คุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์

Quality of Aquatic Animals and Products

1. รู้วิธีการเก็บรักษาสัตว์น้ำสำหรับแปรรูปผลิตภัณฑ์
2.รู้การเสื่อมเสียคุณภาพของวัตถุดิบสัตว์น้ำก่อนการแปรรูป
3. เข้าใจถึงเทคโนโลยีการขนส่งสัตว์น้ำ การตรวจสอบคุณภาพของสัตว์น้ำ
4. เข้าใจถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
5. ทราบถึงกฎหมายและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
1. เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติให้มีความซื่อสัตย์ มีวินัย รับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม ในการปฏิบัติงานด้านการเกษตร รวมทั้งมีจิตสาธารณะ มีภาวะผู้นำ และทำงานเป็นทีมได้
 2. เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติให้มีความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ มีทักษะและสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมทางการเกษตร มีความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถบูรณาการความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพของตนเอง ชุมชน และท้องถิ่น
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเบื้องต้นในการเตรียมและเก็บรักษาสัตว์น้ำสำหรับแปรรูปผลิตภัณฑ์ การเสื่อมเสียคุณภาพของวัตถุดิบสัตว์น้ำก่อนการแปรรูป เทคโนโลยีการขนส่งสัตว์น้ำ การตรวจสอบคุณภาพของสัตว์น้ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กฎหมายและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
วัน พุธ  เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักครูสาขาวิชาประมง  โทร 081-9829578
e-mail; supaphon63@hotmail.co.th Line, Facebook เวลา 17.00 – 22.00 น. ทุกวัน
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียน การทำงาน และการนำเอาความรู้ที่ได้จากวิชาคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ไปใช้ในชีวิตจริง
- มอบหมายให้ทำรายงานเป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม
- อภิปรายกลุ่ม
- ประเมินการมีวินัยจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดและการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด
- ความพร้อมเพรียงความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
2.1
- บรรยายเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ หลักเบื้องต้นในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ การเสื่อมเสียคุณภาพของวัตถุดิบสัตว์น้ำก่อนการแปรรูป การตรวจสอบคุณภาพของสัตว์น้ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กฎหมายและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางประมงที่น่าสนใจ และสร้างรายได้
-  มอบหมายงานให้มีการค้นคว้าบทความ ความรู้ใหม่ๆ หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์
- มอบหมายให้ทำรายงานบทปฏิบัติเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
- ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค
-ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
-ประเมินจากแผนงานหรือโครงการที่นำเสนอในชั้นเรียน
3.3
- มีบทปฏิบัติการให้นักศึกษาได้ทดลองทำผลิตภัณฑ์ทางประมงประเภทต่างๆ ตามกระบวนการ               
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษาให้มีการระดมสมองในการแก้ไขปัญหา และวิจารณ์ร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
- ประเมินจากผลงานการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
- การสัมภาษณ์หรือการสอบปากเปล่า
-  การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ
4.1
- มอบหมายงานทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม
- อธิบายข้อปฏิบัติในการเข้าชั้นเรียนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ
- แบ่งกลุ่มนักศึกษาในภาคปฏิบัติ กำหนดหัวหน้ากลุ่มหมุนเวียนภายในกลุ่ม
-ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
5.2
- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองทั้งจากอินเตอร์เน็ต, หนังสือในห้องสมุด และแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม
- การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
- ทำรายงานโดยเน้นแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
- นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  เช่น การใช้ Power point ที่เข้าใจ
-ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอและการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
-ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล
- การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
 
- อธิบายวิธีการปฏิบัติ และลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
- สาธิตและแนะนำทักษะการปฏิบัติ กำชับการควบคุมระหว่างกระบวนการปฏิบัติ และมีการสอบภาคปฏิบัติ
- ประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติอย่างความถูกต้อง
- ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
- ความสำเร็จและคุณภาพของผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 2 3 1 1 2 1 2 1
1 BSCAG310 คุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 3.2, สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8และ17 30% , 30%
2 4.1, 4.2, 4.4, 5.1, 5.2, 5.3, 6.2 การส่งรายงานผลการทดลองในแต่ละบทปฏิบัติการ - ความร่วมมือในการทำงานเป็นหมู่คณะทำ (ภาคปฏิบัติ) - ความสนใจในงานที่ได้รับมอบหมาย - การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน - การคำนวณส่วนผสมต่างๆ ในผลิตภัณฑ์ - รสชาติของผลิตภัณฑ์ที่ได้ปฏิบัติ ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.2, 1.4 - การเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอและการแต่งกายเข้าห้องเรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ - การอภิปรายผลหน้าชั้นเรียน - การเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน - การมีส่วนร่วมในการตอบคำถามต่างๆ - การเก็บอุปกรณ์หลังใช้งาน ตลอดภาคการศึกษา 10%
นงลักษณ์ สุทธิวนิช.  2531.  คุณภาพสัตว์น้ำ.  ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ประเสริฐ สายสิทธิ์.  2516.  ผลิตภัณฑ์ประมงและหลักการถนอม.  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มัทนา แสงจินดาวงษ์.  2538.  จุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ประมง.  ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มัทนา แสงจินดาวงษ์. 2545.  ผลิตภัณฑ์ประมง.  ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สุทธวัฒน์  เบญจกุล,ดร.  2548.  เคมีและคุณภาพสัตว์น้ำ.  สำนักพิมพ์โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, กรุงเทพฯ.  344 น. อรวรรณ คงพันธุ์ รัศมีพร จิระเดชประไพ และวัชรี คงรัตน์.  2550.  การแปรรูปสัตว์น้ำ.  กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.  Pigott, George M. and Tucker, Barbee W.  1990.  Seafood : effects of technology on nutrition. New York : M. Dekke.

Ruiter, A.  1995.  Fish and Fishery products : Composition, nutritive properties and stability. Oxon : CAB International.
บทความเกี่ยวกับคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมงต่างๆ จากเว็บไซต์ต่างๆ  และอื่นๆ ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์และความเป็นปัจจุบัน
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
 2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1. ผลการทดสอบย่อย (Quiz)
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น คือ มีการปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4