วัสดุวิศวกรรม

Engineering Materials

1.1 มีความรู้พื้นฐานด้านวัสดุศาสตร์ และวิศวกรรมวัสดุ
1.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและคุณสมบัติของวัสดุ
1.3 เข้าใจคุณสมบัติของวัสดุและความเสียหายที่เกิดกับวัสดุ
1.4 เข้าใจแผนภาพสมดุลของวัสดุและวิธีการปรับปรุงคุณสมบัติของโลหะ
1.5 เข้าใจกระบวนการขึ้นรูปวัสดุประเภทโลหะ พอลิเมอร์ และเซรามิก
1.6 มีเจตคติที่ดีต่อวิชาวัสดุวิศวกรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจ ในคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาใช้ในงานวิศวกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีการผลิตวัสดุต่าง ๆ เพื่อการนำไปใช้งานอย่างเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นการเลือกชนิดของวัสดุ กรรมวิธีการผลิตที่เหมาะสมกับวัสดุนั้น ๆ หรือการวิเคราะห์สาเหตุความไม่ปกติอันเนื่องมาจากการนำวัสดุนั้น ๆ ไปใช้งาน
ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง คุณสมบัติ กระบวนการผลิตและการประยุกต์ใช้วัสดุวิศวกรรม เช่น โลหะ โพลิเมอร์ พลาสติก ยางมะตอย ไม้ คอนกรีต เซรามิค และวัสดุเชิงประกอบ แผนภาพสมดุลเฟสและการแปลความหมาย การทดสอบสมบัติต่างๆ ของวัสดุวิศวกรรมและการแปลความหมายสมบัติทางกลและการเสียหายของวัสดุ
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน
1.3.2 การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามกำหนดเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวัสดุหลักที่ใช้ในงานวิศวกรรม ตั้งแต่เรื่องโครงสร้างอะตอม กลไกการยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม คุณสมบัติทางกลของวัสดุ มีความรู้ด้านการปรับปรุงคุณสมบัติวัสดุ กระบวนการผลิตวัสดุ ที่สามารถนำไปใช้ในการเลือกวัสดุและกระบวนการผลิตที่เหมาะสม
บรรยาย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
สอบกลางภาคและปลายภาค
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.2 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร การสื่อสารการทำงานในกลุ่ม
5.1.3 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGCC303 วัสดุวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค 9 35%
2 สอบปลายภาค 17 35%
3 การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน 12 20%
4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 12, 16 10%
วิลเลียม เอฟ สมิธ (แปลโดย รศ. แม้น อมรสิทธิ์ และ ผศ.ดร. สมชัย อัครทิวา). (2004) วัสดุวิศวกรรม, สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ
 วิลเลียม ดี คัลลิสเตอร์ จูเนียร์ (แปลโดย สุวันชัย พงษ์สุกิจวัฒน์ และคณะ). (2005) วัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุพื้นฐาน, สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ
 
Avner, Sidney H. (1974). Introduction to Physical Metallurgy. 2nd Edition. Singapore: Mc Graw-Hill Book Company.
วีระพันธ์ สิทธิพงศ์ ผศ. (2532). โลหะวิทยากายภาพสำหรับวิศวกร 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิยมวิทยา.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
สืบค้นเนื้อหาเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต และเรียบเรียงเนื้อหาบางหน่วยเรียนขึ้นใหม่
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยการปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4