สัญญาณและระบบ

Signals and Systems

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน องค์ประกอบ ประโยชน์จากการใช้งานด้านสัญญาณและระบบทั้งแบบต่อเนื่องและแบบไม่ต่อเนื่อง  ผลกระทบ  การใช้งานด้านการสัญญาณและระบบในปัจจุบัน  ที่มีอิทธิพลต่อสังคม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย โดยเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ เกี่ยวกับ สัญญาณและระบบแบบไม่ต่อเนื่อง    ผลการแปลงแซดการแปลงฟูรีเยร์  ซึ่ง เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ   ไปใช้ในการประยุกต์การประมวลผลสัญญาณดิจิตอล  การประมาณสเปกตรัมของกำลังทางความถี่   เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ การจำแนกประเภทและคุณสมบัติของสัญญาณและระบบ วิธีวิเคราะห์ระบบทั้งในเชิงเวลาและเชิงความถี่ ทฤษฎีคอนโวลูชั่น การแปลงแบบลาปลาซ การแปลงแบบฟูเรียร์ การแปลงแบบแซด การประยุกต์ใช้วิเคราะห์ในวงจรไฟฟ้าของการแปลงแบบต่างๆ ผังการไหลเวียน สัญญาณ แบบจำลองของโรงงานระบบวงจรเปิด ระบบวงจรปิด เสถียรภาพของระบบ แนวทางเดินของรากทฤษฎี การสุ่ม ผลตอบสนองเชิงเวลา ผลตอบสนองเชิงความถี่ ระบบป้อนกลับ  ชุดสมการแสดงสถานภาพของระบบและคำตอบ          Study of classification and characterization of signals and systems; systems analysis in both time and frequency; convolution theory; laplace transform; fourier transform; z transform; the application with analyzes on the circuit's conversion types; the signal flow diagram; the model of factories; open circuit system; closed circuit system; system stability; the roots of the random theory; Time response; frequency response; feedback system; the status sets of the system and answer.
- การศึกษาด้วยตนเอง 5 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย มีความรับผิดชอบ และเคารพกฎระเบียบ ตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้ 
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม  1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม  1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายหลักการของสัญญาณและระบบแบบไม่ต่อเนื่อง   ผลการแปลงแซด    การแปลงฟูเรียร์    พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการ  1.2.2 การประยุกต์การประมวลผลสัญญาณ  การใช้โปรแกรมสำหรับออกแบบและวิเคราะห์สัญญาณ   1.2.3 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ  1.2.4 อภิปรายกลุ่ม
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา  1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม  1.3.3   ประเมินจากการมีวินัยและเตรียมพร้อมของนักศึกษาในการเข้าเรียนและการส่งการบ้าน  1.3.4   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ  1.3.5  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้ในหลักการ การจำแนกประเภทและคุณสมบัติของสัญญาณและระบบ วิธีวิเคราะห์ระบบทั้งในเชิงเวลาและเชิงความถี่ ทฤษฎีคอนโวลูชั่น การแปลงแบบลาปลาซ การแปลงแบบฟูเรียร์ การแปลงแบบแซด การประยุกต์ใช้วิเคราะห์ในวงจรไฟฟ้าของการแปลงแบบต่างๆ ผังการไหลเวียน สัญญาณ แบบจำลองของโรงงานระบบวงจรเปิด ระบบวงจรปิด เสถียรภาพของระบบ แนวทางเดินของรากทฤษฎี การสุ่ม ผลตอบสนองเชิงเวลา ผลตอบสนองเชิงความถี่ ระบบป้อนกลับ  ชุดสมการแสดงสถานภาพของระบบและคำตอบ   การใช้โปรแกรมสำหรับการออกแบบและวิเคราะห์สัญญาณ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้  2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์    เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี  2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ    ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม  2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  2.1.4  สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น   2.1.5  สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
บรรยายหลักการทางทฤษฎี  และประยุกต์ใช้ด้านสัญญาณและระบบแบบไม่ต่อเนื่อง   ผลการแปลงแซด การแปลงฟูเรียร์   โดยสอดคล้องกับเนื้อหาการใช้โปรแกรมสำหรับการออกแบบและวิเคราะห์สัญญาณ  การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าเพิ่มเติม   ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – Based Learning
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ   สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณให้สอดคล้องตามหลักความเป็นจริง   มีการวิเคราะห์ทั้งในแง่โดเมนความถี่และโดเมนเวลา  เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการประยุกต์ ใช้ โปรแกรมสำหรับการออกแบบและวิเคราะห์สัญญาณ   โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้  3.1.1  มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี  3.1.2  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ  3.1.3  สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  3.1.4  มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์  3.1.5  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำการวิเคราะห์  และเขียนขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์  3.2.2   การอภิปรายกลุ่ม  3.2.3   กรณีศึกษาทางการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์  จากการออกแบบและเขียนการวิเคราะห์สัญญาณที่ออกแบบได้อย่างเหมาะสม  3.2.4   ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริงด้วยการเขียนโปรแกรมออกแบบระบบสัญญาณ  3.2.5   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา    มีแนวคิดของการแก้ปัญหา  และหรือมีการวิเคราะห์แนวคิดในการเขียนโปรแกรมสำหรับการออกแบบสัญญาณ  3.3.2   วัดผลจากการประเมินวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา   3.3.3   วัดผลจากทักษะการใช้โปรแกรมตามสภาพจริงของนักศึกษา  3.3.4   การทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์  3.3.5   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน    พัฒนาความเป็นผู้เขียนโปรแกรมและผู้ใช้โปรแกรมได้อย่างเป็นประสานสอดคล้องกัน     พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองพร้อมทั้งมีความรับผิดชอบในงานเขียนโปรแกรมได้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา    สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขความผิดพลาดจากการรันโปรแกรมได้อย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของส่วนรวม      โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้  4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม  4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ  4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง  4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม    สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำ และผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ  4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากการเขียนขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์  4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น  การประยุกต์ใช้โปรแกรมที่มีภาษาเป็นโครงสร้าง      การนำตัวอย่างโปรแกรมมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายแบบ  หรือ การอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา  4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด  4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ในชั้นเรียน  4.3.3   ประเมินจากสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูลที่ได้
พัฒนาทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลขผสมผสานกับการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาทางการออกแบบสัญญาณดิจิตอล       พัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมเพื่อสื่อสารระหว่างซอฟต์แวร์ของตนเองกับผู้ใช้โปรแกรมผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์    พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษาการเขียนและอ่านโปรแกรม   พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต       โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้  5.1.1  มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี  5.1.2  มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์  5.1.3  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  5.1.4  มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์  5.1.5  สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ  5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  5.2.3   มอบหมายให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์  อาจมีการวิจารณ์ในเชิงวิชาการระหว่างอาจารย์กับกลุ่มนักศึกษา  5.2.4   ให้นักศึกษาลงมือเขียนโปรแกรมด้วยตนเองเพื่อพิสูจน์ผลจากการวิเคราะห์
5.3.1   ประเมินจากผลลัพธ์การรันโปรแกรม  และแสดงรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี  5.3.2   ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้คำสั่งต่างๆ จากการเขียนโปรแกรม  5.3.3  ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎี  การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้อง  5.3.4  กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
สามารถใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์ทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง    ปฏิบัติการเขียนโปรแกรมออกแบบสัญญาณดิจิตอลได้อย่างเป็นระบบ    โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้  6.1.1  สามารถใช้อุปกรณ์ เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง   ปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและปลอดภัย  6.1.2  มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม   มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ   และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
สาธิตการออกแบบสัญญาณและสอนการใช้โปรแกรมออกแบบและการรันโปรแกรมเพื่อพล็อตกราฟ   6.2.2  ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต  6.2.3  แสดงความชื่นชมในความสามารถและให้รางวัลแก่นักศึกษาที่มีผลงานการฝึกปฏิบัติดี  6.2.4   นำเสนอโดยใช้รูปแบบโจทย์ปัญหาและเทคโนโลยีที่เหมาะสม   เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์ และลงมือเขียนโปรแกรมด้วยใจ  6.2.5  อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในการเขียนโปรแกรมและดูแลฝึกทักษะตลอดเวลา
6.3.1 มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน  6.3.2 มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน  6.3.3 มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ  6.3.4 มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา  6.3.5 มีการประเมินนักศึกษาในวิชาสหกิจศึกษา/ฝึกงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 - 2.1.5, 3.1.1 - 3.1.5 สอบกลางภาค (ทฤษฎี+ปฏิบัติ), สอบปลายภาค (ทฤษฎี+ปฏิบัติ) 8, 17 7.5%, 7.5%, 5%, 5%
2 3.1.1 - 3.1.5, 4.1.1 - 4.1.5, 5.1.1 - 5.1.6, 6.1.1 - 6.1.2 การส่งแบบฝึกหัดในห้องเรียนทฤษฎี+ปฏิบัติ, การส่งงานตามที่มอบหมาย, การเขียนโปรแกรมออกแบบสัญญาณ, การรันโปรแกรมออกแบบสัญญาณ ตลอดภาคการศึกษา 7.5%, 7.5%, 5%, 5%
3 1.1.1 - 1.1.7, 3.1.1 - 3.1.5 การเข้าชั้นเรียน, การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 15%
Stergios stergiopoulos, “Advanced Signal Processing Handbook: Theory and Implementation for Radar, Sonar, and Medical Imaging Real Time Systems (Electrical Engineering & Signal Processing Series)”, 2000, CRC Press, ISBN-13: 978-0849336911, 752 Pages.
Stergios stergiopoulos, “Advanced Signal Processing Handbook: Theory and Implementation for Radar, Sonar, and Medical Imaging Real Time Systems (Electrical Engineering & Signal Processing Series)”, 2000, CRC Press, ISBN-13: 978-0849336911, 752 Pages.
- เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์   - ทุกๆ เว็บไซต์ที่ค้นหาในอินเตอร์เน็ต โดยให้ป้อนคำว่า  “Signals and Systems ” บน Search Engine
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้  1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้  1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี  หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ