ปฏิบัติการออกแบบกราฟิก

Practice on Graphic Design

รายวิชานี้มีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้ (นำเสนอโดยเทียบเทียงกับผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และสัญลักษณ์ที่ใช้มีความหมายดังนี้ / หมายถึง ความรับผิดชอบหลัก สัญลักษณ์ X หมายถึง ความรับผิดชอบรอง)

ด้านคุณธรรมจริยธรรม /    1. ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
ด้านความรู้ X    1. รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง X    2. มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
ด้านทักษะทางปัญญา /    2. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ /    2. มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ X    1. สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไปตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านทักษะพิสัย /    2. มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง /    3. มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
 
1. เพื่อเพิ่มการผลิตงานกราฟิกเป็นไปตามคอนเทนต์เข้ากับสื่อออนไลน์ 2. เพื่อพัฒนาให้นักศึกษาปฏิบัติงานกราฟิกเข้าใจและปรับสภาพกับโลกยุคใหม่
ฝึกปฏิบัติวิเคราะห์ข้อมูลวางแนวคิดในการออกแบบกราฟิก ออกแบบสัญลักษณ์ตัวอักษร นามบัตร สิ่งพิมพ์สำหรับองค์กร ออกแบบกราฟิกสำหรับสิ่งแวดล้อม การใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการออกแบบสิ่งพิมพ์
 3.1 อาจารย์ประจำรายวิชา  แจ้งให้นักศึกษาทราบถึงเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรกของการสอน
 3.2 อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 6 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
     - ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
     - สอดแทรกความซื่อสัตย์ ความมีคุณธรรมและจริยธรรมในการออกแบบกราฟิก
     - รู้จัดระเบียบวินัย การตรงต่อเวลาในการออกแบบกราฟิก
     - มีจรรยาบรรณในวิชาชีพออกแบบกราฟิกไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
     - ประเมินจากการเข้าเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
     - ประเมินจากการส่งงานตามเวลาที่กำหนด
     - ประเมินจากผลงานปฏิบัติรายบุคคล


     - ประเมินจากการสังเกตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง (โดยผู้สอน/กลุ่ม
     - รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
     - มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
     - ทำการค้นคว้าลักษณะงานออกแบบกราฟิก
     - ทำการค้นคว้าลักษณะงานออกแบบกราฟิกจากสถานการณ์จริง (การส่งประกวดทางด้านกราฟิก)
     - ประเมินจากผลงานปฏิบัติรายบุคคล
     - ประเมินจากผลงานปฏิบัติกลุ่ม
     - ประเมินจากการสอบปฏิบัติ
     - สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
     - ทำการศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ในงานออกแบบกราฟิก
     - ประเมินจากผลงานรายบุคคล
     - ประเมินจากการนำเสนอ
     - ประเมินจากการสังเกตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง (โดยผู้สอน/กลุ่ม)
     - มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     - ทำการปฏิบัติงานออกแบบกราฟิกสร้างสรรค์ทั้งกระบวนการ ในลักษณะงานกลุ่ม
     - ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
     - ประเมินจากผลงานกลุ่ม
     - ประเมินจากการนำเสนอ
     - ประเมินจากการสังเกตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง (โดยผู้สอน/กลุ่ม)
     - สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไปตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    - ทำการปฏิบัติงานออกแบบกราฟิกประยุกต์ให้เข้ากับสื่อต่างๆ ในเทคโนโลยีปัจจุบัน
    - ประเมินจากผลงานรายบุคคล
      - มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
      - มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
      - ทำการปฏิบัติงานออกแบบกราฟิกจากลักษณะงานจำลอง
      - ทำการปฏิบัติงานออกแบบกราฟิกแบบสร้างสรรค์ รูปแบบและแนวทางของตนเอง
     - ประเมินจากผลงานรายบุคคล
     - ประเมินจากผลงานปฏิบัติกลุ่ม
     - ประเมินจากการสังเกตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง (โดยผู้สอน/กลุ่ม)
     - ประเมินจากการสอบปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 1 2 2 2 1 2 3
1 BAACD111 ปฏิบัติการออกแบบกราฟิก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1(1) 2(2),2(3) 3(2) 4(2) 6(2),6(3) การเข้าเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การสังเกตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง และสถานการณ์จริง 1-15 5
2 1(1) การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ความซื่อสัตย์ในการทำงานและการอ้างอิง 1-15 5
3 1(1) 2(2),2(3) 3(2) 5(1) 6(2),6(3) ผลงานรายบุคคล (งานสร้างแนวคิดในการออกแบบกราฟิก, การลอกเลียนแบบผลงานออกแบบกราฟิก, การออกแบบตราสัญลักษณ์, การออกแบบลวดลายกราฟิก, การออกแบบกราฟิกในสำนักงาน, การออกแบบโปสเตอร์ ) 1-8 40
4 2(2),2(3) 4(2) 6(2),6(3) ผลงานกลุ่ม (การออกแบบกราฟิกตัวอักษร, การออกแบบกราฟิกสิ่งแวดล้อม) 9-15 20
5 3(2) 4(2) การนำเสนอ (นำเสนองานออกแบบกราฟิก) 8,12,15,16 10
6 2(2),2(3) 6(2),6(3) การสอบปฏิบัติ (สอบปฏิบัติงานออกแบบกราฟิก ทั้งสอบกลางภาค สอบปลายภาค) 9,17 20
   Graphic Design The New Basics / Ellen Lupton และ Jennifer Cole Phillips สหทัศน์ วชิระ 
   นกศูล แปล
   Be graphic สู่เส้นทางกราฟิกดีไซเนอร์ / โสรชัย นันทวัชรวิบูลย์
   Graphic Design school / David Dabner Sandra Stewart Eric Zempol จุติพงศ์ ภูสุมาศ สุวิสา แซ่อึ่ง
   แปล
   Graphic Design Thinking / Ellen Lupton จุติพงศ์ ภูสุมาศ แปล
   Graphic Design Quiz ออกแบบอย่างไรให้สวย? Vol1 / Kumiko Tanaka Hiroshi Hara Akiko Hayashi
   Junya Yamada ณิชมน หิรัญพฤหษ์ แปล
   การออกแบบสิ่งพิมพ์ / อารยะ ศรีกัลป์ยาณบุตร
   บันทึกบรรยาย  ชนิด หน้าตา เผชิญหน้า อักษร / คัดสรรดีมาก
   Type on screen ออกแบบและใช้งานตัวอักษรสำหรับสื่อสมัยใหม่ / Ellen Lupton สุวิสา แซ่อึ่ง แปล
   หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์ = Graphic design principles / ปาพจน์ หนุนภักดี ;     
   ปิยะบุตร สุทธิดารา, บรรณาธิการ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ