สถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล

Architecture for All

 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจความเป็นมาของสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล ประเภทผู้ใช้ที่มีข้อจำกัดต่อการเข้าถึงและใช้งานอาคาร หลักการออกแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งอานวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล ศึกษาข้อกำหนด เกณฑ์ มาตรฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมได้ เพื่อให้นักศึกษาได้มีทักษะในการฝึกปฏิบัติการออกแบบหรือปรับปรุงอาคารสถานที่ให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน ปราศจากอุปสรรค เบาแรง และปลอดภัย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ร่วมสร้างสรรค์อาคารและสภาพแวดล้อมให้มีคุณภาพ ให้การเข้าถึง การใช้งานได้โดยสะดวกต่อทุก ๆ คนได้อย่างเท่าเทียม
 
เพื่อพัฒนาเนื้อหาของวิชาให้มีความทันสมัย และจากสถาณการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ทางมหาวิทยาลัยมีนโยบายให้จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ จึงพัฒนาวิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในรูปแบบออนไลน์ในช่วง 9 สัปดาห์แรก โดยมีการสอนภาคทฤษฎีสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงแบบออนไลน์และมอบหมายงานภาคปฏิบัติ ด้วยการ work from home ส่งงานและนำเสนอทางออนไลน์ ในส่วนภาคปฏิบัติ ในช่วง 9 สัปดาห์หลังให้สามารถปฏิบัติการในชั้นเรียนได้ จึงได้ทำการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา BARAT503 สถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล
ศึกษาความเป็นมาของสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล ประเภทผู้ใช้ที่มีข้อจำกัดต่อการ เข้าถึงและใช้งานอาคาร หลักการออกแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งอานวยความ สะดวกเพื่อคนทั้งมวล ฝึกปฏิบัติการออกแบบหรือปรับปรุงอาคารสถานที่ให้คนทุก กลุ่มเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน ปราศจากอุปสรรค เบาแรง และ ปลอดภัย
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ ในรูปแบบออนไลน์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีควำมรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.เช็คการเช้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในกิจกรรม การนำเสนองาน การทำงานเป้นกลุ่ม เพื่อสังเกต วินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลำ และมีความรับผิดชอบต่อตนเองสังคม และสิ่งแวดล้อม
2.ให้ข้อแนะนำ รวมทั้งมีการจัดกิจกรรม ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ในการสอน  
1.ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน
2.ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม การเข้าเรียน การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
3.ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
มีการใช้สื่อการสอนแบบดิจิตัลร่วมกับการสอนแบบออนไลน์ มีการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการ ข้อกำหนด และทฤษฎี การประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง เช่น การศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง 
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำผ่านสื่อออนไลน์
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียนผ่านสื่อออนไลน์
2.3.4 ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1. ศึกษาจากกรณีศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมหรืองานวิจัย 
2.การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล
3.มอบหมายงานโดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลการศึกษาและผลงานการออกแบบ ผ่านสื่อออนไลน์
1.ประเมินตามผลงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.ประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษา
3.ประเมินจากการนำเสนองานผลงาน
(3) สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม

(4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม
2. มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม การเคารพสิทธิและการยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่น
3. การแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์งานของผู้อื่น

 
1 ประเมินจากบทบาทของนักศึกษาในกลุ่ม ความรับผิดชอบ การประสานงานระหว่างบุคคลและผลสำเร็จของงานแต่ละกลุ่ม

2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อสังคมและพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรม  
-
 
-
-
(2) มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง

(3) มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1.การใช้กรณีศึกษา ข้อกำหนดต่าง ๆ มาใช้ในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
2.มอบหมายงานโดยเน้นทักษะการสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเองและการปฏิบัติงานสร้างสรรค์แบบกลุ่ม
ประเมินจากการปฏิบัติงานออกแบบผลงานและการนำเสนอ 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักาะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะจิตพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BARAT503 สถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน/พฤติกรรมในชั้นเรียน/การส่งงานตรงเวลา 1-18 10
2 ความรู้ สอบทฤษฎีกลางภาค สอบทฤษฎีปลายภาค 9 , 18 25
3 ทักษะทางปัญญา แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล 10, 11 , 12 , 13 , 14 , 15 30
4 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมในการค้นคว้า สำรวจและวิเคราะห์สถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 , 8 15
5 ทักษะการสื่อสารและใช้เทคโนโลยี - - -
6 ทักษะพิสัย การนำเสนอผลงานปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล 16 , 17 20
 

 1. สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์. (2552) คู่มือปฏิบัติวิชาชีพ การออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Universal Design Code of Practice). พลัส เพลส. กรุงเทพ.
2. สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย. (2562) ข้อแนะนำการออกแบบบาทวิถีและสิ่งแวดล้อมเพื่อทุกคน.
3. สำนักการโยธา. (2556) สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อทุกคนในสังคม. สำนักการโยธา. กรุงเทพ.
4. ชุมเขต แสวงเจริญ, ดรรชนี เอมพันธุ์, กำธร กุลชล.(2560) แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวลในอุทยานแห่งชาติ. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 16 (2). 96-117.
5. บัญชา บูรณสิงห์, อัธยานันท์ จิตรโรจนรักษ์, พัฑรา สืบศิริ และ มณฑล จันทร์แจ่มใส (2562) ต้นแบบการพัฒนาปรับปรุงอาคารเพื่อเข้าสู่การออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2562) วารสารวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 2 (2). 1-9.
6. ศรีสุดา ภู่แย้ม, เจนจิรา เจนจิตรวาณิช, ธรรม จตุนาม (2562) การออกแบบห้องน้ำสำหรับคนพิการทางการมองเห็น. วารสารวิทยาลัยราชสุดา. 11(14). 71-84.
7. สุชน ยิ้มรัตนบวร (2561) การพัฒนาการออกแบบบ้านพักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยด้วยหลักการออกแบบสำหรับคนทุกวัย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. (26). 173-188
8. สุชน ยิ้มรัตนบวร (2560) เสนอแนะการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพสำหรับผู้สูงอายุโครงการแบบบ้านยิ้มเพื่อประชาชนระยะที่ 3 สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. (24). 50-64
9. สัญชัย สันติเวส, นิธิวดี ทองป้อง (2560) ทัศนคติของคนไทยที่มีต่อสิ่งอานวยความสะดวกของผู้พิการที่ถูกออกแบบเพื่อคนทั้งมวลในที่สาธารณะ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(3) 1360-1370.
10. สุรชาติ สินวรณ์, ณัฐบดี วิริยาวัฒน์. (2558) แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมทางกายภาพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุและพิการ ตลาดน้ำตลิ่งชัน. SDU Res.j. 11(3).
11. สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (2556). การปรับสภาพบ้านเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนพิการ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี.
 

 
 
 
1. Universal-architectural-design เข้าถึงจาก https://www.slideshare.net/flamingonm/universal-architectural-design
2. Universal Design: Creating Better Buildings & Cities for All เข้าถึงจาก https://weburbanist.com/2019/02/06/universal-design-creating-better-buildings-cities-for-all
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ดังนี้

สอบถามนักศึกษาถึงจุดอ่อน จุดแข็งของรายวิชาและสิ่งที่ต้องการให้ปรับปรุงขณะสอน แบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 แบบประเมินการสอน
2.2 ข้อมูลจาก มคอ.5 ของปีการศึกษาที่ผ่านมา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 นำผลการประเมินรายวิชา และการประเมินการสอนมาปรับปรุงในจุดอ่อน
3.2 แก้ปัญหาข้อจำกัดด้านทรัพยากรที่มีเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนของนักศึกษา
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา ดังนี้
5.1 ปรับปรุงแผนการสอนทุกปี
5.2 เสนอให้มีการปรับปรุงรายวิชาตามรอบการปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี