การบริหารโครงการ

Project Management

รู้และเข้าใจการจัดทำโครงการ การวางแผน และการปฏิบัติตามแผน รู้และเข้าใจระบบการดำเนินการและบริหารโครงการ สามารถวิเคราะห์ความเป็นได้ของโครงการ และการวิเคราะห์การประเมินผลโครงการ สามารถนำทรัพยากรในการทำงานและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดทำโครงการได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ในรายวิชาการบริหารโครงการไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ โดยสามารถตอบสนองความความต้องการของตลาดแรงงาน เพราะปัจจุบันมักจัดโครงสร้างองค์การและออกแบบงานที่มุ่งเน้นงานโครงการ (project based) กันมากขึ้น
การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ การวิเคราะห์ความคุ้มทุน การวางแผนปฏิบัติการ การดำเนินการตามแผน การจัดลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน การควบคุมและติดตามงาน การประเมินผลของโครงการ โครงสร้างของทีมงานที่มีคุณภาพ การจัดสรรทรัพยากรในการทำงาน การทำเอกสารของโครงการ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการโครงการ
นักศึกษาสามารถเข้าพบรายคน หรือรายกลุ่มตามความต้องการ ที่ห้องพักอาจารย์ สาขาการจัดการธุรกิจ
1.1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม 
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพในเนื้อหาวิชาเรียน ให้นักศึกษาร่วมอภิปรายในประเด็นเกี่ยวกับจรรยาบรรณสำหรับเหตุการณ์ต่างๆ โดยผู้สอนให้คำชี้แนะในการปฏิบัติให้อยู่ภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมุ่งเน้นตัวอย่างของการทำงานร่วมกันในองค์กร
1.2.2 ปลูกฝังการเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ โดยใช้กฎระเบียบของมหาวิทยาลัยเป็นเกณฑ์ คือ การเข้าเรียน การแต่งกาย และการส่งงาน การทำแบบฝึกหัดภายในชั้นเรียน
1.2.3 สอดแทรกจรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.3.1 ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.3.2 สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1.3.3 ตรวจประเมินจากงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายในกรณีที่มีการมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้านอกชั้นเรียน ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล เช่น หนังสือ หรืออินเตอร์เน็ต
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญใน เนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนา ความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
 
2.2.1 บรรยายหลักการบริหารโครงการ องค์ประกอบและเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารโครงการ การกำหนดโครงการ การใช้แบบจำลองการให้ประโยชน์ การดำเนินโครงการตามแผน การจัดการความเสี่ยง การปฏิบัติ การควบคุมไปจนถึงการแก้ไขปัญหา
2.2.2 กำหนดให้นักศึกษาฝึกทำแบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่สอนภายในชั้นเรียน
2.2.3 มอบหมายงานเพื่อการค้นคว้านอกชั้นเรียน
2.2.4 จัดรูปแบบการเรียนสอนหลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา เน้นให้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง และการบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
2.3.1 การสอบย่อย สอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
2.3.2 ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
2.3.3 ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
2.3.4 ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
2.3.5 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
3.1.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์ แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
3.1.3 คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
 
3.2.1 กรณีศึกษาทางการจัดการ และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม 
3.2.2 การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน 
3.2.3 การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 
3.3.1 ประเมินจากใบงานที่นักศึกษานำส่ง และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.3.2 ประเมินจากคำตอบจากคำถาม และกรณีศึกษา โดยให้อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหา โดยคำตอบต้องเกี่ยวข้องกับความรู้ที่เรียนในรายวิชา และความรู้รอบตัวที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
4.1.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัว  เชิงวิชาชีพได้
4.1.3 มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และ ความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวก ต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาท ของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4.2.1 จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำ และผู้ตาม
4.2.2 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
4.3.2 ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
4.3.3 สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
5.1.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของ สื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้ง ในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์
5.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
5.2.2 กำหนดให้นำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 
5.2.3 ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล 
5.2.4 ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข 
5.2.5 บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟท์แวร์ หรือสื่อต่าง ๆ ในรายวิชา  
5.3.1 ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
5.3.2 ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.3 การสอบย่อย การทดสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
5.3.4 ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
6.1.1 สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
6.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
6.2.2 กำหนดให้วิเคราะห์จากกรณีศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ 
6.2.3 กำหนดให้นักศึกษาฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในการนำเสนองานที่มอบหมาย
6.2.4 กำหนดให้นักศึกษาวิเคราะห์หาคำตอบจากข้อมูลทางสถิติ
6.3.1 ประเมินจากความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม จากการตอบคำถามของนักศึกษา จากงานที่มอบหมาย  
6.3.2 การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
6.3.3 นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจใน สถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น 1.2 มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความ สำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม 1.3 มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.4 มีภาวะความเป็นผู้นำ และผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถ แก้ไขข้อขัดแย้ง และลำดับความสำคัญ 1.5 มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม 2.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญใน เนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนา ความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบาย ความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและ การดำรงชีวิตประจำวัน 2.3 มีความรู้และความเข้าในในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การ ปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุง แผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ 2.9 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ใน งานได้จริง 3.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จาก หลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์ แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 3.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจาก ทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือก ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน ทางธุรกิจ 3.3 คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป 3.4 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 4.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัว เชิงวิชาชีพได้ 4.2 มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไข ปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมใน ประเด็นที่เหมาะสม 4.3 มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และ ความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวก ต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาท ของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 4.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพ อย่างต่อเนื่อง 4.5 สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคน หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.6 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม 4.7 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัว และส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและ ของกลุ่ม 5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน 5.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของ สื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้ง ในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ 5.4 มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 5.5 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทาง คณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่าง สร้างสรรค์ 5.6 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำ เทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 6.1 สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ ศึกษาได้อย่างเหมาะสม 6.4 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล
1 BBABA211 การบริหารโครงการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยเรียนที่ 1-7 งานที่มอบหมาย (40 คะแนน) สัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่ 16 40 คะแนน
2 หน่วยเรียนที่ 1-4 แบบทดสอบกลางภาค (25 คะแนน) สัปดาห์ที่ 9 25 คะแนน
3 หน่วยเรียนที่ 5-7 แบบทดสอบปลายภาค (25 คะแนน) สัปดาห์ที่ 17 25 คะแนน
4 คุณธรรม จริยธรรม และการเคารพกฎระเบียบ - การเข้าเรียน ประเมินผลจากการเข้าเรียนตรงเวลา - การแต่งกาย ประเมินผลจากการสังเกตโดยผู้สอน - ส่งงาน ประเมินผลจากการส่งงานตามกำหนดเวลา - จรรยาบรรณ ประเมินผลจากการสังเกตโดยผู้สอน 1 - 17 10 คะแนน
รศ.วิสูตร จิระดำเกิง. การบริหารโครงการ แนวทางปฏิบัติจริง. ปทุมธานี :
       สำนักพิมพ์วรรณกวี, 2560.
ผศ.ดร.พรรณี  สวนเพลง. เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ :
       ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2552.
พิสณุ  ฟองศรี. เทคนิควิธีประเมินโครงการ. กรุงเทพ : 
       ด่านสุทธาการพิมพ์, 2553.
รศ.ดร. ประสทธิ์  ตงยิ่งศิริ. การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ, กรุงเทพ :
       ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2542.  
-
- เว็บไซค์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อประมวลรายวิชา
ให้นักศึกษาประเมินความพึงพอใจในรายวิชา
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษา
1. การปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย
2. การพัฒนาสื่อการสอน
การทวนสอบผลคะแนนโดยนักศึกษา อาจารย์ผู้สอน และคณะกรรมการ
ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะจากผลการประเมิน