วิศวกรรมส่องสว่าง

Illumination Engineering

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของแสง การกำเนิดแสง 2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และคำนวณเกี่ยวกับกฎการส่องสว่าง 3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับการวัดการส่องสว่าง แหล่งกำเนิดแสงและองค์ประกอบการเลือกใช้ 4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับชนิดและหน้าที่ของดวงโคม 5. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และคำนวณเกี่ยวกับการออกแบบระบบแสงสว่างภายในอาคารและภายนอกอาคาร 6. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการออกแบบระบบแสงสว่างโดยใช้คอมพิวเตอร์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ เพื่อนำไปใช้งานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีการส่องสว่างที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับ แสงสว่าง ดวงตาและการมองเห็น สีและการจำแนกสี แหล่งกำเนิดแสง ดวงโคมไฟฟ้า สภาวะแวดล้อมของการส่องสว่าง การออกแบบส่องสว่างภายในและภายนอกอาคาร แนวทางการประหยัดพลังงานด้านวิศวกรรมการส่องสว่าง
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั้นเรียนและชั่วโมงสอน - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
-   การรู้คุณค่าในตัวเองและผู้อื่น การเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต  -   การมีความรับผิดชอบในหน้าที่ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม การมีวินัย ความตรงต่อเวลา -   การเคารพในสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ -   การเคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม -   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม กล้าตัดสินใจในทางที่ถูกต้องเหมาะสม -   มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพและทางวิชาการ
-   กำหนดข้อปฏิบัติร่วมกันในการเรียน ความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย -   มอบหมายงานให้รับผิดชอบเป็นกลุ่ม ให้ทุกคนมีโอกาสแสดงความสามารถและความคิดเห็นร่วมกัน -   จัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลายสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
-  ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา -  ประเมินจากพฤติกรรมการเรียนในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียน -  ประเมินผลงานที่ส่ง มีความถูกต้องเหมาะสมตรงตามที่ได้รับมอบหมาย
พฤติกรรมของแสง การกำเนิดแสง กฎการส่องสว่าง การวัดการส่องสว่าง แหล่งกำเนิดแสง        และองค์ประกอบ การเลือกใช้งาน ชนิดและหน้าที่ของดวงโคม การออกแบบระบบ แสงสว่างภายในอาคาร      และการออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคาร
บรรยาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าก่อนถึงเนื้อหาที่เรียน มีการอภิปราย ถามตอบ ทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน และมีการทำงานเดี่ยวและงานกลุ่มโดยการศึกษาและใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การนำเสนอรายงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ และการร่วมทำงานเป็นกลุ่ม
-  ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค เน้นทฤษฎีและความเข้าใจ -  ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ ตามหลักการทางวิศวกรรมส่องสว่าง เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสร้างสรรค์
การมอบหมายปัญหาพิเศษให้นักศึกษา เพื่อนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า และร่วมกันคิดวิเคราะห์ -   อภิปรายกลุ่ม -   มีการทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน เมื่อมีข้อสงสัย ติดปัญหา สามารถสอบถามให้เข้าใจได้ทันที
 -   สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบทฤษฎีตามหลักวิศวกรรมส่องสว่าง  
-   วัดผลจากการประเมินการนำเสนองาน การอภิปราย การแสดงความคิดเห็น  
-   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
-   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
-   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
-   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
-   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
-  มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล เช่น การค้นคว้าการเลือกใช้ดวงโคม หลักการออกแบบระบบส่องสว่างที่ดี
-   การนำเสนอรายงาน
-   ประเมินความรับผิดชอบจากงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานรายบุคคล
-   ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
-   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
- ทักษะการคำนวณเชิงตัวเลขในทางวิศวกรรมส่องสว่าง
- พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน การนำเสนอในรูปแบบที่มีเครื่องมือด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- ทักษะในการสืบค้นข้อมูล การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต หรือหนังสือเอกสารการเรียนรู้ต่างๆ 
- มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน e-Learning และการทำรายงาน โดยเน้นหลักการออกแบบระบบส่องสว่าง และอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
- จำลองการออกแบบระบบส่องสว่างผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์
- นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- ให้สรุปผลการอภิปรายร่วมกันทั้งห้อง และสามารถนำเสนอแนวคิดจากการวิเคราะห์ได้เข้าใจง่าย
- ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
- ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ   
มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี 
 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
สาธิตการปฏิบัติการการใช้โปรแกรม  
ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต 
นำเสนอโดยใช้รูปแบบโจทย์ปัญหาและเทคโนโลยีที่เหมาะสม   เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์ และลงมือออกแบบแสงสว่างด้วยใจ
อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้โปรแกรมออกแบบแสงสว่างและดูแลฝึกทักษะตลอดเวลา
มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ 
มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา
มีการให้คะแนนผลการปฏิบัติงานเขียนโปรแกรมในด้านต่างๆ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 กฏการส่องสว่าง การวัดค่าการส่องสว่าง ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 4 10%
2 กฏการส่องสว่าง หน่วยวัดทางแสง การมองเห็น แหล่งกำเนิดแสง โคมไฟ สอบกลางภาค 8 20%
3 การออบแบบส่องสว่าง ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 12 10%
4 การออบแบบส่องสว่างภายในและภายนอกอาคาร การออกแบบส่องสว่างไฟถนน สอบปลายภาค 16 20%
5 การทำงานกลุ่ม ค้นคว้าศึกษา และนำเสนอ การทำงานเดี่ยว แบบฝึกหัดในทุกคาบเรียน การส่งงานตามกำหนด การทำงานกลุ่ม ค้นคว้าศึกษา และนำเสนอ การทำงานเดี่ยว แบบฝึกหัดในทุกคาบเรียน การส่งงานตามกำหนด ทุกสัปดาห์ 30%
6 การเข้าเรียนในคาบ การมีส่วนร่วมในการเรียน การตอบคำถาม การเข้าเรียนในคาบ การมีส่วนร่วมในการเรียน การตอบคำถาม ทุกสัปดาห์ 10%
เอกสารประกอบการสอน
1.  รศ.ดร.ชำนาญ  ห่อเกียรติ.  เทคนิคการส่องสว่าง. 2.  อ.ชาญศักดิ์  อภัยนิพัฒน์.  เทคนิคการออกแบบระบบแสงสว่าง. 3.  อ.มงคล  ทองสงคราม.  วิศวกรรมการส่องสว่าง.
 
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ - การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน - การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน - แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ - การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน - ผลการเรียนของนักศึกษา - แบบประเมินผลการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ - การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และสรรหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้ - สัมมนาการจัดการเรียนการสอน - การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ - การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร - มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ  รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ - ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 - เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่ได้มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ