ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์

Human Computer Interaction

          1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยของมนุษย์และการออกแบบอินเตอร์เฟส ที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพของทั้งมนุษย์และคอมพิวเตอร์
          2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการให้ความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
          3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการปฏิสัมพนัธ์ และหลักการออกแบบที่มองเห็นได้
          4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถออกแบบ แบบจำลองการอินเตอร์เฟสสำหรับผู้ใช้ และเครื่องมือที่นำมาพัฒนาได้
          5. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยที่มีต่อมนุษย์ และวางแผนในการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมได้
          6. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้มาปฏิบัติ และใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดผลกระทบ ปรากฏออกมาในเชิงบวกได้
เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบมาตรฐานหลักสูตรระบบสารสนเทศทางธุรกิจ โดยมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเหมาะสมกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทางด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ได้อย่างเหมาะสม
ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดและความสำคัญเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ การบูรณาการความรู้กับการรับรู้ ความรู้ความเข้าใจ อารมณ์ประสบการณ์ และการกระทำของมนุษย์ รวมถึงผู้บกพร่องทางการรับรู้ที่ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยี เทคโนโลยีด้านอินพุต และเอาต์พุต กระบวนการในการพัฒนาส่วนติดต่อกับผู้ใช้ การออกแบบและพัฒนาส่วนติดต่อกับผู้ใช้ การออกแบบและพัฒนาส่วนติดต่อกับผู้ใช้โดยให้ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง การทดสอบประเมินผลการใช้งานและสภาวะแวดล้อมของการใช้งาน การปรับปรุงส่วนติดต่อการใช้งาน กรณีศึกษาธุรกิจโดยใช้แนวคิดของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์
อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งกำหนดการ ประกาศเวลาให้คำปรึกษา ตอบคำถามหรือแนะนำเรื่องวิชาการผ่านระบบ Google Classroom และ ให้นักศึกษาถามตอบข้อสงสัยได้ตลอดเวลาผ่าน สื่อสังคมออนไลน์ Facebook Messenger หากผู้สอนไม่ได้ตอบกลับโดยทันที จะมีการตอบกลับภายหลังตามความเหมาะสมอีกทั้งนักศึกษาสามารถ นัดเวลาเข้าพบได้ตามความต้องการเฉพาะราย
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ   ข้อที่ตรงกับ มคอ.1 สาขาคอมพิวเตอร์ ด้านคุณธรรมจริยธรรม  
          1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรมคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น (1)
          2. มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม (2)  
          3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม (5)  
          4.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ (3)  
          5. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (4) และ (7)  
          6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม (6)
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ  
          1. จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม    
          2. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา  
          3. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
          4. กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมี ส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น    
          5. เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน    
          6. สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน    
          7. อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
 รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ  
          1. การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
          2. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
          3. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
          4. การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
          5. ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
          6. ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
          7. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ข้อที่ตรงกับ มคอ.1 สาขาคอมพิวเตอร์ ด้านความรู้  
          1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง (1) และ (8)
          2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน (2)  
          3. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์    
          4. มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน  
          5. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบ องค์ประกอบต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด (3)  
          6. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ (4)  
          7. รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง (5)  
          8. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง (6)
          9. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานได้จริง (7)
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ
          1. จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ  (2)   
          2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน    
          3. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง    
          4. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป 
          5. ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง (2,9)
          6. การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ (2)
รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ
          1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน (ทฤษฎีและปฏิบัติ) 1,5,6  
          2. รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ    
          3. ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง    
          4. ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ    
          5. ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา    
          6. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน  
          7. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงานการทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน 1,5,6
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ข้อที่ตรงกับ มคอ.1 สาขาคอมพิวเตอร์ ทักษะทางปัญญา
          1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง (2)  
          2. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งหันทางธุรกิจ
          3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป (1)  
          4. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ (3)  
          5. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม (4)
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ  
          1. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน
          2. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จากกรณีศึกษา (งานที่ได้รับมอบหมาย)
          3. กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม    
          4. การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
          5. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
          6. การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
          7. จัดให้ในรายวิชา มีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ
          1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา  
          2. การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และสื่อสารในบริบทต่าง ๆ    
          3. การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง    
          4. ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
          5. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
          6. ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน    
          7. ประเมินจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง  
          8. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ข้อที่ตรงกับ มคอ.1 สาขาคอมพิวเตอร์ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
          1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
          2. มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม (3)  
          3. มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน (2)  
          4. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (6)  
          5. สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (1)
          6. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม (4)  
          7. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม (5)
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ  
          1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง    
          2. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
          3. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและ การอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป    
          4.  มอบหมายให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง    
          5. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคล อื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
          6. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
2. การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา 
3. พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
4. สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ  
         1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง    
         2. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา    
         3. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย    
         4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม    
         5. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ได้    
         6. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ  
         7. มีเนื้อหาของเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุที่ทันสมัย
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ  
          1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง    
          2. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา    
          3. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย    
          4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม    
          5. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ได้    
          6. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
          7. มีเนื้อหาของเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุที่ทันสมัย
รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ
          1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
          2. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม    
          3. พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร    
          4. ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ    
          5. ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ  
          1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม    
          2. จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ  บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม    
          3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผล การดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์    
          4. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน     
          5. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคม ร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง      
          6. จัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร ในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย  
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)  
          1. สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม  
          2. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง  
          3. สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต  
          4. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล  
          5. สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ  
          1. ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษา                           
          2. มีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม  พฤติกรรมที่แสดงออกจากการเข้าฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ  การเรียนการสอนกับการทำงาน การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม      
          3. นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้ 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-On)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBAIS909 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.3 จิตพิสัย การเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลาในการเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.3, 2.1, 2.2, 2.8, 3.1, 4.5, 4.6, 6.5 การทดสอบกลางภาคเรียน สัปดาห์ที่ 9 25%
4 1.3, 2.1, 2.2, 2.8, 3.1, 4.5, 4.6, 6.5 การทดสอบปลายภาคเรียน สัปดาห์ที่ 17 25%
5 1.1, 1.2, 2.1, 2.2, 2.8, 3.1, 4.5, 4.6, 5.2, 5.4, 6.5 งานที่ได้รับมอบหมายระหว่างเรียน งานกลุ่ม การค้นคว้า การอภิปราย ก่อนการสอบกลางภาคเรียน สัปดาห์ที่ 3, 5, 7 20%
5 1.1, 1.2, 2.1, 2.2, 2.8, 3.1, 4.5, 4.6, 5.2, 5.4, 6.5 งานที่ได้รับมอบหมายระหว่างเรียน งานกลุ่ม การค้นคว้า การอภิปราย หลังการสอบกลางภาคเรียน สัปดาห์ที่ 11, 13, 15 20%
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ Human computer interaction (HCI),
วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
e-Learning บนระบบ Cloud Storage (Google Classroom and Google Drive)  รายวิชาปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ อาจารย์นพณัฐ  วรรณภีร์
          3.1 https://themeforest.net
          3.2 https://www.shutterstock.com
          3.3 https://www.pinterest.com/
          การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
          1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          1.3 การสนทนาปัญหา ถามตอบกับผู้เรียนผ่านระบบ Social Media ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
          ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
          2.1 ผลการประเมินผู้สอนจากระบบของมหาวิทยาลัย
          2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
          2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
          หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
          3.1 การสอบถามแนวปฏิบัติที่ดีจากอาจารย์ในหลักสูตร และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน
          3.2 การนำข้อเสนอแนะการจัดการเรียนการสอนของผู้เรียนมาปรับปรุง
          ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
          4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยคณะกรรมการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
          4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
          จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
          5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 1 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
          5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ