สหวิทยาการออกแบบสถาปัตยกรรม

Integrated Architectural Design

1.เข้าใจวิธีการศึกษาค้นคว้ากระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมประเภทอาคารสาธารณะขนาดใหญ่และอาคารสูง ที่มีความซับซ้อนมาก
2.เข้าใจวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดทำรายละเอียดของโครงการ
3.เข้าใจวิธีบูรณาภาพการออกแบบสถาปัตยกรรม ทฤษฏี แนวคิดกระบวนการออกแบบโครงการให้เข้ากับระบบวิศวกรรมต่างๆ
4.มีทักษะในการออกแบบสถาปัตยกรรมอาคารที่มีความซับซ้อน
5.มีจิตสำนึกที่ดีต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานจำนวนมากและมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
เพื่อให้นักศึกษาสารมารถบูรณาการศาสตร์วิชาที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม และทำการออกแบบอาคารสาธารณะขนาดใหญ่และอาคารสูงได้อย่างเป็นองค์รวม 
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการออกแบบอาคารสาธารณะขนาดใหญ่และอาคารสูง ที่มีความซับซ้อนมาก โดยเกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานจำนวนมากในบริบทและเงื่อนไขที่หลากหลาย จัดทำกระบวนการออกแบบ โดยกำหนดองค์ประกอบโครงการ ขนาด พื้นที่ สำรวจและวิเคราะห์ที่ตั้ง และทำการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์และการพัฒนาแนวความคิดในการออกแบบอาคารขนาดใหญ่และอาคารสูง โดยบูรณาการความรู้ในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ
-อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
-อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1    บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบสถาปัตยกรรม
1.2.2    อภิปรายกลุ่ม
1.2.3    กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษาในสถาปัตยกรรมศาสตร์กับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 บรรยาย  อภิปราย และการทำงานกลุ่ม  
2.2.2 การนำเสนอหัวข้อโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีความซับซ้อนขึ้น โดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรม ลักษณะของเมืองและเทคโนโลยีการก่อสร้าง
2.2.3 รายงานทั้งศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ และเชื่่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องในงานออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างเป็นองค์รวม
2.2.4 มอบหมายให้ค้นคว้า ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอแนวคิดงานอออกแบบสถาปัตยกรรมโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลงานจากการปฎิบัติของผู้เรียน
3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนสังคมเมืองเพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  
3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการออกแบบ  การนำเสนอผลงานภาคปฎิบัติ
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2  สามารถทำงานเป็นกลุ่มและสามารแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าข้อมูลศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาเป็นแนวทางตัดสินใจในงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยการซักถามข้อมูลรายละเอียด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาค้นคว้าข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโครงการออกแบบพร้อมกับการนำเสนอผลงาน
5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี  เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.1.2  มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
6.2.1 การบรรยาย อธิบายในชั้นเรียน
6.2.2 ทำตามรายละเอียดงานที่ได้รับมอบหมาย
6.2.3 สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.3.1 ประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 2 3
1 BARAT106 สหวิทยาการออกแบบสถาปัตยกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 (1.1.1-1.1.3), 2.1 (2.1.1-2.1.3), 3.1 (3.1.1-3.1.2), 4.1 (4.1.1-4.1.2), 5.1 (5.1.1-5.1.2), 6.1 (6.1.2-6.1.3) ทดสอบ ครั้งที่ 1 (สอบกลางภาค) ทดสอบ ครั้งที่ 2 (สอบปลายภาค) 9,17 20%,40%
2 1.1 (1.1.1-1.1.3) การส่งงานตามที่มอบหมาย (ตรวจแบบร่าง) ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 (1.1.1-1.1.3), 2.1 (2.1.1-2.1.3), 4.1 (4.1.1-4.1.2) การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 1.1 (1.1.1-1.1.3), 2.1 (2.1.1-2.1.3), 3.1 (3.1.1-3.1.2), 4.1 (4.1.1-4.1.2), 5.1 (5.1.1-5.1.2), 6.1 (6.1.3) ค้นคว้า วิเคราะห์ การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ 3, 7 10%
1.กาญจนา  ตันสุวรรณ์รัตน์.  2539.  เอกสารประกอบการสอนวิชาโครงงานวิทยานิพนธ์    สถาปัตยกรรม.  นครราชสีมา : ภาควิชาเทคโนโลยี สถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
2. การประชุมทางวิชาการ.  2531.  เทคโนโลยีกับสถาปัตยกรรม.  กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยาม    ในพระบรมราชูปถัมป์.
3.จักรพันธ์  ภวังคะรัตน์.  2549.  ระบบวิศวกรรมประกอบอาคารขนาดใหญ่.  โครงการสุดสัปดาห์    วิชาการ ครั้งที่ 6.  กรุงเทพฯ : อีอีซี จำกัด
4.จันทนี  เพชรานนท์.  2542.  การทำรายละเอียดประกอบโครงการการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน.  กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบัน    เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
5.จามร  รักการดี.  การวิเคราะห์โครงการสถาปัตยกรรมและที่ตั้งโครงการ.  กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2520.
6.ฐานิศวร์  เจริญพงศ์.  2545.  สรรพสารจากทฤษฎีตะวันตก.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
7.มาลินี  ศรีสุวรรณ.  2540.  การออกแบบสถาปัตยกรรม.  กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
8.วิมลสิทธิ์  หรยางกูร.  2541.  การจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9.. วิโรจน์  นิพัทธนะวัฒน์.  2530.  การศึกษาการจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบงานสถาปัตยกรรม.  กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
10.อรศิริ  ปาณินท์.  2538.  กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม.  ปทุมธานี : สำนักพิมพ์    มหาวิทยาลัยรังสิต.
11. อรศิริ  ปาณินท์.  2538.  มนุษย์กับการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์    มหาวิทยาลัยรังสิต.
12. Asimow, M.  1962.  Introduction to Design.  Engtewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall.
13. Duerk, Donna P. 1995. A Visual Dictionary Of Architecture.  New York : Van Nostrand Reinhold.
14. Grillo, Paul Jacgues. 1960. Form Function and Design.  New York : Dover Publications, Inc. 
15. Jones, J.C.  1974.  Design Methods : Seeds of Human Futures.  London : Wiley Interscience.
16. Lang, J. and Burnette, C.  1974.  “A Model of the Designing Process.”  In J. Lang et al., (eds.) Designing for Human Behavior : Architecture and the Behavioral Science, pp.43-51 Stroudsburg, PA : Dowden, Hutchinson & Ross.
17. Lawson, Bryan. 1990. How Designers Think.  London : Butterworth Architecture.
18. Palmer, Mickey A. 1981. The Architectect’sGude to Facility Programming. New York : McGraw-Hill, Inc. 
19. Sanoff, Henry. 1997. Methods of Architectural Programming.  Stroudsburg Pennsylvania :Dowden, Hutchinson & Ross, Inc. 
20. Starr, M.K.  1973.“Design Morphologies”.  DMG-DRS Journal 7, 2 (April.-June.) : 98.
21. Tandy, C. (ed).  1973. Hand book of Urban Landscape.  London: The Architectural Press.
22. Wade, Alex. 1977. 30 Energy-efficient Houses You can Build. Emmaus, PA : Rodale Press.
23. Wade, J.W.1977. Architecture Problems and Purposes.  New York : John Wiley & Sons.
24. Wotton, Henry, Sir. 1968. The Element of Architecture.  Charlottesville, VA : University of Virginia Press. University Press.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น
Wikipedia คำอธิบายศัพท์
Archdaily ค้นหากรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมกลุ่มผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือการได้ปฏิบัติงานจริง