ทักษะพื้นฐานทางการเกษตร

Basic Skills for Agriculture

1.1 ให้ความรู้พื้นฐานทางด้านการเกษตร
1.2 สามรถปฏิบัติงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้
1.3 มีคุณธรรม จริยธรรม สำนึกในจรรยาของวิชาชีพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรับผิดชอบต่อสังคม
1.4 มีทัศนคติและเจตนคติที่ดีต่อวิชาชีพการเกษตร
อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ในปัจจุบันมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ซึ่งก้าวหน้ากว่าการเรียนการสอนตามหลักสูตรเก่า ดังนั้นนักศึกษาในปัจจุบันต้องมีทักษะพื้นฐานทางการเกษตรทั่วไปทุกด้าน เนื่องจากการเกษตรในปัจจุบัน เป็นการบูรณาการจากความรู้หลายๆด้าน ถึงแม้จะมุ่งเน้นการประกอบอาชีพทางการผลิตสัตว์ก็ตาม
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการเกษตร ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์พื้นฐานการเกษตร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
Practice on basic of agriculture, skill on using tool and equipment rerated to agriculture as well as team work.
-
1.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
1.2 มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
 
บรรยายและการสอนฝึกปฏิบัติการ
1.งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
2.การสังเกต
2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
สอนฝึกปฏิบัติการ
งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
สอนฝึกปฏิบัติการ
งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
4.1ภาวะผู้นำหมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
1.การสอนฝึกปฏิบัติการ
2.การสอนโดยการอภิปรายกลุ่มแบบต่าง ๆ
1.งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
2.การสังเกต
5.1 มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
5.2 ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
-
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณ 2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ 2.2 มีความรอบรู้ 3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ 3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ 4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ 4.1ภาวะผู้นำ 5.1 มีทักษะการสื่อสาร 5.2 ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
1 BSCAG002 ทักษะพื้นฐานทางการเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2, 3.1,3.3 4.1,4.2 1.งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง 2.การสังเกต 3.การทำงานกลุ่มและผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 90%
2 4.2 1.การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ มทร.ล้านนาพิษณุโลก 2.การสังเกตุ ตลอดภาคการศึกษา 10%
-
-
-
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- การสนทนากลุ่มและสุ่มสอบถามรายตัว ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
- สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
- คำตอบและข้อคิดเห็นของนักศึกษาจากการถามตอบปากเปล่า
- สัมมนาจัดการเรียนการสอน
- สุ่มวิธีการให้คะแนน และการให้คะแนนพฤติกรรมโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน