วิศวกรรมซอฟต์แวร์

Software Engineering

มีให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ วงจรชีวิตของซอฟต์แวร์ การประเมินขนาดของซอฟต์แวร์ ผลผลิตของโปรแกรมเมอร์ การควบคุมคุณภาพของซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์ความต้องการ การออกแบบโปรแกรมและแนวทางการเขียนโปรแกรม การบริหารโครงการซอฟต์แวร์ การบริหารความเสี่ยง กลวิธีทดสอบซอฟต์แวร์ การควบคุมคุณภาพโครงการซอฟต์แวร์และการบำรุงรักษา รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพได้
-
ความหมายของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ วงจรชีวิตของซอฟต์แวร์ การประเมินขนาดของซอฟต์แวร์ ผลผลิตของโปรแกรมเมอร์ การควบคุมคุณภาพของซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์ความต้องการ การออกแบบโปรแกรมและแนวทางการเขียนโปรแกรม การบริหารโครงการซอฟต์แวร์ การบริหารความเสี่ยง กลวิธีทดสอบซอฟต์แวร์ การควบคุมคุณภาพโครงการซอฟต์แวร์และการบำรุงรักษา
 3.1 วันศุกร์ เวลา 13.00 - 17.00 น. ห้องมัลติมีเดีย  โทร 055-298465 ต่อ 1151  3.2  e-mail: pensiri@rmutl.ac.th  24 ชั่วโมงทุกวัน
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.  ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral)       1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต       1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม       1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและ ลำดับความสำคัญ       1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความ เป็นมนุษย์       1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม       1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม       1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
การสอนแบบบรรยายพร้อมยกตัวอย่างและฝึกปฏิบัติงาน เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม มอบหมายงานกลุ่มที่เสริมสร้างการวางแผนการทำงาน การทำงานเป็นทีม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย เน้นการเข้าห้องเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายให้ถูกระเบียบของมหาวิทยาลัย มีความซื่อสัตย์โดยไม่ทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านหรือผลงานของผู้อื่น สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการสอนในรายวิชา
พิจารณาจากการส่งงานของนักศึกษาทั้งงานกลุ่มและเป็นรายบุคคลที่เป็นแบบฝึกหัดและงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา การนำเสนองาน การสังเกตพฤติกรรม การเข้าห้องเรียน การแต่งกายถูกระเบียบของมหาวิทยาลัยและการทำงานเป็นกลุ่ม
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
     2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ      2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญูหา      2.3 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบ ต่าง ๆ ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด      2.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์      2.5 รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง      2.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และ เข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ      2.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง      2.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง
การสอนแบบบรรยายและฝึกปฏิบัติ ที่ครอบคลุมเนื้อหาทางทฤษฎีและปฏิบัติทั้งหมดในรายวิชาโดยใช้สื่อประกอบการสอน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาพร้อมให้นักศึกษา วิเคราะห์ปัญหา ร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็น ให้นักศึกษาสืบค้นหาข้อมูลเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชาในชั่วโมงเรียน
ประเมินผลจากแบบทดสอบ การสอบลางภาคและปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นทฤษฎีและปฏิบัติ ประเมินผลจากแบบฝึกหัดและงานที่ได้รับมอบหมาย ประเมินจากการทำรายงานและการนำเสนอ
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
      3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ       3.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่าง สร้างสรรค์       3.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ       3.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
การสอนแบบบรรยายและฝึกปฏิบัติ ที่ครอบคลุมเนื้อหาทางทฤษฎีและปฏิบัติ การมอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงาน นำเสนอผลการศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามเพื่อแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษากับนักศึกษา
ประเมินผลจากแบบทดสอบ การสอบกลางภาคและปลายภาคด้วยข้อสอบที่เป็นทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ประเมินจากการทำรายงานและการนำเสนอ สังเกตพฤติกรรมในการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
     4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ      4.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆใน กลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน      4.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม      4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม      4.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อม ทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม      4.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
มอบหมายรายงานกลุ่มรายบุคคลและการนำเสนอรายงาน
ประเมินการเข้าชั้นเรียนและการตรงต่อเวลาของนักศึกษา ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
      5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์       5.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดง สถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์       5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการ นำเสนอ อย่าง เหมาะสม       5.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม
- การนำเสนองาน - การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินจากรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อทางเทคโนโลยี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral) 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรมจริยธรรมเสียสละและซื่อสัตย์สุจริต 1.2 มีวินัยตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองวิชาชีพและสังคม 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหาเข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา 3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ 3.3 สามารถรวบรวมศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม 4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
1 BSCCT304 วิศวกรรมซอฟต์แวร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,3.3 สอบกลางภาค 8 30%
2 2.1,2.3,3.1,3.3 สอบปลายภาค 17 30%
3 1.1,1.2 การค้นคว้า การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 5%
4 4.1,4.2,5.1 การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่ม 16 20%
5 1.1,1.2 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
6 1.1,1.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
1.1 น้ำฝน อัศวเมฆิน. หลักการพื้นฐานของวิศวกรรมซอฟแวร์ พิมพ์ครั้งที่ 1,กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น , 2560. 1.2 Roger S. Pressman (แปลและเรียบเรียงโดย ผศ.ดร.พรฤดี เนติโสภากุล) . วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ทฤษฎี หลักการ และการประยุกต์ใช้, กรุงเทพฯ: บริษัท สานักพิมพ์ท้อป จากัด., 2549. 1.3 กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และ พนิดา พานิชกุล. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) พิมพ์ครั้งที่ 1,กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์, 2550. 1.4 จรณิต แก้วกังวาน. วิศวกรรมซอฟต์แวร์. กรุงเทพ ฯ ; ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2540. 1.4 อภิรักษ์ จิรายุสกุล. วิศวกรรมซอฟต์แวร์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ ; มหาวิทยาลัยรามคาแหง. 2540. 1.5 Jalote, Pankaj. A Concise Introduction to Software Engineering. Springer-Verlag London Limited 2008. 1.5 Sommerville, Ian. Software engineering. 9th ed. Pearson Education, Inc., 2011. 1.6 Pressman, Roger S. Software Engineering : practitioner’s Approach. 7th ed. The McGraw-Hill Companies, Inc, 2010.
หนังสือหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์   แก้ไข
 3.1 Schach, Stephen R. Classical and Object-Oriented Software Engineering with UML and  Java , McGraw-Hill, 1996.   3.2 Bell, Doug. Software engineering for student, Fourth edition. Pearson Education, Inc.,  2005.   3.3 Hunger, Axel Notes on the lecture Fundamentals of Software Enginering I University of  Duisburg-Essen, Institute of Computer Engineering, 2009. 
นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ด้านวิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการโดย  1.1 แบบประเมินความพึงพอใจการเรียนการสอน โดยฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย   1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยนักศึกษา  แก้ไข
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา 2.2   การพิจารณาผลงานที่มอบหมาย 2.3   การขอรับคำปรึกษาและสังเกตการณ์ของผู้สอน 
หลังจากทราบผลการประเมินการสอน จึงมีการปรับปรุงการเรียนการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   รวบรวมปัญหาการเรียนของนักศึกษาและแนวทางแก้ไข โดยพิจารณาจากประเด็นในการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา 3.2   การจัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน
ทวนสอบผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา ประเมินตนเองตามแบบประเมินตนเองของนักศึกษาเพื่อทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ รวมถึงพิจารณาจากการสอบ และผลการเรียน 
ผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  โดยมีการปรับปรุงเนื้อหา ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอนให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป