ปฏิบัติการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณ

Signal and Circuits Operational Simulation Laboratory

     1. อธิบายขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมช่วยสำหรับจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณ เช่น PSpice, MATLAB, SIMULINK, SciLab, MultiSim เป็นต้น
     2. มีทักษะในการปฎิบัติการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณด้วยโปรแกรมช่วย เช่น PSpice, MATLAB, SIMULINK, SciLab, MultiSim เป็นต้น
     3. อธิบายรูปแบบวิธีการสร้างสมการจากคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์และการเชื่อมต่อในระบบ
     4. สร้างสมการของระบบโดยใช้คอมพิวเตอร์5. แก้ปัญหาเกี่ยวกับสมการพีชคณิตเชิงเส้นและเทคนิคการแก้ปัญหาของเมทริกต์ต่างๆ
     6. เห็นคุณค่าของการมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมและการทำงานเป็นทีม
     1. ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กรอบแนวคิดแบบ CDIO มาประยุกต์ใช้ โดยการเลือกหน่วยเรียน/บทเรียนที่เหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนของรายวิชาต่อไป
     2. ปรับปรุงวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกิจกรรมในการการจัดการเรียนการสอน และผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่จะเกิดขึ้นหลังจากการจัดการเรียนการสอน
     ปฏิบัติการเกี่ยวกับการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อทบทวนกฎและทฤษฎีบทของวงจรไฟฟ้า วงจรคัปเปิ้ลสัญญาณ วงจรเรียงกระแส การวิเคราะห์ผลตอบสนองทางเวลาและความถี่ในวงจร RLC วงจรขยายสัญญาณที่ใช้ทรานซิสเตอร์รอยต่อไบโพลาร์ ทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้าและออปแอมป์ วงจรกำเนิดสัญญาณต่าง ๆ คุณลักษณะของสัญญาณ การทำสังวัตนาการ (Convolution) การแปลงโดเมนของสัญญาณ
     1. อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์/กลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา และหน้าห้องพัก
     2. อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) และกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา สามารถขอปรึกษาตลอดเวลาโดยที่ผู้สอนจะคอยตอบคำถามหรือให้คำปรึกษาตามความเหมาะสม
     นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
     1.1.1 แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู ที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
     1.1.2 สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
     1.1.3 แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
     1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
     1.2.1 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี เช่นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
     1.2.2 กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้บทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งการเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
     1.2.3 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
     1.2.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำความดี การทำประโยชน์และเสียสละแก่ส่วนรวม
     1.3.1 ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
     1.3.2 ประเมินผลจากรายงานการจัดกิจกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ
     1.3.3 ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด การร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร การกระทำทุจริตในการสอบ และเป็นแบบอย่างที่ดี
     1.3.4 ประเมินจากการเตรียมการทดลอง การประกอบวงจร การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐาน การวัดและทดสอบวงจรและสรุปผลการทดลอง ของแต่ละใบงานการทดลอง
     1.3.5 ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และการรับฟังความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอนและกลุ่มนักศึกษาในชั้นเรียน
     นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาวิศวศึกษาตามเอกวิชา คือ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
     2.1.1 มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไปของรายวิชา TEDEE229 ปฏิบัติการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1) ดังนี้
            1.  อธิบายขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมช่วยสำหรับจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณ เช่น PSpice, MATLAB, SIMULINK, SciLab, MultiSim เป็นต้น
            2.  มีทักษะในการปฎิบัติการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณด้วยโปรแกรมช่วย เช่น PSpice, MATLAB, SIMULINK, SciLab, MultiSim เป็นต้น
            3.  อธิบายรูปแบบวิธีการสร้างสมการจากคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์และการเชื่อมต่อในระบบ
            4.  สร้างสมการของระบบโดยใช้คอมพิวเตอร์
            5.  แก้ปัญหาของสมการพีชคณิตเชิงเส้นและเทคนิคการแก้ปัญหาของเมทริกต์ต่างๆ
     2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
     2.1.3 สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
     2.2.1 เลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมตามหัวข้อของลักษณะรายวิชา โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามสภาพจริง เช่น
            1. บรรยาย 
            2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
            3. สาธิตการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์การทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 
            4. มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดของแต่ละบท
            5. ปฏิบัติการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณด้วยโปรแกรมช่วย
            6. ปฏิบัติการสร้างสมการของระบบโดยใช้คอมพิวเตอร์จากคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์และการเชื่อมต่อในระบบ แก้ปัญหาของสมการพีชคณิตเชิงเส้นและเทคนิคการแก้ปัญหาของเมทริกต์ต่างๆ
     2.2.2 ส่งเสริมและชี้แนะให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม แล้วนำมาประยุกต์สร้างผลงานทางวิชาการ
     2.2.3 ส่งเสริมและชี้แนะการบูรณาการนำความรู้ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนการฝึกงานในสถานประกอบการ และปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
     2.3.1 ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
     2.3.2 ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัด รายงาน การนำเสนอผลงาน
     2.3.3 ประเมินจากจำนวนผลการปฏิบัติการทดลองและการส่งผลการปฏิบัติงานในระหว่างชั่วโมงเรียน
     2.3.4 ประเมินจากการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาและขั้นตอนการทดลองของใบงานการทดลอง
     2.3.5 ประเมินการทดสอบภาคปฏิบัติและ Term Project
     นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้นมาตรฐานทักษะทางปัญญาต้องครอบคลุมดังนี้
     3.1.1 มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
     3.1.2 มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)
     3.2.1 ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ 
     3.2.2 ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
     3.3.1 ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
     3.3.2 ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัด รายงาน การนำเสนอผลงาน
     3.3.3 ประเมินผลจากการเชื่อมโยงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติการในใบงานการทดลองตามที่ระบุในแต่ละใบงานการทดลอง การทดสอบภาคปฏิบัติ และ Term Project
     3.3.4 ประเมินจากพฤติกรรม กิจนิสัย และการแสดงออกในการแก้ปัญหาจากปฏิบัติการในใบงานการทดลอง
     นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน การมี ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาระหว่างที่สอนเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
     4.1.1 แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1)
     4.1.2 แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.2)
     4.1.3 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.3)
     4.1.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.4)
     4.2.1 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มที่แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
     4.2.2 ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
     4.2.3 กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
     4.2.4 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม
     4.3.1 ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
     4.3.2 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การทำรายงาน
     4.3.3 ประเมินจากพฤติกรรม กิจนิสัย และการแสดงออกในการแก้ปัญหาจากปฏิบัติการในใบงานการทดลอง
     ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติดังนี้
     5.1.1 มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1)
     5.1.2 สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2)
     5.1.3 สามารถสนทนา เขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
     5.2.1 ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
     5.2.2 วิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลข่าวสาร
     5.2.3 นำเสนอรายงานด้านวิชาการโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
     5.3.1 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสารในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
     5.3.2 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล การวิเคราะห์และแปลความหมายในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และการเตรียมตัวสอบกลางภาค สอบปลายภาค และการทดสอบภาคปฏิบัติ
     5.3.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานและ Term Project
     5.3.4 จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และธรรมเนียมปฏิบัติของสังคม
     การทำงานในสถานศึกษา สถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะการปฏิบัติ การวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายตามสภาพจริง ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องมุ่งเน้นการสร้างทักษะการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
     6.1.1 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
     6.1.2 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึงประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมีนวัตกรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
     6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
     6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
     6.2.3 สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
     6.2.4 จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
     6.2.5 สนับสนุนการจัดทำ Term Project
     6.3.1 ประเมินจากพฤติกรรม กิจนิสัย และการแสดงออกในการแก้ปัญหาจากปฏิบัติการในใบงานการทดลอง
     6.3.2 ประเมินทักษะด้านต่าง ๆ ในการปฏิบัติการทดลอง
     6.3.3 ประเมินผลการปฏิบัติการในใบงานการทดลอง โดยมีการเตรียมการทดลอง การประกอบวงจร การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐาน การวัดและทดสอบวงจรและสรุปผลการทดลอง ตามที่ระบุในแต่ละใบงานการทดลอง
     6.3.4 ประเมินการทดสอบภาคปฏิบัติและ Term Project
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3 6.1 6.2
1 TEDEE229 ปฏิบัติการจำลองการทำงานของวงจรและสัญญาณ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 1) ประเมินจากการมีระเบียบวินัย การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การแต่งกาย การกระทำทุจริตในการสอบ และเป็นแบบอย่างที่ดี 2) ประเมินจากการส่งการบ้าน แบบฝึกหัด ตามที่มอบหมาย 3) ประเมินจากการเตรียมการทดลอง การประกอบวงจร การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐาน การวัดและทดสอบวงจรและสรุปผลการทดลอง ของแต่ละใบงานการทดลอง ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1, 2.2 1) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 2) ประเมินผลจากการทำรายงาน การนำเสนอผลงาน 3) ประเมินจากจำนวนผลการปฏิบัติการทดลองและการส่งผลการปฏิบัติงานในระหว่างชั่วโมงเรียน 4) ประเมินจากการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาและขั้นตอนการทดลองของใบงานการทดลอง 5) ประเมินการทดสอบภาคปฏิบัติและ Term Project ตลอดภาคการศึกษา, ตลอดภาคการศึกษา, ตลอดภาคการศึกษา, ตลอดภาคการศึกษา, 16 10%, -, 25%, 25%, 10%
3 3.1 1) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 2) ประเมินผลจากการนำเสนองานตามที่มอบหมาย 3) ประเมินผลจากการเชื่อมโยงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติการในใบงานการทดลองตามที่ระบุในแต่ละใบงานการทดลอง การทดสอบภาคปฏิบัติ และ Term Project 4) ประเมินจากพฤติกรรม กิจนิสัย และการแสดงออกในการแก้ปัญหาจากปฏิบัติการในใบงานการทดลอง ตลอดภาคการศึกษา 5%
4 4.3 1) ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 2) ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การทำรายงาน 3) ประเมินจากพฤติกรรม กิจนิสัย และการแสดงออกในการแก้ปัญหาจากปฏิบัติการในใบงานการทดลอง ตลอดภาคการศึกษา 5%
5 5.2, 5.3 1) ประเมินจากการความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสารในการเตรียมตัวร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 2) ประเมินจากการความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล การวิเคราะห์และแปลความหมายในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และการเตรียมตัวการทดสอบภาคปฏิบัติ 3) ประเมินจากการจรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และธรรมเนียมปฏิบัติของสังคม เช่น การอ้างอิงผลงานของผู้อื่น ตลอดภาคการศึกษา 5%
6 6.1 1) ประเมินจากการทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม 2) ประเมินจากพฤติกรรม กิจนิสัย และการแสดงออกในการแก้ปัญหาจากปฏิบัติการในใบงานการทดลอง 3) ประเมินทักษะด้านต่าง ๆ ในการปฏิบัติการทดลอง การทดสอบภาคปฏิบัติและ Term Project 4) ประเมินผลการปฏิบัติการในใบงานการทดลองและสรุปผลการทดลอง ตามที่ระบุในแต่ละใบงานการทดลอง ตลอดภาคการศึกษา 5%
     1. Cadence Design Systems, Inc., PSpice Schematics: Schematic Capture Software: User’s Guide, 2nd edition, 2000
     2. Cadence Design Systems, Inc., Orcad® Capture: User’s Guide, 2nd edition, 2000
     3. Cadence Design Systems, Inc., PSpice® : User’s Guide, 2nd edition, 2000
     4. OrCAD, Inc., OrCAD PSpice® A/D: User’s Guide, 1st edition, 1998
     5. Paul Tobin, PSpice for Circuit Theory and Electronic Devices, 1st edition, 2007
     6. Robert Boylested and Luis Nashelsky, ELECTRONICS DEVICES AND CIRCUIT THEORY, 8th Edition, 2002
     7. Robert T.Paynter, INTRODUCTORY ELECTRONIC DEVICES AND CIRCUITS, 4th Edition, 1989
     8. Donald A.Neamen, MICROELECTRONICS: CIRCUIT ANALYSIS AND DESIGN, 3rd Edition, 2007
     9. Ali Aminian and Marian Kazimierczuk, Electronic Devices A Design Approach, 2004
     10. Adel S. Sedra and Kenneth C. Smith, Microelectronic Circuits, 4th edition, HRW, 1998, ISBN 0-19-511663-1.
     11. J. Vlach and K. Singhal, Computer Methods for Circuit Analysis and Design, Van Nostrand Reinhold Co., 2nd Edition, 1994
     1. http://www.orcad.com/resources/orcad-downloads
     2. http://www.ni.com/multisim/
     3. https://www.youtube.com/watch?v=7ukDKVHnac4
     4. เนื้อหาในหัวข้อที่มอบหมายให้ศึกษาด้วยตนเองที่ผ่านการแนะนำจากผู้สอน
     1. เนื้อหาในหัวข้อที่มอบหมายให้ศึกษาด้วยตนเองที่ผ่านการแนะนำจากผู้สอน
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
     1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
     1.3 ข้อเสนอแนะผ่านกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชาที่จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
     ก่อนการสอนควรมีการประเมินกลยุทธ์การสอนโดยทีมผู้สอนหรือระดับสาขาวิชา และ/หรือ การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรหรือวิธีการสอน ส่วนช่วงหลังการสอนควรมีการวิเคราะห์ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และการวิเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษา โดยการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
     2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
     2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
     2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
     3.1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อหาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับสภาพรายวิชาและการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกัน
     3.1 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
     ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
     4.1 มีการตั้งคณะกรรมการอาจารย์ประจำหลักสูตร  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
     4.2 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ประจำหลักสูตร  หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
     จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
     5.1  ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสะท้อนผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
     5.2  ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4