เรื่องเฉพาะทางการประมง

Selected Topics in Fisheries

        1. เข้าใจหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในปัจจุบัน
        2. เข้าใจการผลิตสัตว์น้ำอย่างปลอดภัยด้วยทฤษฎีหรือแนวคิดใหม่
        3. เพื่อให้นักศึกษามีเจตคติและลักษณะนิสัยที่ดีในการเป็นนักเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้วยความรับผิดชอบ ละเอียด รอบคอบ และมีคุณธรรมจริยธรรม
เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รวมทั้งทักษะการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผ่านทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ฝึกค้นหาข้อมูลและวิทยาการใหม่ๆ จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง และนำมาแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยการเสวนาแบบโต๊ะกลม (Share information) และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ต่าง ๆ ได้ในชีวิตประจำวัน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความรู้และแนวคิดใหม่ ๆ ในทฤษฎีต่าง ๆ ทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และหัวข้ออาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละภาคการศึกษา
      ให้คำปรึกษา 1.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทุกวันพุธ  เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาประมง
š1.1 มีคุณธรรม จริยธรรม
˜1.2 มีจรรยาบรรณ
- สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมระหว่างการสอน เช่น ความซื่อสัตย์ การไม่คัดลอกผลงาน เป็นต้น
- สังเกต บันทึกพฤติกรรมการเรียน การปฏิบัติการการทดลอง การบันทึกผลและรายงานผลการทดลอง การแต่งกายและตรงต่อเวลา
- มอบหมายงานกลุ่ม
- ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
- ประเมินความมีวินัยและความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
- ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
- เคารพในการแสดงออกทางความคิดของผู้ร่วมงาน และการรับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน
š 2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ
˜ 2.2 มีความรอบรู้
- มอบหมายให้ศึกษาบทเรียนและทำความเข้าใจล่วงหน้า
- บรรยายเนื้อหาโดยใช้สื่อประกอบ และยกตัวอย่างกรณีศึกษา
- แบ่งกลุ่มนักศึกษา และให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง โดยไปหาข้อมูลจากสถานประกอบการที่สนใจ
- ยกตัวอย่างสถานการณ์ในปัจจุบัน
- ประเมินผลจากการสอบด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี
- ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา
˜3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ
   3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์
š3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้
- ระดมสมองในการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างเป็นระบบ
- ทำการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องอย่างเป็นระบบ
- ทำการวิเคราะห์ข้อมูล/คำนวณ (ถ้ามี )
ประเมินผลจากรายงานผลการทดลอง และการตอบปัญหาในชั้นเรียน
   4.1  ภาวะความเป็นผู้นำ
š4.2  มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ
- การเรียนแบบร่วมมือ ร่วมคิด โดยจัดกิจกรรมกลุ่มย่อย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนำเสนอด้วยการรายงานหน้าชั้น
- ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม การแบ่งหน้าที่
    5.1 มีทักษะการสื่อสาร
š5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การสาธิตลงมือปฏิบัติ
- กำหนดโจทย์ให้นักศึกษาไปสืบค้นโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ประเมินจากการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข/จัดเก็บข้อมูลการทดลองอย่างเป็นระบบ
- ประเมินจากใบงาน และความเข้าใจในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 BSCAG336 เรื่องเฉพาะทางการประมง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 3.2 ทดสอบ ตลอดภาคการศึกษา 50%
2 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 4.2, 5.1, 5.2, 5.3 งานมอบหมาย, รายงาน ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 4.2, 4.3 จิตพิสัย (พฤติกรรมในการเรียน) ตลอดภาคการศึกษา 10%
เชาว์  ศรีวิชัย. 2550. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์. เกษตรก้าวหน้า 20(2): 19-25.
กรมประมง. มาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์. แหล่งที่มา: https://www.fisheries.go.th/extension/group/thai/5.pdf.
วิรัชญา จารุจารีต. 2559. ปลูกผักร่วมกับเลี้ยงปลา. บ้านและสวน ฉบับที่ 8.
อานัฐ  ตันโช, คมสัน  หุตะแพทย์ ปรียชยา  คล้ายทวน และ นันทนิตย์ อนุศาสนะนันนท์. อควาโปนิกส์.
พยัต  วุฒิรงค์. 2557. การจัดการนวัตกรรม : ทรัพยากร องค์การแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรม. จุฬาลงกรณ์. 264 หน้า.
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์. https://www.fisheries.go.th/extension/group/thai/organic.htm
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
     1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     1.2  การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน
     1.3  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
     2.1 การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอน  การตอบสนอง  การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
     2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา
     2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
          หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
          อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาทุกภาคการศึกษา มีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
           มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
     จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   ปรับปรุงสื่อการสอนให้ทันกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย