การเตรียมความพร้อมประสบการณ์วิชาชีพ

Preparing for Professional Experience

เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ฝึกทักษะในด้านความรู้เกี่ยวกับงานสหกิจศึกษา ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะในการทำงานเป็นทีม การปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน ด้านบุคลิกภาพและมารยาทด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ
เตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติงานสหกิจศึกษาด้านความรู้เกี่ยวกับสหกิจศึกษา ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม การปรับตัวเข้าสู่สังคมการทำงาน ด้านบุคลิกภาพและมารยาทด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
ศึกษาและฝึกทักษะการปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา โดยมุ่งเน้นฝึกทักษะในด้านความรู้เกี่ยวกับงานสหกิจศึกษา ทักษะด้านการสื่อสารทักษะในการทำงานเป็นทีม การปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน ด้านบุคลิกภาพและมารยาทด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสามารถขอคำปรึกษาได้ผ่านทางเฟสบุ๊คกลุ่ม
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดําเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทําคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้ เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้
1.มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
2.มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
3.สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
4.มีจิตสํานึกและพฤติกรรมที่คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1.สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน
2.ให้ความสําคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
3.การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษาต่างๆ
1.ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทํางานทันตามกําหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2.ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการทํางานกลุ่ม
3.ประเมินการกระทําทุจริตในการสอบ
4.ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพบัญชีกับความรู้ในศาสตร์อื่นได้
บรรยาย อภิปราย มอบหมายงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การซักถาม การประยุกต์ใช้ software ทางการบัญชี และ software อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
1.ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงาน การค้นคว้า และการนําเสนอ
2.การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือการสอบปฏิบัติ
1.การคิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ 2.สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ปัญหาทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
1.สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
2.สังเกตพฤติกรรมบุคคลและพฤติกรรมกลุ่ม
1.ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนําเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
2.ประเมินผลจากการสอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหา
3.สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
1.มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
2.มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
3.มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นํา หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1.มอบหมายการทํางานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นํา การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน
1.ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
2.ประเมินการเป็นผู้นําและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
3.สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
ความสามารถในการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มอบหมายกรณีศึกษาให้นามาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม
 
1.ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
2.ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนาเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC138 การเตรียมความพร้อมประสบการณ์วิชาชีพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การมีส่วนร่วม การนำเสนอผลการเล่นเกม การนำเสนอหน้าชั้นเรียน 2 10%
2 ทดสอบการฝึกปฏิบัติ 6 20%
3 ทดสอบการฝึกปฏิบัติ 8 10%
4 ทดสอบการฝึกปฏิบัติ 11 10%
5 ทดสอบการฝึกปฏิบัติ 14 15%
6 ทดสอบการฝึกปฏิบัติ 17 15%
7 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 20%
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการฝึกสหกิจศึกษาของนักศึกษา
เอกสารประกอบการฝึกอบรมคณาจารย์นิเทศสหกิขศึกษา สมาคมสหกิจศึกษาไทย
บอร์ดเกม, Website, Clip VDO ที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับเนื้อหา
คุณภาพงานและผลการสอบของนักศึกษาระหว่างภาคเรียนและปลายภาคเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมระหว่างเรียน สังเกตพฤติกรรมและปฏิกริยาของนักศึกษาที่มีต่อผู้สอน
การสนทนากลุ่มและการตอบประเด็นซักถามระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอนตามประเด็นที่มหาวิทยาลัยกำหนด สังเกตพฤติกรรมกลุ่มและรายบุคคล ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในแบบสอบถามปลายเปิดในสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน
ในระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนได้มีการทวนสอบโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหารายวิชา การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล ให้เป็นไปตามระเบียบการวัดผลของมหาวิทยาลัย
ประสานกับศูนย์สหกิจศึกษาในกิจกรรมเตรียมความพร้อม ประสานกับอาจารย์ในศาสตร์ต่างๆที่มีความชำนาญเฉพาะด้านทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มทักษะความชำนาญให้กับนักศึกษา วางแผนปฏิบัติงานการดำเนินงานในหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะและคุณลักษณะของนักศึกษาในการตอบโจทย์ให้กับสถานประกอบการ