แคลคูลัส 3 สำหรับวิศวกร

Calculus 3 for Engineers

1. เข้าใจและแก้ปัญหาปริพันธ์ตามเส้นเบื้องต้น 2. เข้าใจและแก้ปัญหาปริพันธ์ไม่ตรงแบบ 3. เข้าใจและแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์เบื้องต้นและการประยุกต์ 4. เข้าใจการหลักการอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์ 5. คำนวณลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ 6. เข้าใจและคำนวณอนุกรมกำลังและการกระจายอนุกรมเทย์เลอร์ของฟังก์ชันมูลฐาน 7. เข้าใจและคำนวณอนุพันธ์เชิงตัวเลขและปริพันธ์เชิงตัวเลข 8. เป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาชีพและศึกษาต่อระดับสูง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน และสามารถใช้เหตุผลในการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นระบบชัดเจน รัดกุมและมั่นใจในการแก้ปัญหา ตลอดจนคิดคำนวณได้อย่างถูกต้อง
ศึกษาเกี่ยวกับ สมการเชิงอนุพันธ์เบื้องต้นและการประยุกต์   การหาปริพันธ์เชิงตัวเลข ปริพันธ์ไม่ตรงแบบ  ปริพันธ์ตามเส้นเบื้องต้น  อุปนัยเชิงคณิตศาสตร์  ลำดับและอนุกรมของจำนวน  การกระจายอนุกรมเทย์เลอร์ของฟังก์ชันมูลฐาน 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) และสอนเสริมโดยการทำแบบฝึกหัดท้ายบท 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
- เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
มาเรียนตรงเวลา ทำแบบฝึดหัดเป็นกลุ่ม  นักศึกษาทำงานจิตอาสา
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา การเลือกใช้วิธีการในการแก้ปัญหาโจทย์ได้ถูกต้อง ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
 มีความรู้และเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างการคำนวณในแต่ละวิธีในเนื้อหาที่เรียน พร้อมทั้งในสูตรในการคำนวณ แบ่งกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายชั่วโมง ซักถามข้อสงสัย  มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดส่งตามกำหนด
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบข้อเขียน วิเคราะห์ และแก้ปัญหาโจทย์โดยพิจารณาจากการซักถามในห้องเรียน
มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
มอบหมายให้ทำโจทย์ปัญหา  เสนอแนวคิดที่ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา
ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์
พัฒนาทักษะในการสร้างความสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
มอบหมายให้ทำงานเป็นกลุ่มทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน มอบหมายงานรายบุคคล แล้วให้ศึกษาด้วยตัวเอง โดยค้นหาตัวอย่างจาก อินเตอร์เน็ต แล้วนำเสนอ
สังเกตจากพฤติกรรมการทำงานในกลุ่มในห้องเรียน การนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย แบบประเมินตนเอง และเพื่อนประเมิน
ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารเทศในการสื่อสาร การส่งงานทางเมล์ Line Facebook google drive ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยการใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มอบหมายงานตามใบงาน และโจทย์ที่ให้ศึกษาด้วยตัวเอง จากเว็บไซต์ สื่อการสอน แนะนำ เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ แคลคูลัส พร้อมแนวการคิด
ดูจากการนำเสนอ รูปแบบการนำเสนอ สื่อที่นำเสนอ การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 FUNMA107 แคลคูลัส 3 สำหรับวิศวกร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 2.1, 3.2 สอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค สอบย่อย สอบปลายภาค 5 9 13 17 20% 20% 20% 20%
2 1.3, 2.1, 3.2 การส่งงานตามที่มอบหมายรายบุคคล การเข้าเรียน จิตอาสา ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 5% 5% 10%
ผศ.ดร.ทนงศักดิ์ ยาทะเล, แคลคูลัส 3 สำหรับวิศวกร, เอกสารประกอบการสอน 2555.
Anton, H., Bivens, I.C., Davis, S. Calculus Late Transcendentals. New York: John Wiley and Sons, Inc., 2010.
Bartle, R.G., Sherbert, D.R. Introduction to Real Analysis. New York: John Wiley and Sons, Inc., 1982.
Boyce, W.E., DiPrima, R.C. Elementary Differential Equation. New York: John Wiley and Sons, Inc., 2005.
Kreyszig, E. Advanced Engineering Mathematics. New York: John Wiley and Sons,Inc., 2006.
Thomas, G., et al. Thomas’ Calculus Early Transcendentals Update. MA: Addison-Wesley, Inc., 2003.
 
จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การถาม ตอบระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา แบ่งกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายชั่วโมง
การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน ผลการสอบ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของทีมผู้สอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา
- ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ - ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือ ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4