วิทยานิพนธ์สำหรับการออกแบบสถาปัตกรรมภายใน

Thesis for Interior Architectural Design

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ที่ได้ศึกษา มาตลอดหลักสูตร มาเป็นแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์ ที่ประกอบด้วยการศึกษา ขอบเขตของงาน พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ กฎหมายเทศบัญญัติที่เกี่ยวข้อง สภาพแวดล้อม การวิเคราะห์พื้นที่ภายในรายละเอียดความต้องการของโครงการ แนวความคิดในการออกแบบ วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมภายใน โดยนักศึกษาจะต้องปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ในช่วงระหว่างการออกแบบ งานวิทยานิพนธ์ประกอบด้วย เอกสารภาคนิพนธ์ งานออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน และการทำหุ่นจำลอง  การดำเนินการทำวิยานิพนธ์จะต้องปฏิบัติตามระเบียบการทำวิทยานิพนธ์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และมีทักษะการทำวิทยานิพนธ์
ไม่มี
ประมวลความรู้ ทฤษฎี และการปฏิบัติตลอดหลักสูตร จัดทำข้อมูลโครงการกระบวนการออกแบบ กำหนดแนวความคิด ปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในตามวัตถุประสงค์
-   อาจารย์ที่ปรึกษา ติดประกาศเวลาให้คำปรึกษา ณ.ห้องพักอาจารย์
-   อาจารย์ที่ปรึกษาจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล ต่อนักศึกษาสัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง /สัปดาห์
1.1.1   มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมโดยการปลูกฝัง จิตสานึก นิสัยที่ดีในการทาวิทยานิพนธ์
1.1.2   มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นในการออกแบบ
1.1.3   มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
แนะนำให้ความรู้ในการทำงานออกแบบและสอดแทรกตัวอย่างที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับรายวิชาและสามารถสร้างจิตสำนึกหรือปลุกเร้าให้นักศึกษาได้ซึมซับจิตสำนึกสาธารณะในการออกแบบ พร้อมมีคุณธรรม จริยธรรมในการออกแบบผลงาน

1.2.2 ให้คำแนะนำ การแก้ไขและการปรับปรุงงาน พร้อมสอดแทรกการมีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
ปลูกฝังความมีวินัย การตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม โดยอธิบายข้อกำหนดการเข้าเรียนของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียน การลด-ถอนรายวิชาหากนักศึกษาไม่มีความพร้อมในการเรียน
1.3.1    ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้สอน
1.3.2    ประเมินจากการนำเสนอผลงานการออกแบบที่แสดงถึงจรรยาบรรณของนักศึกษา  การเขียนรายงานมีการอ้างอิงที่มาและบรรณานุกรมในรายงาน
1.3.3    การส่งงานตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา พฤติกรรมการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษามี ความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ
2.1.1    มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาทางการออกแบบเพื่อควบคุมกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 
2.1.2    สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3    สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลงานทางสถาปัตยกรรมภายใน
2.2.1     อธิบายและสร้างความเข้าใจในการนำหลักทฤษฎีทางการออกแบบไปใช้ในการออกแบบ
2.2.2    แนะนำการใช้องค์ความรู้จากศาสตร์แขนงอื่นๆ ในการทำกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 
2.2.3    แนะนำและมอบหมายการนำเทคโนโลยีด้านต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน การนำเสนอผลงานการออกแบบผ่านทั้งกระบวนการเขียนด้วยมือและคอมพิวเตอร์
2.3.1     ประเมินการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ การแสดงความคิดเห็นและความก้าวหน้าของข้อมูลเนื้อหาวิทยานิพนธ์กับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และกรรมการวิทยานิพนธ์
2.3.2     ประเมินการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ การแสดงทักษะและความก้าวหน้าของผลงานการออกแบบวิทยานิพนธ์กับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
2.3.3     วัดผลงานที่ได้รับมอบหมายโดยการนำเสนอผลงานการออกแบบผ่านทั้งกระบวน
การเขียนด้วยมือและคอมพิวเตอร์
3.1.1     มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพโดยบูรณาการความรู้จากการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อการปฏิบัติผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน
 3.2.1     ให้นักศึกษารวบรวมองค์ความรู้ และนำมาสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์  บูรณาการในการออกแบบแนวคิดเพื่อใช้ในการออกแบบผลงานสถาปัตยกรรมภายในพร้อมรูปเล่มวิทยานิพนธ์ และนำเสนอกับอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการวิทยานิพนธ์
3.3.1      วัดผลงานที่ออกแบบ การนำเสนอ power point การเขียนแบบก่อสร้าง การทำชาร์ทผลงานสุดท้ายประกอบด้วยหน้าที่ใช้สอย ความงาม ความทันสมัยเหมาะสมกับลักษณะโครงการและแนวโน้มของตลาดการออกแบบ  ความสมบูรณ์ของรูปเล่มวิทยานิพนธ์ การนำเสนอผลงาน
4.1.1     มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2     สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2.1 ให้นักศึกษานำผลงานเข้าตรวจและแก้ไขจากอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาอธิบายพร้อมสอดแทรกการวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.2    ให้นักศึกษานำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการวิทยานิพนธ์และบุคคลที่สนใจรับฟังตามกำหนด
4.3.1     ประเมินผลงานการทำงาน และการรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมชั้นและอาจารย์ที่ปรึกษา
4.3.2     ประเมินด้วยการนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการวิทยานิพนธ์และบุคคลที่สนใจรับฟัง โดยสามารถอธิบายในสิ่งที่ออกแบบให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถึงวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายของผลงาน
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
5.1.1     สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสมโดยสามารถถ่ายทอดความรู้และนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
5.1.2    สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมโดยทำผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในและจัดทำรูปเล่มรายงานได้ถูกต้องตามกระบวนการและหลักการได้อย่างถูกต้อง
5.1.1 ที่ปรึกษาอธิบายถึงแนวทางการนำเสนอผลงานและการเขียนรูปเล่มวิทยานิพนธ์
5.12 มอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูล ค้นคว้าและนำมาวิเคราะห์โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดทำผลงานการออกแบบได้อย่างถูกต้อง และการนำเสนอผลงานจากการออกแบบขั้นสมบูรณ์ด้วย Power Point และชาร์ทผลงานทุกพื้นที่ในโครงการ พร้อมรูปเล่มวิทยานิพนธ์
5.2.1 ประเมินด้วยการนำเสนอความก้าวหน้าของวิทยานิพนธ์
5.2.2 ประเมินผลงานจากการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา การนำเสนอผลงานการออกแบบ ขั้นสมบูรณ์ด้วย Power Point และชาร์ทผลงานทุกพื้นที่ในโครงการ พร้อมรูปเล่มวิทยานิพนธ์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 42021599 วิทยานิพนธ์สำหรับการออกแบบสถาปัตกรรมภายใน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม 1.ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้สอน 2.ประเมินจากการนำเสนอผลงานการออกแบบที่แสดงถึงจรรยาบรรณของนักศึกษา การเขียนรายงานมีการอ้างอิงที่มาและบรรณานุกรมในรายงาน 3.การส่งงานตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา พฤติกรรมการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษามี ความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ เนื้อหาในสัปดาห์ที่ 2,4,5,7,8,1011,12,14 15,16,17 15
2 ความรู้ 1.ประเมินการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ การแสดงความคิดเห็นและความก้าวหน้าของข้อมูลเนื้อหาวิทยานิพนธ์กับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และกรรมการวิทยานิพนธ์ 2.ประเมินการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ การแสดงทักษะและความก้าวหน้าของผลงานการออกแบบวิทยานิพนธ์กับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 3.วัดผลงานที่ได้รับมอบหมายโดยการนำเสนอผลงานการออกแบบผ่านทั้งกระบวนการเขียนด้วยมือและคอมพิวเตอร์ ตลอดภาคการศึกษา 30
3 ทักษะทางปัญญา 1.วัดผลงานที่ออกแบบ การนำเสนอ power point การเขียนแบบก่อสร้าง การทำชาร์ทผลงานสุดท้ายประกอบด้วยหน้าที่ใช้สอย ความงาม ความทันสมัยเหมาะสมกับลักษณะโครงการและแนวโน้มของตลาดการออกแบบ ความสมบูรณ์ของรูปเล่มวิทยานิพนธ์ การนำเสนอผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 30
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 1. ประเมินผลงานการทำงาน และการรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมชั้นและอาจารย์ที่ปรึกษา 2.ประเมินด้วยการนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการวิทยานิพนธ์และบุคคลที่สนใจรับฟัง โดยสามารถอธิบายในสิ่งที่ออกแบบให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถึงวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายของผลงาน เนื้อหาในสัปดาห์ที่ 3,6,13,15 16,17 10
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1.ประเมินด้วยการนำเสนอความก้าวหน้าของวิทยานิพนธ์ การนำเสนอผลงานการออกแบบ ขั้นสมบูรณ์ด้วย Power Point และชาร์ทผลงานทุกพื้นที่ในโครงการ พร้อมรูปเล่มวิทยานิพนธ์ 2.ประเมินผลงานจากการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา เนื้อหาในสัปดาห์ที่ 2,6,9,12,16, 18 ตลอดเทอม 15
Sam F. Miller.  1995.  Design Process: A Primer for Architectural and Interior Design
(Architecture).  John Wiley & Sons, Inc.
จันทนีย์ เพชรานนท์ .  การจัดทำรายละเอียดโครงการสถาปัตยกรรมภายใน.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร.  2528.    การจัดทำรายการรายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบงาน
สถาปัตยกรรม.  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.   
CD. วิทยานิพนธ์ของบัณฑิตสถาปัตยกรรมภายใน มทร.ล้านนา ปีที่ผ่านมา
 เล่มวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตสถาปัตยกรรมภายใน มทร.ล้านนา
 เอกสารการจัดรูปเล่มวิทยานิพนธ์ Thesis Format 2019
http://www.kmitl.ac.th/ader/articles/case%20study.htm
 
 
1.1การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
 
 
2.1การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือด้านสถาปัตยกรรม,สถาปัตยกรรมภายใน