จริยธรรมและกฎหมายสารสนเทศ

Ethics and Information Law

  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อบังคับ นโยบาย สิทธิความเป็นส่วนตัว และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในอาชญากรรมจากการใช้เทคโนโลยี ภัยคุกคามของระบบสารสนเทศ ประเด็นทางวิชาชีพและจริยธรรม
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและสอดคล้องกับหลักกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่บัญญัติและบังคับใช้ในปัจจุบัน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการใช้ชีวิตต่อไป
ศึกษาผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมออนไลน์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อบังคับ นโยบาย สิทธิความเป็นส่วนตัว กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งไทยและสากล อาชญากรรมจากการใช้เทคโนโลยี ภัยคุกคามของระบบสารสนเทศ ประเด็นทางวิชาชีพและจริยธรรม องค์กรวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
Study of social and cultural impact of information technology and online communities, laws related to information and information technology, regulations, policy, privacy, Thai laws and international laws related to information technology,  technological usage crime, threats of information system, professional and ethical issues, professional organization of information technology.
     3.1 อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านป้ายประกาศและเว็บไซต์ Facebook หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ
    3.2  อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาผ่าน email: wiraiwans@rmutl.ac.th
    3.3  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหลังเลิกเรียนทุกวันพุธ เวลา 15.00 น. ถึง 17.00 น.
1.  ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral)
˜1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรมจริยธรรมเสียสละและซื่อสัตย์สุจริต
˜1.2 มีวินัยตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองวิชาชีพและสังคม
˜1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
˜1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
˜1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
˜1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
˜1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.          ให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้แต่ละบุคคลในกลุ่มรับผิดชอบอย่างชัดเจน
2.          ให้นักศึกษามีการอภิปรายร่วมทั้งกลุ่มเรียนหลังจากการค้นหาข้อมูลกลุ่มย่อยแล้ว เพื่อสรุปปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
3.          ให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์หาทางแก้ปัญหา จากโจทย์ปัญหาหรือกรณีตัวอย่างที่อาจารย์สร้างขึ้น
4.          ให้นักศึกษามีการฝึกปฏิบัติการจริง ซึ่งจะก่อให้เกิดประสบการณ์ในการทำงานในอนาคต  
 
     สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาเป็นรายบุคคล ทำการสุ่มในการอภิปรายหน้าชั้นเรียน เขียนสรุปหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองในแต่ละครั้งที่มีการทำงานกลุ่ม ทำการสอบประเมินผลปลายภาคการศึกษาเน้นการใช้วิธีการวัดหลากหลายตามเนื้อหาและกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน ผลการประเมินต้องสะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าของผู้เรียน
 
2.  ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge)
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
š2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหาเข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
š2.3 สามารถวิเคราะห์ออกแบบติดตั้งปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่างๆของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด
š2.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์รวมทั้งการนำไปประยุกต์
š2.5 รู้เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
˜2.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
š2.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
š2.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
 
- การให้ภาพรวมของความรู้ก่อนเข้าสู่บทเรียน การสรุปย้ำความรู้ใหม่หลังบทเรียนพร้อมกับเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม เลือกใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ
- ใช้รูปแบบการสอนในหลากหลายรูปแบบ เช่นการบรรยาย ยกตัวอย่างประกอบการเรียนการสอน การอภิปรายกลุ่ม
- กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
 
 
- ประเมินจากการสอบข้อเขียน
- ประเมินจากผลงานระหว่างภาคเรียน เช่น การบ้าน การเขียนรายงาน การนาเสนอรายงานการค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
3.  ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องš3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
˜3.2 สามารถสืบค้นตีความและประเมินสารสนเทศเพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 65
š3.3 สามารถรวบรวมศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
š3.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
 
- การมอบหมายงาน กรณีศึกษา หรือ สถานการณ์จำลอง ที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ และ แก้ปัญหา
- การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
- ประเมินจากการสอบข้อเขียนด้วยโจทย์ที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญา
- ประเมินจากผลงานแก้ไขปัญหาที่ได้รับมอบหมาย
4.  ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility)
˜4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
˜4.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเเก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
˜4.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
˜4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
š4.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
š4.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
 
         
 
- มอบหมายงานทั้งรายบุคคลและกลุ่ม เช่น แบบฝึกหัด หรือรายงาน
- จัดกิจกรรมกลุ่ม เพื่อส่งเสริมให้มีมนุษยสัมพันธ์ร่วมกัน
 
 
 
- ประเมินพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และ ความครบถ้วนชัดเจนของข้อมูล   
5.  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical  Analysis, Communication and Information Technology Skills)
š5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
˜5.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
˜5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียนเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
˜5.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม
 
 
 
 
 
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอในรูปเอกสาร
 
 
 
 
 
 
- ประเมินจากความสามารถในการอธิบายเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการนำเสนองานต่อชั้นเรียน
- ประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา (Ethics and Moral) 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา (Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา (Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.2 มีวินัยตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม 1.4 เคารพสิทธิ์และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิศรีของความเป็นมนุษย์ 1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม 1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์รวมทั้งประยุกต์ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา 2.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ 3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ 3.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 4.3 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม 5.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
1 BSCCT302 จริยธรรมและกฎหมายสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.6 2.1, 2.6 2.1, 2.6,3.2 2.1, 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 3 สอบปลายภาค 4 7 8 15 17 05% 05% 20% 10% 30%
2 1.1,1.2, 1.4,1.5,1.6, 3.2, 4.3, 5.3, 5.4 พิจารณาจากรายงาน ผลงานของนักศึกษา การนำเสนอรายงาน ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1,1.2,1.4,1.5,1.6, 4.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย การเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
   - พนิดา พานิชกุล. 2553. จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์
                 : กรุงเทพ
-  พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560
     - วิสูตร ธนชัยวิวัฒน์และ อรทัย ธนชัยวิวัฒน์ . 2548. รวมกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ฉบับปรับปรุงใหม่ครบสมบูรณ์ พ.ศ.2549-2551. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์สูตรไพศาล : กรุงเทพฯ.
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสะท้อนคิด จากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
การสังเกตความสนใจของนักเรียน การซักถามในห้องเรียน ผลการตรวจแบบฝึกหัด การบ้านและรายงาน
     1.  แก้ไขข้อบกพร่อง จากแบบประเมินที่นักศึกษาประเมินผู้สอน
     2.  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
          ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ  ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา  ได้จาก  การสอบถามนักศึกษา  หรือการสุ่มตรวจผลงานนักศึกษา  รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย  และหลังการออกผลการเรียน
          -ปรับปรุงรายวิชา ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4           
          - เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหาจากงานวิจัยของอาจารย์
- นำผลการเรียนของนักศึกษามาปรับปรุงประสิทธิภาพของรายวิชา