การบัญชีการเงิน

Financial Accounting

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ความสำคัญของการบัญชีต่อประเภทธุรกิจ หลักการเบื้องต้นของการบัญชีทั่วไปและวงจรบัญชี ตลอดจนการ  จัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า และกิจการอุตสาหกรรม
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีเบื้องต้นเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ และการจัดทำงบการเงินที่เกี่ยวข้อง
1.3 เพื่อให้นักศึกษาฝึกหัดการนำแนวคิด ทฤษฎี หลักการและวิธีการบัญชี มาใช้ในการวิเคราะห์และจัดทำบัญชีได้อย่างถูกต้อง
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการบัญชีต่อประเภทธุรกิจ หลักการเบื้องต้นของการบัญชีทั่วไป การจัดทำรายงานการเงินสำหรับกิจการประเภทต่างๆ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในด้านการบริหารธุรกิจ

2.2 เพื่อให้นักศึกษาตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาชีพ มีจิตสำนึกในการดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

2.3 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎีและการปฏิบัติที่สำคัญในเนื่อหาของรายวิชาการบัญชีการเงิน สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2.4 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาความสำคัญของการบัญชีต่อประเภทธุรกิจ หลักการเบื้องต้นของการบัญชีทั่วไป และวงจรบัญชี ตลอดจนจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า และกิจการอุตสาหกรรม การบันทึกบัญชีเบื้องต้นเกี่ยวกับเงินสด ลูกหนี้ ตั๋วเงินรับ สินค้าคงเหลือ เงินลงทุน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในกลุ่ม Messenger, Line กลุ่ม
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
ห้องพักอาจารย์ อาคารเรียนรวม 60 ปีทรงครองราชย์ชั้น 3 (BLA) ห้องพักอาจารย์สาขาการบัญชี และสามารถทักข้อความใน Messenger ได้
นักศึกษาต้องเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ นักศึกษาควรมีจริยธรรมในเรื่องดังนี้
1.1.1 หลักของจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
1.1.2 มีจิตสำนึกสาธารณะ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบของตนเอง
1.1.3 มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 
 
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี เช่น จรรยาบรรณที่ดีของผู้จัดทำบัญชี จรรยาบรรณที่ดีของเจ้าของกิจการ เป็นต้น
1.2.2 ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย รวมถึงความซื่อสัตย์ในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
1.3.1 ให้นักศึกษาประเมินพฤติกรรมตนเอง และเพื่อนร่วมชั้นเรียน
1.3.2 ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียน การทำแบฝึกหัดและการส่งการบ้าน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 
 
2.2.1 การบรรยายและฝึกปฏิบัติ ทำแบบฝึกหัด
2.2.2 การถาม – ตอบปัญหาในห้องเรียน
2.2.3 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ เพิ่มเติม
2.2.4 สอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
2.3.1 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเรียน เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงานและการ ทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
2.3.2 การประเมินจากการสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
2.3.3 การประเมินผลการเรียนรู้จากการตรวจแบบฝึกหัด
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
 
3.2.1 บรรยาย การฝึกปฏิบัติ การยกตัวอย่าง พร้อมการถาม – ตอบในชั้นเรียน
3.2.2 ฝึกการคิด ฝึกการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษาต่าง ๆ
3.2.3 การมอบหมายงานตามใบงานที่กำหนดขึ้น
3.3.1 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงานกลุ่มหรืองานเดี่ยว
3.3.2 สอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
 
4.2.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.2.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.3.1 ใช้การสังเกตพฤติกรรม การประเมินตนเอง การประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน หรือกลุ่มมงาน
4.3.2 การประเมินผลผลงานที่มอบหมายและการนําเสนองาน
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
5.2.1 มอบหมายงานให้ค้นคว้าด้วยตนเองจาก web site สื่อการสอน E-learning เป็นต้น
5.2.2 การนำเสนอและยกตัวอย่างโดยใช้ powerpoint, เครื่อง visual
5.3.1 ประเมินจากการแบบฝึกหัดและการทดสอบ
5.3.2 การตรวจรูปเล่มรายงาน การทดสอบย่อย
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 ุ6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BACAC111 การบัญชีการเงิน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1 2.3.2 2.3.3 3.3.1 3.3.2 4.3.2 4.3.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 ความสำคัญของการบัญชี หลักการบัญชี ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 การบัญชีสำหรับกิจการให้บริการ ทดสอบย่อยครั้งที่ 3 การบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า ทดสอบย่อยครั้งที่ 4 การบัญชีสำหรับกิจการอุตสาหกรรม สอบกลางภาค การบัญชีสินทรัพย์หมุนเวียน ทดสอบย่อยครั้งที่ 5 การบัญชีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน สอบปลายภาค การบัญชีชีหนี้สินและส่วนของเจ้าของ 3 5 7 9 11 17 80%
2 1.3.1 1.3.2 5.3.1 5.3.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การส่งแบบฝึกหัด การทำโจทย์ปัญหา และการถาม – ตอบ ตลอดภาคการศึกษา 20%
สรินยา  สุภัทรานนท์, 2563. เอกสารประกอบการสอนวิชาการบัญชีการเงิน. คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก.
 ศศิวิมล มีอำพล, (2556). หลักการบัญชีชั้นต้น. กรุงเทพฯ : อินโฟไมนิ่ง.
พงศ์พรต ฉัตราภรณ์ และคณะ. (2562). การบัญชีการเงินเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฤาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  
- PowerPoint slide ประจำบทเรียน

- www.tfac.or.th เว็บไซด์สภาวิชาชีพบัญชี

- www.nukbunchee.com เว็บไซด์นักบัญชีดอทคอม

- www.set.or.th เว็บไซด์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

- www.rd.go.th กรมสรรพากร

- www.dpd.go.th กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ใช้วิธีการดังนี้ 2.1 ผลการทดสอบของนักศึกษา 2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 ปรับปรุงจุดบกพร่องในการสอนตามผลการประเมินของนักศึกษา
3.2 การสอนเสริมนอกชั้นเรียน
3.3 ปรับปรุงการสอนโดยประเมินจากผลการสอบและการวิเคราะห์ปัญหา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลคะแนนการเรียนในรายวิชา ของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา
4.2 อาจตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา จากรายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม 
ในกรณีที่ผลคะแนนของนักศึกษาออกจะมีการทบทวนผลสัมฤทธิ์ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรายวิชาโดยดูจากระดับคะแนนที่นักศึกษาได้รับ