เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ธัญพืชขั้นสูง

Advanced Cereal Product Technology

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้วนักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 มีความรู้และเข้าใจโครงสร้างส่วนประกอบทางเคมีและสมบัติทางกายภาพของธัญพืชชนิดชนิดต่างๆ
1.2 สามารถอธิบายลักษณะและคุณภาพของธัญพืชที่ใช้ในการแปรรูปด้วยวิธีสีและโม่ได้รวมถึงมีทักษะในการแปรรูปเมล็ดธัญพืชด้วยวิธีสีและโม่แป้งธัญพืชชนิดต่างๆ ได้
1.3 มีทักษะในการ ตรวจสอบคุณภาพทางเคมีและกายภาพของเมล็ดธัญพืชและผลิตภัณฑ์
1.4 มีทักษะการแปรรูปเป็นเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆจากธัญพืช และอธิบายการเปลี่ยนแปลง
ทางด้านคุณภาพได้
1.5 อธิบายสาเหตุการเสื่อมเสียและวิธีการเก็บรักษาเมล็ดธัญพืชและผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ได้
1.6 มีทักษะในการจำแนกชนิดและการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้จากการแปรรูปเมล็ดธัญพืชได้
เพื่อพัฒนาและปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ให้ได้มาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร และเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของรายวิชาที่เน้นในด้านความรู้ความเข้าใจทฤษฏีพื้นฐานด้านสมบัติทางเคมีและกายภาพของธัญพืชเพื่อนำความรู้มาพัฒนาทักษะการวิเคราะห์คุณภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์ธัญพืช และการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้จากการแปรรูปเมล็ดธัญพืช จากผลงานวิจัยใหม่ ๆ ในด้านเทคโนโลยีธัญพืชและผลิตภัณฑ์ธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโอ๊ต ที่เป็นอาหารหลักของประชากรทั่วโลก
ศึกษาทฤษฎีและฝึกปฏิบัติด้านเทคโนโลยีขั้นสูงและสมัยใหม่ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากธัญพืช ในกลุ่ม ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวเดือย ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ในส่วนของคุณภาพวัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ การบรรจุ และการเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การใช้ประโยชน์จากของเหลือในอุตสาหกรรมแปรรูปธัญพืช ศึกษาการตลาดและแนวโน้มของการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องและรายงานผลการปฏิบัติการ
Study and practice in advanced processing technology of cereal food product i.e. rice, wheat, corn, sorghum, millet, barley and oat. Study on quality of raw materials, processing techniques, packaging, storage, quality control and product standard, utilization of industrial cereal waste in various products, marketing and cereal product development. Literatures review on a related research and laboratory report.
จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความ
ต้องการ ดังนี้
3.1 มีการปรับเปลี่ยนตามตารางเรียนของแต่ละภาคการศึกษา ณ ห้องพักอาจารย์ อาคารปฏิบัติการอุตสาหกรรมเกษตร
3.2 E-mail; jiratawan@gmail.com, pongjanta@rmutl.ac.th
š1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
˜ 1.2 มีวินัยขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองสังคมและสิ่งแวดล้อม
1.3 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
š1.4 มีสามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมเชิงวิชาการหรือวิชาชีพที่ซับซ้อนโดยสามารถวางแผนจัดลำดับความสำคัญได้
š1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
š1.6 คารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning)
2. การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติการ
- โดยปลูกฝังให้นักศึกษาวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงปริมาณการใช้สารเคมีในการยึดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ตามอนุญาตให้ใช้ได้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และ มีจรรยาบรรณในการรายงานผลการวิเคราะห์งานที่มอบหมายตามจริง
1. งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
2. โครงการกลุ่ม
3. การสังเกต
4. การนำเสนองาน
- ประเมินผลจากการเข้าชั้นเรียน และ รายงานผลการปฏิบัติการที่ตรงเวลา และถูกต้องตามวิชาการและไม่บิดเบือนความจริง
และการใช้ปริมาณสารเคมีในการยึดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานที่อนุญาตให้ใช้ได้
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างทางเคมี-กายภาพของธัญพืช วิธีการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดธัญพืช หลักการแปรรูปธัญพืชและผลิตภัณฑ์
š2.2 สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีความรู้ ความเข้าใจ เข้ากับงานวิจัยและการปฏิบัติทางวิชาชีพอย่างลึกซึ้ง
š2.3 สามารถสร้างความรู้ใหม่ๆ ตลอดจนสามารถประยุกต์ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
š2.4 มีความรู้และตระหนักในระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในสภาพแวดล้อมของระดับชาติและนานาชาติที่อาจมีผลกระทบต่อวิชาชีพ
1. การเรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning)
3. การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติการ
โดยการมอบหมายงานให้มีการค้นคว้าความรู้ใหม่ทางสื่อต่างๆเช่น วารสาร และสื่ออินเตอร์เน็ตและการนำเสนอผลงานค้นคว้าและฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีและกายภาพธัญพืชชนิดต่างๆ ได้อย่างมีทักษะ
1. โครงการกลุ่ม
2. การสังเกต
3. การนำเสนองาน
4. ข้อสอบอัตนัย
5. ข้อสอบปรนัย
- ประเมินผลจากการสอบวัดผลการเรียนรู้ภาคทฤษฎี และ และรายงานผลการปฏิบัติการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
š3.1 ในการนำความรู้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ประเด็นหรือปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างสร้างสรรค์เป็นระบบ
˜3.2 สามารถพัฒนาความคิดใหม่ๆ โดยบูรณาการความรู้ที่ศึกษาตลอดถึงการใช้เทคนิคการวิจัยกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ การ
ในการฝึกปฏิบัติกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหัวหน้ากลุ่มและผู้ปฏิบัติ สังเกตการใช้ทักษะ และให้คำแนะนำ จนสามารถปฏิบัติการ และใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ได้
1. การเขียนบันทึกผลการบฏิบัติการ
2. การนำเสนอรายงานกลุ่ม
3. การสังเกต
4. ข้อสอบปรนัย
5. แบบทดสอบวัดทักษะการปฏิบัติ
โดยติดตามการทำงานของกลุ่มปฏิบัติเสร็จสิ้นตามกำหนดและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ รวมถึงการสอบปฏิบัติการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ธัญพืชเป็นรายบุคคลหลังเสร็จสิ้นการสอนภาคปฏิบัติ
˜ 4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
š 4.2 สามารถแก้ไขปัญหาทางวิชาชีพที่มีความซับซ้อนหรือความยุ่งยากระดับสูงได้ด้วยตนเองสามารถตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเอง
š4.3 สามารถประเมินตนเองได้รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระดับสูงได้
š4.4 ภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นหมู่คณะรวมทั้งแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
š4.5 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning)
2. การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ
โดยบรรยายและให้คำแนะนำ ทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นทีม ซักถามความเข้าใจและร่วมกันแก้ปัญหา ในขณะเรียน แบ่งกลุ่มนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติการและการรายงานผล การปฏิบัติการ
1. งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
2. การนำเสนอรายงานกลุ่ม
3. ประเมินผลจากการสังเกตการปฏิสัมพันธ์และความใส่ใจในการฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพธัญพืชและผลิตภัณฑ์
š5.1 ทักษะในการใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติในการศึกษาค้นคว้าสรุปและเสนอแนะแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š5.2 สามารถนำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าที่สำคัญ
˜5.3 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
˜5.4 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.การเรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning)
2. การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติการ
มอบหมายงานค้นคว้างานวิจัยใหม่ๆ ความรู้ที่เกี่ยวข้องทางอินเตอร์เน็ตหรือแหล่งสารสนเทศอื่นๆ และนำเสนองานด้วยคอมพิวเตอร์
1. ผลงานที่ให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง
2. ผลการนำเสนอรายงานกลุ่ม
3. ผลการสอบปฏิบัติการคำนวณสูตร หาร้อยละของผลผลิตและคำนวณต้นทุนการผลิตด้วยตนเอง สังเกตทักษะการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์และความน่าสนใจ การถามตอบความเข้าใจหลังการนำเสนอ
˜ 6.1 มีทักษะในการปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดธัญพืช และแปรรูปผลิตภัณฑ์ธัญพืชได้มีคุณภาพดีและถูกต้อง มีการนำเสนอรายงานกลุ่มและตรงเวลา
1. การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติการ
1. ผลการปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดธัญพืช และแปรรูปผลิตภัณฑ์ธัญพืชได้มีคุณภาพดีและถูกต้อง
2. ทักษะการนำเสนอรายงานผลการปฏิบัติการ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา (Ethics and Moral) 2.ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3 6.1
1 MSCGT406 เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ธัญพืชขั้นสูง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 - 1.4 , 4.4 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ การมีส่วนร่วมกิจกรรมจิตอาสาในชั้นเรียนระหว่างการเรียนภาคปฏิบัติการ 1-17 10%
2 2.2, 3.1, 5.2, 5.3, 6.1 การทดสอบภาคปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดธัญพืชและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากธัญพืชชนิดต่างๆ 17 25%
3 2.1, 3.2, 4.1, 5,2 การสอบกลางภาคและปลายภาค (แบบอัตนัย และ ปรนัย) 9, 18 40%
4 4.1, 4.2, 5.1, 5.3 การนำเสนอและการส่งรายงานปฏิบัติการ 17 25%
คงศักดิ์ ศรีแก้ว.2563. เทคโนโลยีธัญชาติและผลิตภัณฑ์. อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ

มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม. 262 น.

คงศักดิ์ ศรีแก้ว. 2563. ดัชนีน้ำตาล:หลักการและการประยุกต์ใช้. อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม. 262 น. จิรภา พงษ์จันตา. 2560. เอกสารคำสอน เทคโนโลยีธัญพืชและผลิตภัณฑ์


มทร. ล้านนา 250 น.


อรอนงค์ นัยวิกุล. 2556. ข้าว: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

กรุงเทพฯ 366 น.

American Association of Cereal Chemists (AACC) .2002. Approved methods. The

Association, St. Paul Minnesota. 950 p

A0AC. 2005. Approved Method of the American Association of Cereal Chemists.

Vol. I, II American of Cereal Chemists, Inc. st. Paul, Minnesota. 1,140 p.
จิรภา พงษ์จันตา นิอร โฉมศรี รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา และ รวีวรรณ อิ่นทา .2556. การผลิตเอทานอลจากเจลแป้งข้าวที่เสียจากกระบวนการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว. การประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 21 - 23 ธันวาคม 2555 ภายใต้หัวข้อ “มิติใหม่วิจัยข้าวไทย” ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพมหานคร จิรภา พงษ์จันตา ณงค์นุช นทีพายัพทิศ รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา ณัฐวลินคล เศรษฐปราโมทย์ ธัญญารัตน์ เขื่อนเพชร. 2555. การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวซอยตัดกลิ่นรสผลไม้และยืดอายุการเก็บรักษาข้าวซอยตัด. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 60 หน้า

3. ปัศนีย์ มาเยอ, จินตนา สมวงค์ทวีชัย, อุบลรัตน์พรหมฟังและจิรภา พงษ์จันตา.2559.การพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์มัฟฟินที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำเส้นใยสูง รายงานการประชุมวิชาการนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ. หน้า 290-299
Pongjanta J, Lerdluksamee C (2019) Quality Improvement of Thai Flat Rice Noodle Restructured With Starch Digested Enzyme and RRS III. Adv Nutri and Food Sci: ANAFS-129. ISSN: 2641-6816, 13p. Jirapa Pongjanta Ni-orn Chomsri and Sawit Meechoui.2016. Correlation of pasting behaviors with total phenolic compounds and starch digestibility of indigenous pigmented rice grown in upper Northern Thailand. Functional Food in Health and Disease: 6(3):133-146.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยระบบประเมินการสอนของอาจารย์ในช่องทางออนไลน์จากเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยโดยนักศึกษา และในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาดังนี้
1.การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2.ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมนำเสนองานการค้นคว้าของนักศึกษา
2.2 ผลการทดสอบย่อย
2.3 ผลการสอบปฏิบัติการ
2.4 ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้

ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษาโดยดูจากแบบทดสอบก่อนการเรียน เพื่อปูพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ


การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
         ทางคณะ วทก. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการในการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา โดยวิธีการสัมภาษณ์และประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยตัวแทนนักศึกษา อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำหลักสูตร
         ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา อาจารย์ผู้สอน มีการประเมินผลคะแนนการนำเสนอรายงานกลุ่มหน้าชั้นเรียน และเปิดการอภิปรายในชั้นเรียน โดยยกตัวที่และที่ต้องปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบปฏิบัติการ การส่งรายงานปฏิบัติการ สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 ปรับปรุงรูปแบบของการปฏิบัติการ ให้มีความหลากหลายและทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน