การศึกษาอิสระทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

Independent Study in Food Science and Technology

1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานด้าน การกำหนดปัญหาและสมมุติฐานของศึกษาค้นคว้าในหัวข้อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร การสืบค้นข้อมูลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร การวางแผนโครงฯ การเขียนโครงร่างฯ ดำเนินการฯ ตามหัวข้อที่สนใจศึกษาที่ผ่านการเห็นชอบแล้วจากคณะกรรมการฯ
1.2 สามารถวิเคราะห์และคำนวณ เขียนและสอบป้องกันหัวข้อที่สนใจศึกษา และส่งรูปเล่มรายงานวิจัยหัวข้อที่สนใจศึกษาฉบับสมบูรณ์
1.3 สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านศึกษาค้นคว้าในหัวข้อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารกับองค์ความรู้อื่นๆในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ และเพื่อปรับปรุงรายละเอียดของวิชาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์
ศึกษาค้นคว้าในหัวข้อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารทางด้านทฤษฎีและทางปฏิบัติภายใต้การเห็นชอบของคณะกรรมการประจำหลักสูตรโดยมีอาจารย์ที่ปรึกษากำกับดูแลวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาหรือสำรวจปัญหา และทำการวิจัยในหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ พร้อมทั้งนำเสนอและส่งผลงาน
3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าหัวข้อทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หรือโจทย์ปัญหาจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร
2. มีการปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งงาน/หน้าที่รับผิดชอบ ประชุมกลุ่มเพื่อหาข้อสรุปสำหรับงานที่ได้รับมอบหมาย และจัดทำเอกสารหรือรายงาน
1. ประเมินผลการทำงาน ความรับผิดชอบจากการปฏิบัติงานของนักศึกษาตั้งแต่การคัดเลือกหัวข้อ การนำเสนอผลงาน และการจัดทำรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ ตามกำหนดเวลาในแต่ละขั้นตอน
2. ประเมินการนำเสนอผลงานในรูปแบบ powerpoint กับอาจารย์ประจำวิชา
1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
2. มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
3. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
1. อธิบายข้อปฏิบัติของการจัดทำรายงานการค้นคว้าอิสระ รูปแบบการนำเสนอผลงาน ชี้แจงวิธีการประเมินผลแก่นักศึกษาและสังเกตความสนใจและซักถามความเข้าใจ ระหว่างการบรรยาย
2. นักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่ตนเองสนใจหรือตามโจทย์ปัญหาที่ได้จากสถานประกอบการ  ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ผล รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล  เขียนรายงาน
1. อาจารย์ประจำวิชาจะประเมินนักศึกษาในส่วนของรายละเอียดเนื้อหาที่นำเสนอ ความเข้าใจในงานของนักศึกษา คือนักศึกษามีความสามารถในการอธิบายเนื้อหา และมีไหวพริบในการตอบข้อซักถามนอกจากนี้ยังประเมินในด้านความชัดเจนของสื่อ การลำดับเรื่อง เนื้อหาที่นำเสนอจะต้องมีความสัมพันธ์กับสื่อที่ใช้ในการนำเสนอ
2. อาจารย์ประจำวิชาจะประเมินงานในส่วนของการจัดทำรูปเล่มการค้นคว้าอิสระโดยประเมินจากความรู้ความเข้าใจในงาน  ความรับผิดชอบระหว่างการดำเนินงาน และการเขียนในเชิงวิชาการ
3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ  เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
1. ชี้แจงให้นักศึกษามีทักษะที่ดีในการค้นคว้าอิสระ  มีทักษะในการจัดทำรูปแบบการนำเสนอผลงาน และชี้แจงวิธีการประเมินผลแก่นักศึกษา           
2  อธิบายวิธีการดำเนินการค้นคว้าอิสระ ตามคำแนะนำของอาจารย์ประจำวิชา
3 กระตุ้นด้วยการตอบคำถามและซักถามในชั้นเรียน
การนำเสนอและการตอบคำถาม
4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม
4.2 สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพและแก้ไขข้อขัดข้องได้อย่างเหมาะสม
4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ
4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. มอบหมายนักศึกษาติดต่อและเข้าพบกับผู้ประกอบการ เพื่อสอบถามปัญหาในกระบวนการผลิต หรือความต้องการของผู้ประกอบการ อาจต้องปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เข้าใจแนวทางที่จะแก้โจทย์ปัญหา
2. กำหนดให้นักศึกษาส่งหัวข้อที่จะศึกษา  กำหนดการนำเสนองานหัวข้อ กำหนดการรายงานความก้าวหน้า และกำหนดการส่งรายงานการค้นคว้าอิสระ
3. สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา
1. ทำงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด และคุณภาพของงานเป็นไปตามที่กำหนด
2. ตรวจสอบความสม่ำเสมอในการเข้าพบตามนัดหมายของนักศึกษา และพฤติกรรมที่เหมาะสมในชั้นเรียน
 5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอ  เพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการกับข้อมูลต่างๆ อย่างเหมาะสม
5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรม และสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.7 สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้และเหมาะสม
1. มอบหมายงานในการสืบค้นหัวข้อการค้นคว้าอิสระทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร แนะนำแหล่งสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและวารสารที่เกี่ยวข้อง
2. นำเสนอข้อมูลในชั้นเรียนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสม
ประเมินการนำเสนอ ความต่อเนื่องของเนื้อหา ความเข้าใจ การสรุปประเด็นปัญหา ด้วยสื่อและใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ รวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
นักศึกษามีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในการทดลองเพื่อหาคำตอบให้กับโจทย์ปัญหาหรือหัวข้อที่สนใจ  มีการแนะนำทักษะการปฏิบัติ /การวางแผนงานเพื่อจัดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้เหมาะสม
ประเมินความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ุ6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 BSCFT106 การศึกษาอิสระทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ประเมินมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 6 ด้าน เน้นความรับผิดชอบหลักในแต่ละด้านโดยใช้แบบประเมินของมหาวิทยาลัยหรือคณะหรือหลักสูตร ประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U) เมื่อสิ้นสุดการศึกษาอิสระทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
ตำรา เอกสาร รายงานการวิจัย วารสารทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่นักศึกษาทำการศึกษา
วารสารระดับชาติ วารสารระดับนานาชาติ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
http://www.foodnetworksolution.com
http://www.sciencedirect.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.2 การทำแบบประเมินการสอนโดยผู้เรียน ที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อเปิดโอกาศให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น
1.3 ข้อเสนอแนะจากช่องทางที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลประเมินจากความคิดเห็นของนักศึกษา
2.3 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.4 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืองานที่เกี่ยวข้อง