ออกแบบสถาปัตยกรรม 5

Architectural Design 5

1.1 เข้าใจวิธีการรวบรวม การจัดหมวดหมู่ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับทฤษฎี ปรัชญา ตลอดจนข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาโครงการ/แนวทาง/วิธีการออกแบบสถาปัตยกรรม และมีทักษะในการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน ด้วยรูปแบบ/วิธีการที่เหมาะสม  1.2 เข้าใจขั้นตอนและวิธีการจัดทำโครงการทางสถาปัตยกรรมอย่างมีตรรกะ รวมทั้งการกำหนดแนวความคิดในการออกแบบ โดยปล่อยให้บริบทเป็นตัวผลักดันการตัดสินใจ และคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น  1.3 เข้าใจกระบวนการ/วิธีการสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานการออกแบบที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน โดยการบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีทักษะการนำเสนอผลงานการออกแบบด้วยการสื่อสารผ่านรูปแบบของภาษาที่หลากหลายและเหมาะสมกับเนื้อหาสาระ  1.4 มีวุฒิภาวะ โดยเน้นถึงความมีคุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตนถูกต้องตามกาลเทศะ มีทักษะการทำงานเป็นทีม มีทัศนคติที่ดี ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของวิชาชีพที่มีผลกระทบต่อสังคม ส่วนร่วมในกิจกรรม  
นำข้อมูลจากประเมินผลการสอนโดยนักศึกษา และการผลการสอนใน มคอ 5 ของการเรียนการสอนครั้งที่ผ่านมา ทำการปรับปรุงซึ่งประกอบไปด้วย            2.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา           -  แก้ไขเรื่องสัดส่วนคะแนน เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาตรวจแบบร่างผ่านทางระบบออนไลน์           - ใช้ระบบการส่งงานผ่านทางออนไล์เพื่อแก้ไขปัญหานักศึกษามาส่งงานไม่ตรงต่อเวลา            2.2 ความรู้           - ปรับโจทย์ในการเรียนให้เข้ากับรูปแบบการเรียนออนไลน์ เเละสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน           - เน้นย้ำให้นักศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน หรือจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่นักศึกษาใช้ในการออกแบบ           2.3 ทักษะทางปัญญา           บูรณาการความรู้เพื่อสร้างประโยชน์ต่อสาธารณะ            - เพิ่มกิจกรรมวิชาการ การประกวดแบบในระดับชาติ หรือนานาชาติ          2.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ           - ส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม (อย่างน้อย 1 ครั้ง) เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้และค้นคว้าร่วมกับเพื่อนนักศึกษาต่างสาขา แสดงออกถึงความรับผิดชอบการทำงานเป็นกลุ่มและการได้รู้จักเพื่อนใหม่          2.5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ          -  เพิ่มการบรรยายถึงวิธีการนำเสนองานออกแบบ (การจัดเพลทเพื่อใช้ในการนำเสนอผลงาน) ก่อนการนำเสนอแบบครั้งสุดท้าย Final Design เพื่อส่งเสริมความเข้าใจงานออกแบบที่นักศึกษาต้องจะการสื่อสาร          2.6 ทักษะพิสัย          -   ไม่มีการแก้ไข
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการออกแบบอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน ประเภทโรงแรมรีสอร์ทอาคารพาณิชยกรรมและอาคารที่มีประโยชน์ใช้สอยอื่นๆที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันจัดทำกระบวนการออกแบบโดยกำหนดองค์ประกอบโครงการขนาดพื้นที่สำรวจและวิเคราะห์ที่ตั้งกำหนดแนวความคิดและทำการออกแบบสถาปัตยกรรม และทำการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรห้องที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงระบบโครงสร้างอาคาร งานระบบอาคารขนาดใหญ่ การประหยัดพลังงาน และข้อกำหนดอาคารที่เกี่ยวข้อง
กำหนดวันเวลาแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
  1.  ปลูกฝังให้เข้าใจความหลากหลายของสังคม เคารพต่อกฏข้อกำหนดของวัฒนธรรมองค์กร การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งการให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย                    2.  ปลูกฝังให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อตนเอง คือ มีความซื่อตรง เชื่อมั่น และเคารพตนเอง เห็นตัวเองมีคุณค่า พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ไม่เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นในทางที่ไม่ดี                                         3.  ปลูกฝังให้นักศึกษาเรียนรู้ที่จะพัฒนางานออกแบบของตนเอง ไม่คัดลอกงานขอผู้อื่นมาเป็นงานของตัวเอง  เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร  มีจิตใจสาธารณะ                          
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.  บรรยาย  อภิปรายในชั้นเรียนและการถามตอบ  2.  จัดแบ่งกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ตามความถนัดและความสนใจ  3.  การทำงานกลุ่มและการนำเสนอรายงาน  4. เชิญอาจารย์ต่างสถาบันหรือสถาปนิกวิชาชีพที่มีประสบการณ์มาวิพากย์และให้ข้อเสนอแนะผลงาน
 1.  ประเมินผลด้วยการตรวจแบบร่างของนักศึกษา   2.  ประเมินผลด้วยการนำเสนองานออกแบบ ทั้งภาคข้อมูล จำนวน 2 ครั้ง และภาคออกแบบ จำนวน 2 ครั้ง
1. ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ  2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1.  ให้นักศึกษานำเสนอหัวข้อที่ตนเองสนใจ แต่กำหนดให้อยู่ในกรอบของรายวิชา  2.  ใช้วิธีการเรียนการสอนที่หลากหลายทั้งรูปแบบออนไลน์เเละการเรียนรู้ทั้งในเเละนอกห้องเรียนยืดหยุ่นเพื่อพัฒนาและยกระดับความสามารถของนักศึกษา  3.  ใช้วิธีสอนโดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อดึงศักยภาพที่มีของนักศึกษาแต่ละคนให้เป็นที่ประจักษ์  4.  ใช้ระบบการสอนที่ไม่ตีกรอบความคิด เพื่อให้นักศึกษาฝึกวิธีการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง
1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการนำเสนอผลงานการปฎิบัติของนักศึกษา   
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา  1.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ   2.  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
1.  สอดแทรกประสบการณ์ของอาจารย์ระหว่างการเรียนการสอน  2.  นักศึกษาเสนอโครงงานปฏิบัติตามกลุ่มที่คัดเลือกกันเอง  3.  อภิปรายโครงงานปฏิบัติแต่ละกลุ่มร่วมกัน  4.  นักศึกษาปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละกลุ่ม
1.  การอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน การประเมินตนเองและเพื่อนในการปฏิบัติงาน  2.  พฤติกรรมในชั้นเรียนและการทำกิจกรรมกลุ่ม  3.  การตรงต่อเวลาในการส่งงานและประสิทธิผลของงานที่ได้รับมอบหมาย 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม  2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
1.  ให้ข่าวสารข้อมูลต่างๆแก่นักศึกษา อย่างต่อเนื่อง   2.  สนับสนุนให้หาข้อมูลจากหลายทาง  
1.  ประเมินจากทักษะการเลือกและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอผลงาน  
 
2.มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
3.มีทักษะในการปฎิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
 
1 ให้ปฏิบัติงานจากโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย
2 ให้ฝึกนำเสนอข้อมูลทั้งงานกลุ่มและเดี่ยว
1.ตรวจผลงานของนักศึกษาตั้งแต่กระบวนการคิดจนนำไปสู่ผลงานที่เสร็จเรียบร้อย
2.ให้คะแแนจิตพิสัยตรวจแบบร่างและการเข้าชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BARAT105 ออกแบบสถาปัตยกรรม 5
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ด้านความรู้ วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้าการทำงานกลุ่มและผลงานออกแบบ 9-17 30%
3 ด้านทักษะทางปัญญา ส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การทำงานกลุ่มและผลงานการมีส่วนร่วมอภิปรายเสนอความคิดเห็นในฉันเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศ การนำเสนองานปฏิบัติที่ได้รับมอบหมายรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 17 10%
6 ด้านทักษะพิสัย ตรวจการสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวคิดสอดคล้องกับโครงการ 9,17 20%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 1.จันทนี เพชรานนท์. 2542. การทำรายละเอียดประกอบโครงการการออกแบบสถาปัตยกรรม  ภายใน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.  2.จามร รักการดี. การวิเคราะห์โครงการสถาปัตยกรรมและที่ตั้งโครงการ. กรุงเทพฯ : คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2520.  3.มาลินี ศรีสุวรรณ. 2540. การออกแบบสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. 2541. การจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 
5. วิโรจน์ นิพัทธนะวัฒน์. 2530. การศึกษาการจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบงาน สถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.  6.อรศิริ ปาณินท์. 2538. กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรังสิต.  7. อรศิริ ปาณินท์. 2538. มนุษย์กับการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรังสิต.  8. Asimow, M. 1962. Introduction to Design. Engtewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall.  9. Duerk, Donna P. 1995.A Visual Dictionary Of Architecture. New York : Van Nostrand Reinhold.  10. Sanoff, Henry. 1997.Methods of Architectural Programming. Stroudsburg Pennsylvania : Dowden, Hutchinson & Ross, Inc.  11. Starr, M.K. 1973.“Design Morphologies”. DMG-DRS Journal 7, 2 (April.-June.) : 98.  12. Tandy, C. (ed). 1973. Hand book of Urban Landscape. London : The Architectural Press.  13.Vincent Jones, et. all. (1980). Neufert Architect’s Data. New York: Halsted Press
ไม่มี
เว้บไซด์ที่มีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับการแก้ปัญหา