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรม
         ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการเขียนตัวอักษร การมองภาพ การเขียนภาพออร์โธกราฟิก และการเขียนภาพสามมิติ การกำหนดขนาดและพิกัดความเผื่อ ภาพตัด ภาพช่วยและแผ่นคลี่ การสเก็ตภาพด้วยมือ การเขียนภาพแยกชิ้นและภาพประกอบ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบและออกแบบ
อาจารย์ผู้สอนสามารถให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา หลักเวลาเลิกเรียนตั้งแต่เวลา 16.00-17.00 น. (เฉพาะรายที่ต้องการ)
คุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นวิศวกรจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ  ได้แก่
    1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
   1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับ ความสำคัญเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
   1.1.3 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
   1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 กำหนดนโยบายการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียน การส่งงานและการนำเสนอผลงานรวมถึง มอบหมายงาน กำหนด ติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
              1.2.2 ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน ซักถาม ให้ความเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ผลงานมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
              1.2.3 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างหลักการเขียนแบบทางวิศวกรรม พร้อมทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์และการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง
   1.2.4 มีการให้ความรู้ถึงผลกระทบต่อสังคม และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.1  ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลา
   1.3.2  ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เช่น การตั้งคำถาม การตอบคำถาม การ นำเสนอ การแสดงความคิดเห็น การให้ข้อเสนอแนะ การรับฟัง และการปรับปรุงแก้ไขผลงาน
   1.3.3  สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง
   1.3.4  ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างถูกต้อง
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนแบบ และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
               2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
               2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
               2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น การเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
               2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.2.2 ให้นักศึกษาปฏิบัติการทางด้านงานเขียนแบบโดยการนำหลักทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีได้
2.2.3 การวิเคราะห์ศึกษาแบบชิ้นงานตัวอย่าง โดยการมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้า การนำมาสรุปและนำเสนอด้วยการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2.3.1 ประเมินจากแบบทดสอบด้านทฤษฎี สำหรับการปฏิบัติประเมินจากผลงานและการปฏิบัติการในรายวิชา
2.3.2 ประเมินจากผลการปฏิบัติงานทางด้านการเขียนแบบโดยการนำหลักทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้
2.3.3  พิจารณาจากงานที่มอบหมาย
3.1.1  มีการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 
3.1.2 มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมาตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในงานจริงได้
3.1.3 สามารถแก้ปัญหาทางงานเขียนแบบวิศวกรรมได้โดยนำหลักการต่างๆมาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม
3.1.4 มีความใฝ่หาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ
3.2.1  มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ในการนำเทคนิควิธีการในการเขียนแบบมาประยุกต์ใช้
3.2.2  ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหาเน้นการนำมาใช้ปฏิบัติงานจริง
3.2.3  การมอบหมายให้นักศึกษาทำหัวข้องานที่ให้เน้นการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งการนำเสนอผลงาน
3.2.4  เน้นการศึกษาค้นคว้าทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ
3.3.1  ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
3.3.2  ประเมินจากรายงานผลการดำเนินงานและการแก้ปัญหา
3.3.3  ประเมินจากผลงานการศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสารและผลการนำเสนอ
3.3.4  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.1.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.1.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.1.4 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.2.1 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังผู้อื่นด้วยเหตุผล
4.2.2 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3 ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
4.2.4 ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
4.3.1 ประเมินผลจากแบบประเมินตนเองและกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2 ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
4.3.3  สังเกตผลจากการนำเสนองานโดยอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียน
4.3.4  สังเกตพฤติกรรมการระดมสมองในการมอบหมายงานกลุ่ม
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพทางวิศวกรรมได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
5.1.2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอผลงาน
5.1.3 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.2.1  มุ่งเน้นการใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
5.2.2  มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆและให้นักศึกษานำเสนอในเรียน
5.2.3  ส่งเสริมการนำเสนองานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1  สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านทักษะการใช้งานเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้ทางวิชาชีพ
5.3.2  สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านการสื่อสาร ทั้งการพูดและเขียนให้ผู้อื่นรับทราบและมีการบันทึกเป็นระยะ
5.3.2  ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานในรูปของเทคโนโลยี
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.2.1  สาธิตด้านการปฏิบัติการ โดยอาจารย์ผู้สอน
6.2.2  ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและถูกต้อง
6.3.1  ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการจดบันทึก
6.3.2  พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 2.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติใน เนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม 3.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ 4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 5.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1 ENGCC301 เขียนแบบวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2 ,5.4, 6.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 18 10% 25% 10% 25%
2 1.2,3.5,6.1, 3.5 ,5.4 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตรงต่อเวลา รายงาน ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.2,4.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
มานพ ตัณตระบัณฑิตย์ , ไชยันต์ สิริกุล .เขียนแบบวิศวกรรม มาตรฐานญี่ปุ่น (JIS) . พิมพ์ครั้งที่ 1 .กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย – ญี่ปุ่น), 2557    ชาญฉจิต วรรณนุรักษ์ (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชาเขียนแบบวิศวกรรม.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
อำนวย อุดมศรี . เขียนแบบวิศวกรรม . บริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด . กรุงเทพฯ . 2540 COLIN H.SIMMONS , DENNIS E.MAGUIRE , NEIL PHELPS.MANUAL OF ENGINEERING DRAWING.THIRD EDITION . Printed and bound in Great Britain , 2009 Henry Cecil Spencer , John Thomas Dygdon , James E. Novak . BASIC TECHNICAL DRAWING . Glencoe McGraw-Hill. 2000 K.Venkata Reddy.2008.Textbook of ENGINEERING DRAWING.BS Publications , 2008
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ